Found 81 results for Tag : อาหารท้องถิ่น
ถั่วเน่าซา-ถั่วเน่าเมอะ-ถั่วเน่าบอง ถั่วเน่าหมักสดรสนัวคู่ครัวไทใหญ่ “ถั่วเน่า คือรสชาติของชีวิต” น้ำเสียงหนักแน่นของป้าคำ ชาวไทใหญ่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อธิบายความสำคัญของถั่วเน่าในฐานะเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารการครัวของชาวไทใหญ่จนถึงครัวล้านนา แม้ชีวิตจะต้องจากบ้าน ไปอยู่ต่างเมืองหรือที่ไหนๆ ‘ถั่วเน่า’ ยังคงเป็นเครื่องปรุงที่ชาวไทใหญ่นำติดตัวไปด้วยเสมอ  เกลือ พริก และถั่วเน่า คือสามสิ่งสำคัญในการปรุงอาหารของชาวไทใหญ่ เมื่อเกลือหาได้ทุกที่ พริกหาได้ทุกแห่ง แต่กับถั่วเน่าที่ช่วยชูรส เพิ่มความกลมกล่อมให้อาหารไม่ต่างจากปลาร้าของครัวอีสาน... 11.11.2021 Food Story
‘ค่อมเจือง’ น้ำจิ้มคู่โต๊ะคู่ใจคนตรัง ใครเคยไปเที่ยวตรังแล้วสงสัยมั้ยว่า ทำไมในร้านติ่มซำหาน้ำจิ้มจิ๊กโฉ่ ซอสเปรี้ยวไม่เจอ เจอแต่ซอสสีแดงๆ ส้มๆ ที่ใส่ขวดวางอยู่บนโต๊ะ แล้วก็ไม่เห็นมีโต๊ะไหนขอจิ๊กโฉ่เลย หรือใครลองขอก็อาจจะต้องผิดหวัง เพราะทุกร้านจะมีแต่ซอสสีแดงๆส้มๆ ที่เรียกกันว่า ค่อมเจือง ส้มเจือง หรือว่า กำเจือง เท่านั้น เจ้าซอสเปรี้ยวหรือจิ๊กโฉ่น่ะเหรอ ไม่มีให้เสียหรอก ซึ่งก็เป็นเพราะตรังขึ้นชื่อเรื่องของกินและวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบไม่เหมือนจังหวัดอื่นทางภาคใต้ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ เอกลักษณ์นี้เป็นเสน่ห์ทำให้ใครไปเที่ยวก็หลงใหลและรักในอาหารการกินของคนตรัง ค่อมเจืองก็เป็นหนึ่งในซอสเอกลักษณ์ของตรัง ที่คนในท้องถิ่นและคนที่แวะเวียนมาตรังบ่อยๆ คุ้นชิน เหมือนกับผู้เขียนที่เกิดที่ตรังแม้จะมาใช้ชีวิตรอยู่กรุงเทพฯ ก็ยังชินกับการกินค่อมเจืองมากกว่าจิ๊กโฉ่อยู่ดี   คนตรังกินค่อมเจืองกับอาหารแทบจะทุกอย่าง ทั้งกินกับติ่มซำยามเช้า หมูย่าง จาโก้ย (ภาคกลางเรียก ปาท่องโก๋) ส่วนปาท่องโก๋ ของคนใต้นั้นใช้เรียกติ่มซำชนิดหนึ่งเป็นแป้งผสมน้ำตาลนำไปนึ่ง เปาะเปี๊ยะสด เปาะเปี๊ยะทอด กระทงทอง เป็นต้น เรียกได้ว่าทุกอย่างต้องจิ้มกับค่อมเจือง หรือถ้าใครเคยกินเมนูปากหม้อและหูหมู เจ้าน้ำราดสีแดงๆ ก็คือ ค่อมเจืองนี่แหละที่นำมาผสมใหม่ ราดบนเมนูเหล่านั้นเช่นกันและบางครั้งยังเป็นส่วนผสมในการหมักเนื้อหมูเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับหมูย่างเมืองตรังของบางร้านอีกด้วย ค่อมเจืองมีรสชาติที่แตกต่างกันในแต่ละร้าน เพราะว่าแต่ละร้านจะนำไปปรุงรสต่ออีกทีหลังจากที่ได้ค่อมเจืองดิบมาแล้ว โดยค่อมเจืองทำจากมันเทศและถั่วลิสงต้มเปื่อย นำมาโม่แล้วนำไปเคี่ยว ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้มสายชู และเกลือ ก่อนที่จะบรรจุขาย แล้วแต่ละร้านก็จะนำไปปรุงให้ได้รสชาติที่ต้องการ ซึ่งรสชาติของน้ำจิ้มค่อมเจืองนั้นก็จะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเผ็ดเล็กน้อย จึงทำให้เมื่อนำไปกินกับอาหารที่มีความมันจะอร่อยเข้ากันดี บ้านผู้เขียนเองก็มีน้ำจิ้มค่อมเจืองติดตู้เย็นอยู่เสมอ เวลาซื้อขนมจีบ ซาลาเปา หรือปาท่องโก๋มา ก็จะเอามาจิ้มกับค่อมเจืองแทบทุกครั้ง เรียกว่าถ้ากินที่บ้านจะไม่จิ้มกับจิ๊กโฉ่เลย แต่ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าน้ำจิ้มค่อมเจืองเหมาะกับติ่มซำในแบบฉบับของตรังมากกว่า ถ้าใครเคยไปกินติ่มซำในร้านเก่าแก่ของตรัง จะสัมผัสได้ว่าตัวไส้ของติ่มซำจะมีความเผ็ดร้อนของพริกไทย เนื้อหมูจะแน่น แต่ยังฉ่ำอยู่ พอกินคู่กับน้ำจิ้มค่อมเจืองจึงเข้ากันได้ดีมาก และเข้ากันได้ดีกว่าติ่มซำแบบคนกรุง ที่ใช้ไส้หมูกุ้งผสมอยู่จึงไม่แน่นเท่า พอราดน้ำจิ้มค่อมเจืองไปก็จะออกแปลกๆ สักเล็กน้อย... 10.11.2021 Food Story
‘ไก่ดำ’ กับการเซ่นไหว้และทำนายของอาข่าและลาหู่ ความเชื่อเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่ในทุกชาติชน เพราะในอดีตที่ศาสนายังไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนทั่วโลก ผีและวิญญาณคือสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ในวันคืนที่ความหมายของคำว่า ‘ผี’’ ยังไม่ถูกครอบด้วยความน่ากลัว ผีไม่ใช่ดวงวิญญาณที่คอยอาฆาตหลอกหลอน แต่เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง ผีเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ คนในครอบครัว ในชุมชน จึงต้องดูแลพฤติกรรมของกันและกันให้อยู่ในร่องในรอยเสมอ เพื่อที่ว่าผีจะได้พึงพอใจและบันดาลความสุข สุขภาพ และความสมบูรณ์ของเทือกสวนไร่นาให้... 08.11.2021 Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว  ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ... 01.11.2021 Food Story
ชวนทำ ‘ไข่ครอบ’ ความอร่อยจากแดนใต้
 แกงเผ็ดรสร้อนแรง กินคู่ไข่เป็ดต้มมันๆ เหยาะน้ำปลาพริกสักหน่อยก็อร่อยแบบหยุดไม่อยู่ เป็นความรู้สึกที่ออกจะส่วนตัวสักหน่อยของคนรักแกงป่า แกงเผ็ดทุกชนิดอย่างฉันค่ะ เวลาไปต่างที่ต่างถิ่นจึงขอให้ได้แวะร้านข้าวแกงยามเช้าสักมื้อ และครั้งที่ได้ไปร้านข้าวแกงที่หาดใหญ่ ก็หมายตาแกงคั่วกระดูกอ่อนหมูไว้ พร้อมกับมองหาไข่เป็ดต้มตามเคย ที่ร้านไม่มีไข่เป็ดต้ม แต่มีไข่เป็ดหน้าตาสวยแปลกเรียกว่า ‘ไข่ครอบ’ มีแต่ไข่แดงนูนขึ้นมาคู่กันเหมือนลูกพีช เขาว่ากินคู่แกงอร่อยดี มื้อนั้นฉันเลยได้กินไข่ครอบคู่แกงเผ็ดเป็นครั้งแรก... 24.02.2021 Food Story
ถั่วเน่า อูมามิของครัวล้านนาและครัวไทใหญ่ “ของกิ๋นลำอยู่ตี้คนมัก ของฮักอยู่ตี้คนเปิงใจ๋” ป้ออุ้ยแม่อุ้ยมักพูดไว้อย่างนั้นเมื่อยามเอ่ยถึงความนิยมชมชอบส่วนตัว ภาษิตล้านนาถ้อยนี้ แปลได้ตรงตัวว่า อาหารจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็อยู่ที่ความชอบของคนกิน ส่วนของชิ้นหนึ่งๆ จะมีคุณค่าต่อใครสักคน ก็ต่อเมื่อเขาถูกตาต้องใจกับของชิ้นนั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คงต้องเห็นด้วยทั้งขึ้นทั้งล่อง ในเมื่อเหตุผลเหล่านี้มันปฏิเสธกันไม่ได้จริงๆ เป็นต้นว่ากลิ่นหมักของถั่วเน่าที่บางคนก็ทำหน้าเบ้ ส่วนอีกบางคนกลับน้ำลายสอนั่นเอง ‘ถั่วเน่า’ หรือถั่วโอ่... 14.09.2020 Food Story
กังปา ถนอมอาหารโดยน้ำค้างและแสงแดดแบบจีนยูนนาน การถนอมอาหารเป็นองค์ความรู้ที่ถูกสั่งสมมาในทุกสังคม โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยว่าการล้มสัตว์ใหญ่แต่ละครั้งคือการลงทุน จึงต้องเก็บเนื้อสัตว์ไว้บริโภคให้ได้นานแบบไม่มีเหลือทิ้ง ยิ่งกับในอดีตที่เครื่องทำความเย็นหรือตู้เย็นไม่ใช่ของที่พบเจอได้ทั่วไป ดังนั้นเราจึงเห็นอาหารประเภทแฮมหรือเนื้อแห้งแทบทุกวัฒนธรรม แต่ในบรรดาแฮมและเนื้อแห้งของวัฒนธรรมต่างๆ นั้น ฉันบังเอิญสนใจ ‘กังปา’ มากเป็นอันดับต้น เพราะสะดุดหูชื่อ ‘หมูน้ำค้าง’ จากกาดบ้านฮ่อมาตั้งแต่เด็ก กาดบ้านฮ่อ... 03.09.2020 Food Story
ข้าวตัง ข้าวตาก ข้าวแต๋น จากข้าวเหลือสู่ของว่างโอชะ จะให้พูดกันอีกกี่ครั้งก็ยังคงต้องยืนยันคำเดิมว่า ความสามารถในการหากินของมนุษย์นั้นมีเหลือเฟือจริงเชียว โดยเฉพาะในอดีตที่การงานของทั้งวันแทบจะไม่พ้นเรื่องปากเรื่องท้อง วิถีชีวิตที่เอื้อให้มนุษย์ได้ใกล้ชิดกับอาหารกว่าปัจจุบันมาก ทำให้คนโบราณมีเวลา ภูมิปัญญา และมีเรี่ยวแรงมาดัดแปลงพลิกแพลงสรรพสิ่งให้กลายเป็นของอร่อยได้เสมอ คนไทยเรากินข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตหลัก เราจึงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับข้าวในแทบทุกมิติ ทั้งด้านความเชื่อ ฤดูกาล อาหาร  มีผู้เปรียบไว้ว่า สามเหลี่ยมที่เป็นโครงสร้างของอาหารไทยแต่เดิมคือข้าว ปลา... 03.11.2019 Food Story
กินอาหารเช้าที่ตรังเยี่ยงชูชก จังหวัดตรังเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการกิน ถึงกับมีคนเรียกว่าเมืองชูชก หรือเมืองของสายแดกสายตะกละนั่นเอง กินได้ตั้งแต่เช้ายันค่ำ กินได้ตั้งแต่ตื่นยันนอน แถมแต่ละมื้อในจังหวัดนี้ยังเต็มไปด้วยอาหารหลากหลาย มาแล้วไม่มีวันอดตาย อร่อยทุกอย่างจนได้รับการขนานนามว่า ‘ตรัง เมืองคนช่างกิน’ ที่เรื่องอาหารการกินขึ้นชื่อจนดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมาย ให้มาสัมผัสการกินและการเป็นอยู่ของคนจังหวัดนี้ แต่ครั้งนี้เราจะพาไปสำรวจอาหารเช้าเป็นพิเศษเพราะเป็นมื้อเช้าขนานใหญ่ จัดเต็ม อลังการยิ่งกว่าจังหวัดไหนๆ ... 26.07.2019 Food Story