Found 49 results for Tag : วัฒนธรรมอาหาร
หวนคิดถึง ‘กินห่อชายเล’ มื้ออาหารแสนอบอุ่นของชาวสมุย พอถึงช่วงเทศกาลทีไร มนุษย์ไกลบ้านอย่างเราก็ต้องคิดถึงบ้านเป็นพิเศษ คิดถึงกับข้าวฝีมือคนในครอบครัว ที่รสชาติไม่เหมือนที่ไหน อร่อยเกินกว่าจะไปซื้อกิน ยิ่งเป็นเมนูท้องถิ่น ยิ่งหากินยาก ทว่าหัวใจสำคัญกลับไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร แต่เป็นความรักและความคิดถึงคนในครอบครัวเสียมากกว่า พูดแล้วก็คิดถึงบ้านจังเลย… ว่าแล้วลูกทะเลอย่างฉันจึงขอถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นของ ‘ชาวสมุย’ และชวนทุกคนมารู้จักพร้อมรำลึกความหลังไปกับ กินห่อชายเล กิจกรรมครอบครัวที่อบอวนไปด้วยความรักและความอร่อย กินห่อชายเล กิจกรรมที่มากกว่าการกินข้าว การนั่งรับประทานอาหารริมทะเลบนหาดทรายสีขาว มีลมพัดผ่านเย็นๆ... 22.12.2023 Food Story
‘หม่ำ’ ของฝากจากแดนอีสาน ตามสองฝั่งถนนสายมิตรภาพเส้นทางสู่ภาคอีสาน โดยเฉพาะช่วงจังหวัดชัยภูมิ หากใครขับรถผ่านไปก็จะต้องเจอกับเพิงริมทางที่ห้อยพวงระโยงระยางหลายรูปทรง ทั้งกลม ทั้งแท่ง สีแดงคล้ำคล้ายกุนเชียงอยู่เกือบทุกร้าน หลายคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร? สิ่งนี้เป็นอาหารประจำถิ่นแดนอีสานที่เรียกว่า หม่ำ อาหารอันเลื่องชื่อของลูกอีสาน หากใครยังไม่คุ้นเคยกับหม่ำละก็ให้นึกถึงอาหารประเภทไส้กรอกเข้าไว้ แต่จะว่าเหมือนไส้กรอกอีสานก็ไม่ใช่ซะทีเดียว สิ่งที่เหมือนอยู่ตรงการกรอกส่วนผสมต่างๆ ใส่ไส้แล้วมัดด้วยเชือกเป็นท่อนๆ แต่สิ่งที่ต่างกัน... 14.06.2022 Food Story
ย้อนรอยวัฒนธรรมอาหารเวียดนามในอีสาน อาหารเวียดนามเป็นอาหารอีกชาติหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเฝอร้อนๆ ที่เดินทางไปพร้อมกับการเสาะหาแผ่นดินใหม่หลังยุคสงคราม หรือจะเป็น Spring Roll ขวัญใจนักกินผักที่โด่งดังไปอย่างก้าวกระโดดพร้อมๆ กับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพในช่วงสิบกว่าปีให้หลังมานี้ แต่เชื่อไหมคะว่าจริงๆ แล้ว ในประเทศไทยนิยมกินอาหารเวียดนามกันมานานเนิ่น โดยเฉพาะในแผ่นดินอีสานเหนือที่ได้ชื่อว่ามีผู้อพยบชาวเวียดนามเยอะที่สุดอีกพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดมุกดาหาร... 10.06.2022 Food Story
วัฒนธรรมรสขมอ่ำหล่ำของชาวอีสาน บ่ขมบ่แซ่บ! “ขายก้อยคอยอ้ายอยู่เพิงนัดใจข้างปั๊มน้ำมันโชเฟ่อร์แท็กซี่คันนั้นวันนี้ทั้งวันบ่เห็นซอดมาอ้ายเคยมาสั่งพวงนมย่างลวกคันแทนาก้อยขมขมให้อ้ายแหน่หล่าขมตายมาบ่เอาเรื่องกันมือน้องคนก้อยตาก็คอยเหลียวแนมแท็กซี่จนหลายจานเกือบลืมเติมบีลูกค้าคอยติขมหน่อยทั้งวันเกิดเรื่องหยังน้อบ่ซอดพ่อว่อข้างปั๊มน้ำมันติดไฟแดงหรือรถชนกันวันนี้ทั้งวันน้องคอยเป็นห่วง” เพลงขายก้อยคอยอ้าย ของนักร้องเสียงสะออนอย่างดอกอ้อ ทุ่งทอง เป็นเพลงลูกทุ่งอีสานทีเล่าเรื่องชีวิตรักของสาวขายก้อยและหนุ่มแท็กซี่ไว้ได้อย่างกระชับ ปู ชง ตบ ครบภายในเวลาสี่นาทีกว่าๆ เท่านั้น การรอคอยลูกค้าพิเศษคงทำให้สาวขายก้อยหุนหวยใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวน่าดู เพราะเธอถึงกับลืมเติมของสำคัญอย่าง ‘บี’ หรือ ‘ดีวัว’... 08.06.2022 Food Story
ขนมตาลที่แท้ต้องนุ่มหยุ่นจากยีสต์ธรรมชาติ ขนมตาล – ขนมไทยพื้นบ้าน เป็นดั่งภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เหมือนจะทำง่ายแต่แท้จริงแล้วเป็นขนมปราบเซียนเลยแหละ ยิ่งสมัยนี้ หาเจ้าอร่อยๆ หอมตาลแท้ยากแล้ว ส่วนใหญ่ที่ขายทั่วไปก็มักใส่สารเสริมเพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลา บ้างก็ใส่เนื้อตาลน้อย บ้างก็เติมสีเข้าไปให้ดูน่ากิน จนทำให้เอกลักษณ์ของขนมตาลนั้นผิดเพี้ยนไปจากเดิม ตัวฉันเองเป็นหนึ่งในคนที่ไม่เคยได้ลิ้มรสขนมตาลแท้เลยสักครั้ง อยากจะรู้เหมือนกันว่าขนมตาลแท้อย่างคนสมัยก่อน ทั้งวิธีทำ รสชาติ จริงๆ... 23.02.2022 Food Story
รากชู อูมามิริมรั้วบ้าน นอกจากรสเปรี้ยว ขม เค็ม หวาน ‘อูมามิ’ คือศัพท์บัญญัติอธิบายความกลมกล่อมในจานอาหารทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการสกัดกรดกลูตาเมท ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ออกมาเป็นกลูตาเมทอิสระ โดยสกัดจากมันสำปะหลัง ได้เกร็ดผงเรียกว่า ‘ผงชูรส’ ใส่ในอาหารแล้วช่วยดึงรสให้กลมกล่อมขึ้น แต่ก่อนที่โลกจะรู้จักคำว่าอูมามิและรู้จักกับผงชูรส เราต่างเรียนรู้รสชาติอันแสนซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในวัตถุดิบจากธรรมชาติกันมาเนิ่นนานแล้ว ซึ่งรสดังกล่าวที่ได้จากกลูตาเมทนี้ไม่สามารถอธิบายเป็นรสชาติได้ชัดเจน ทว่ารับรู้ได้ถึงความกลมกล่อมเฉพาะในเนื้อสัตว์สุก ถั่ว... 03.02.2022 Food Story
เข้าสวนเรียมอรุณไปดูวิธีทำ ‘น้ำตาลมะพร้าวเนื้อแท้’ กับเดอะมนต์รักแม่กลอง “ไม่ลืมน้ำใจไมตรีสาวงามบ้านบางคนทีเอื้ออารีเรียกร้องให้ดื่มน้ำตาลพร้อมกับยิ้มหวานของนวลละอองก่อนลาจากสาวแม่กลองเราร่วมปิดทองงานวัดบ้านแหลม” นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเพลง ‘มนต์รักแม่กลอง’ ผลงานจากปลายปากกาของครูเพลง ไพรบูลย์ บุตรขัน ที่เขียนพรรณาถึงความงามความรักที่มีต่อสาวแม่กลองไว้อย่างหวานฉ่ำ สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ถ้าถามว่าเล็กแค่ไหนก็คือมีเพียง 3 อำเภอเท่านั้น แถมยังมีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ... 31.01.2022 Food Story
สำรับไทย เสน่ห์ของความหลากหลายลงตัวที่กำลังจะหายไป? พูดถึงวัฒนธรรมการกินของคนไทย ก็คงจะนึกถึงกับข้าวมากมายในหนึ่งมื้ออาหาร ซึ่งอาหารเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการคัดสรรวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอย่างละเมียดละไม การมีกับข้าวมากมายในหนึ่งมื้อนั้นเราเรียกว่า ‘สำรับไทย’ แต่เมื่อพูดถึงสำรับไทยในปัจจุบันนี้ เรียกว่าแทบจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากเสียเหลือเกิน เพราะไม่ค่อยมีบ้านไหนลุกขึ้นมาทำอาหารมากมายในคราวเดียวแบบสมัยก่อนแล้ว เว้นแต่บ้านที่อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ จึงยังมีการจัดสำรับกินกันภายในครอบครัว ซึ่งเสน่ห์ของสำรับไทยไม่เพียงความเยอะของกับข้าว แต่ยังเป็นเรื่องการบจับคู่รสชาติความอร่อยของอาหารที่จัดลงสำรับ ที่ทุกๆ จานเมื่อกินด้วยกันแล้ว รสชาติจะส่งเสริมกันเป็นอย่างดี กินไปใช้เวลากับครอบครัวไปในระหว่างกินข้าว ได้พูดคุย... 31.01.2022 Food Story
ข้าวยาคู ขนมสะท้อนวัฒนธรรมและศาสนาที่หากินยาก เสน่ห์หนึ่งของขนมพื้นบ้านไทย คือความหลากหลายต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ที่จะหยิบจับวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำกิน ขนมจึงสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ผ่านสีสัน รสชาติ หน้าตา กระทั่งกระบวนการทำ บ้างเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาเช่น ‘ขนมข้าวยาคู’   ข้าวยาคู เป็นขนมพื้นบ้านทำกินกันหลายพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าว แต่เดิมทำกินกันปีละครั้งในช่วงที่ต้นข้าวออกรวงหรือเรียกว่าระยะตั้งท้อง เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวอ่อนหรือเรียกว่าข้าวระยะให้น้ำนม โดยเกี่ยวข้าวมาตำนวดทั้งรวง แล้วคั้นเอาน้ำนมข้าวมาเคี่ยวในกระทะ ใส่น้ำตาล จนได้เนื้อข้นเหนียวสีเขียวอ่อนถึงเข้ม... 18.01.2022 Food Story
ตำราอาหารในงานศพ บทบันทึกรสชาติชีวิตของผู้วายชนม์ ตู้ไม้ขนาดเล็กมุมหนึ่งในห้องทำงานทีมครัว เรียงรายด้วยหนังสือตำราอาหารเก่าตั้งแต่เห็นปีพิมพ์จนถึงเนื้อกระดาษสีน้ำตาล สลับกับหน้าปกสีฉูดฉาดตามแต่ยุคสมัย ความเก่าของหนังสือทำให้ตู้ไม้เล็กๆ ดูขลัง แต่มีชีวิตชีวาเพราะความอิเหละเขละขละของหนังสือที่ถูกหยิบเข้าหยิบออกตลอด นอกจากตำราเก่าที่ว่าด้วยเรื่องอาหารไทย-เทศ หนังสืองานศพหรือหนังสืออนุสรณ์ของผู้วายชนม์ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกก็ถูกรวบรวมไว้ในตู้ในสถานะคลังข้อมูลชั้นดีแม้มีอยู่ไม่มากเล่ม ด้วยเนื้อหาที่นอกเหนือจากอัตชีวประวัติ ยังเต็มไปด้วยสูตรอาหาร เคล็ดลับในการประกอบอาหารครัวเรือน และสูตรเฉพาะบ้านที่อาจไม่เคยเห็นที่ไหน  หนังสืออนุสรณ์งานศพของผู้วายชนม์หรือหนังสืองานศพในภาษาปาก จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2423รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์หลวงแจกจ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพของพระนางเจ้าสุนันทา... 11.01.2022 Food Story