Found 81 results for Tag : อาหารท้องถิ่น
น้ำตาลชก น้ำตาลเหนา รสหวานลึกกลางเขาหิน “25 ปี ออกลูกหนึ่งครั้ง และปีที่ 26 ถึงจะได้กินน้ำตาลชก”   ด้วยความสัตย์จริงของคนที่เคยกินลูกชกลอยแก้วเนื้อนุ่ม คล้ายลูกตาล ที่เขาว่า 25 ปีถึงจะออกผลมาให้เรากินสักครั้งและเคยลิ้มรสหวานจากน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย น้ำตาลโตนด เลยออกจะประหลาดใจเมื่อพี่ชาวพังงาบอกว่าจะพาไปดูน้ำตาลชกจนต้องถามย้ำปลายสายอีกครั้งว่า “น้ำตาลชกคืออะไรนะคะ?” “ถิ่นกำเนิดน้ำตาลชก น้ำตกงามตา แหล่งเรียนรู้ศาสนา ภูผาน่าชม” คือคำขวัญของตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ที่เหมือนลายแทงให้เราออกตามหา ทำความรู้จักกับรสหวานของน้ำตาลชกกันถึงถิ่น ชุมชนที่ล้อมรอบด้วยเขาหินขนาดใหญ่ตามธรรมชาติที่ต้นชกอาศัยเติบโต เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาการเก็บลูกชกและเคี่ยวน้ำตาลที่ถ่ายทอดกันมากว่าร้อยปี ตามบังรีม และยาโกบ จากรัง สองปราชญ์แห่งบ้านคลองบ่อแสน ไปเก็บน้ำตาลจากต้นชก เคี่ยวจนข้นเหนียว หยอดเป็นแว่นหวานที่ในหนึ่งปีจะมีให้เก็บเกี่ยวความหวานเพียง 6  เดือน เก็บน้ำตาลจากต้นเหนาสูงกลางเขาหิน กับวลีลูกฆ่าแม่    ‘ต้นชก’ หรือตามภาษาถิ่นที่คนบ้านคลองบ่อแสนเรียกว่า ‘ต้นเหนา’ คือพืชสกุลปาล์ม ขึ้นตามเขาหิน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20 – 25 เมตร ใช้เวลาเติบโตราว 25 ปีกว่าจะให้ผลเก็บกินได้ในช่วงเดือนตุลาคม และออกผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะค่อยๆ ยืนต้นตาย ต้นเหนาจึงมีอีกชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ต้นลูกฆ่าแม่’ คือออกลูกเมื่อไรก็นับถอยหลังรอยืนต้นตายได้และปีถัดไปหลังออกผล ในปีที่ 26 จึงจะได้ลิ้มรสความหวานจากช่อดอกเหนา โดยเริ่มเก็บน้ำหวานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี ไปจนกว่าต้นเหนาจะตายในอีก 4-5 ปี ฟังดูเศร้าๆ นะคะ แต่ 4- 5 ปีนับจากนี้ ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่หอมหวานของต้นเหนาเลยละ เช้าตรู่ที่บ้านบ่อแสน คุณพ่อยาโกบ อดีตนักปีนต้นเหนาที่ละวางจากความสูงหยุดปีนต้นแล้วมาออกแรงเคี่ยวน้ำตาล เล่าเรื่องต้นเหนาขณะพาเราเดินไปดูบังรีมที่มีภารกิจเก็บน้ำตาลเช้านี้ “พอถึงฤดูเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านก็จะพากันไปเดินดูต้นเหนาว่าออกดอกแล้วไหม ถ้าออกดอกแล้วก็ไปตัดไม้มาทำแคร่ ไว้ปีนขึ้นไปบนต้น เพราะต้นเหนานั้นสูงมาก ก็เอาไม้ไปนวดงวงช่อดอกเหนาให้น่วม โยกงวงไปมา แกว่งไปแกว่งมาให้น่วมก็ตัดดู ถ้ามีน้ำย้อยก็ตัดเอากระบอกไม้ไผ่รองได้เลย ระหว่างตัดงวงเพื่อเอาน้ำหวาน ถ้าผิวงวงขรุขระเพราะคมมีด ต้องใช้  ‘ใบปด’ ที่ผิวใบมีความหยาบคล้ายกระดาษทรายขัด กัดหน้างวงให้เรียบน้ำตาลก็จะไหลได้สะดวก”  ไม่พูดพร่ำทำเพลง บังรีม ปราชญ์นักเก็บลูกเหนาและน้ำตาลเหนา หุ่นลีน เดินด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง ผ้าคาดเอวเหน็บมีดด้ามสั้น พาเราลัดเลาะสวนผลไม้ไปไม่ไกล พบเขาหินที่มีต้นเหนาขึ้นอยู่ประปราย บังรีมปีนต้นเหนาที่คะเนจากสายตาแล้วสูงเอาการ เพียงอึดใจมีดสั้นก็ปาดงวงเอาน้ำหวานจนเต็มกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ และค่อยๆ หย่อนกลับลงมา  ... 18.02.2022 Food Story
สารพัดเมนู ‘หวานทั้งต้น’ ของตาลโตนด รู้กันไหมคะว่าต้นตาลโตนดนั้นสรรสร้างความหวานให้กับเราได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับคนเมือง การได้รับความหวานจากธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากความหวานจากน้ำตาลทรายนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ยิ่งถ้าไม่ได้เป็นคนก้นครัวแล้วละก็ จะไม่ค่อยสรรหาน้ำตาลหลากหลายชนิดมาลองมาชิมสักเท่าไร ซึ่งจริงๆ แล้วนอกจากน้ำตาลทรายที่เรากินๆ กันอยู่ ยังมีน้ำตาลมะพร้าว ที่ได้จากงวงของต้นมะพร้าว เฉกเช่นเดียวกันกับน้ำตาลโตนด ที่ได้ความหวานมาจากงวงของต้นตาลโตนด และเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำตาลโตนดอร่อยต้องเมืองเพชรฯ เท่านั้น เพราะเป็นแหล่งปลูกต้นตาลมากที่สุด... 08.02.2022 Cooking
รากชู อูมามิริมรั้วบ้าน นอกจากรสเปรี้ยว ขม เค็ม หวาน ‘อูมามิ’ คือศัพท์บัญญัติอธิบายความกลมกล่อมในจานอาหารทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการสกัดกรดกลูตาเมท ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ออกมาเป็นกลูตาเมทอิสระ โดยสกัดจากมันสำปะหลัง ได้เกร็ดผงเรียกว่า ‘ผงชูรส’ ใส่ในอาหารแล้วช่วยดึงรสให้กลมกล่อมขึ้น แต่ก่อนที่โลกจะรู้จักคำว่าอูมามิและรู้จักกับผงชูรส เราต่างเรียนรู้รสชาติอันแสนซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในวัตถุดิบจากธรรมชาติกันมาเนิ่นนานแล้ว ซึ่งรสดังกล่าวที่ได้จากกลูตาเมทนี้ไม่สามารถอธิบายเป็นรสชาติได้ชัดเจน ทว่ารับรู้ได้ถึงความกลมกล่อมเฉพาะในเนื้อสัตว์สุก ถั่ว... 03.02.2022 Food Story
เข้าสวนเรียมอรุณไปดูวิธีทำ ‘น้ำตาลมะพร้าวเนื้อแท้’ กับเดอะมนต์รักแม่กลอง “ไม่ลืมน้ำใจไมตรีสาวงามบ้านบางคนทีเอื้ออารีเรียกร้องให้ดื่มน้ำตาลพร้อมกับยิ้มหวานของนวลละอองก่อนลาจากสาวแม่กลองเราร่วมปิดทองงานวัดบ้านแหลม” นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเพลง ‘มนต์รักแม่กลอง’ ผลงานจากปลายปากกาของครูเพลง ไพรบูลย์ บุตรขัน ที่เขียนพรรณาถึงความงามความรักที่มีต่อสาวแม่กลองไว้อย่างหวานฉ่ำ สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ถ้าถามว่าเล็กแค่ไหนก็คือมีเพียง 3 อำเภอเท่านั้น แถมยังมีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ... 31.01.2022 Food Story
ข้าวยาคู ขนมสะท้อนวัฒนธรรมและศาสนาที่หากินยาก เสน่ห์หนึ่งของขนมพื้นบ้านไทย คือความหลากหลายต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ที่จะหยิบจับวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำกิน ขนมจึงสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ผ่านสีสัน รสชาติ หน้าตา กระทั่งกระบวนการทำ บ้างเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาเช่น ‘ขนมข้าวยาคู’   ข้าวยาคู เป็นขนมพื้นบ้านทำกินกันหลายพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าว แต่เดิมทำกินกันปีละครั้งในช่วงที่ต้นข้าวออกรวงหรือเรียกว่าระยะตั้งท้อง เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวอ่อนหรือเรียกว่าข้าวระยะให้น้ำนม โดยเกี่ยวข้าวมาตำนวดทั้งรวง แล้วคั้นเอาน้ำนมข้าวมาเคี่ยวในกระทะ ใส่น้ำตาล จนได้เนื้อข้นเหนียวสีเขียวอ่อนถึงเข้ม... 18.01.2022 Food Story
คิดถึง ‘หมูย่างเมืองตรัง’ ก็ทำเองไปเลย! “เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา”  ขึ้นมาขนาดนี้แล้วก็คงจะเดากันได้ว่าบ้านเกิดของผู้เขียนคือจังหวัดอะไร เรียกว่าเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องของกินจนได้สมญานามว่า ‘เมืองชูชก’ จังหวัดที่กินได้ตลอดเวลาไม่มีวันหลับใหล ‘ตรัง’ นั่นเอง  ที่นี่มีสารพัดสิ่งให้เลือกกิน อยากกินอะไรขอให้บอก โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งกินกันแบบอลังการงานสร้างมาก  สมัยก่อนเวลากลับบ้านแล้วไปกินอาหารเช้าข้างนอกนั้น ต้องไปตั้งแต่เช้าตรู่เรียกว่าไปในชุดนอนกันเลย (ไม่ต้องบอกนะว่าต้องตื่นตั้งแต่กี่โมง) พอนั่งลงที่โต๊ะ... 26.11.2021 Cooking