RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 78 results for Tag :
วัฒนธรรมอาหารรอบโลก
อาหารอังกฤษในวันที่เดินออกจาก EU
สถานการณ์ภาคพื้นยุโรปช่วงนี้มีเรื่องให้ลุ้นกันเหนื่อย หนึ่งในนั้นคือเรื่องเหตุบ้านการเมืองที่คุกรุ่น โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจอย่างสหราชอาณาจักร ที่นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดอย่างนายบอริส จอร์นสัน ประกาศกร้าวว่าเมืองผู้ดีจะขอก้าวออกจากพันธะสัญญาของสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union: EU) แน่นอน ชวนให้หลายคนตั้งคำถามว่าการหันหลังให้ประเทศเพื่อนบ้านคราวนี้จะทำให้เมืองผู้ดีเดินหน้าไปในทิศทางไหนกัน? แต่ก่อนจะพยากรณ์ผลลัพธ์ในอนาคตอันใกล้เราอยากให้ลองมองย้อนกลับไปถึงกระบวนการเปลี่ยนผ่านในอดีตไกลๆ กันสักครั้ง ด้วยช่วงเวลาก่อนหน้าที่อังกฤษจะกลายเป็นหนึ่งในพี่ใหญ่ของอียู...
05.11.2019
Food Story
Homemade Ketchup ตำรับหอมเครื่องเทศ
แคตฉับ (ketchup) เป็นสุดยอดเครื่องปรุงรสอาหาร (condiment) ของอเมริกันชน เกือบทุกบ้านทุกครอบครัวต้องมีแคตฉับประจำบ้าน สำหรับใส่แฮมเบอร์เกอร์ ฮอตด็อก เฟรนช์ฟรายส์ ออเนียนริง ไก่ทอด และของทอดทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งไข่ดาวไข่เจียว และของปิ้งย่าง สีแดงสดของมันช่างยั่วน้ำลาย...
11.10.2019
Food Story
‘น้ำมันมะกอก’ คุณประโยชน์จาก 6 พันปีก่อนคริสตกาล
มะกอกคือผลไม้ที่เติบโตดีในพื้นที่เขตอบอุ่นอย่างประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนอย่างสเปน กรีซ อิตาลี รวมถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของโลก ที่มีภูมิอากาศคล้ายทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอย่างอเมริกาใต้และออสเตรเลีย สำหรับประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน น้ำมันมะกอกไม่ใช่แค่วัตถุดิบปรุงอาหาร แต่ในด้านศาสนาก็มีการระบุถึงน้ำมันมะกอกไว้ในคัมภีร์ไบเบิลหลายจุด น้ำมันมะกอกจึงถือเป็นอาหารโบราณที่ผูกพันกับคนเเถบนั้นมานาน และปัจจุบันยังถือว่าเป็น 1 ใน 3 ของพืชหลักในอาหารเมดิเตอร์เรเนียน คนไทยส่วนใหญ่จะรู้ว่าถ้าทำอาหารฝรั่ง...
26.09.2019
Cooking
อาหารฮ่องกง-อาหารจีน ความต่างในความเหมือน
หลายคนรวมถึงเราผู้แวะเวียนไปเยือนฮ่องกงนานทีปีหนคงเป็นเรื่องยากเอาการในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนจีนสองแผ่นดิน คงคล้ายฝรั่งบางคนที่เหมารวม ‘คนเอเชีย’ ว่าเป็นชาวจีนผิวเหลืองคล้ายๆ กันหมด ทั้งที่เมื่อพิจารณาให้ดีกลับพบว่าความเป็นเอเชียนั้นหลากหลายและเต็มไปด้วยรายละเอียดยิ่งเมื่อความขัดแย้งระหว่างจีน-ฮ่องกงปะทุและร้อนแรงขึ้นทุกวัน คำถามถึงจุดเริ่มต้นของความแตกต่างก็ผุดพรายขึ้นอย่างมากมายบนนิวส์ฟีดและหน้าสื่อ และคำถามสำคัญที่สุดก็คือเราจะทำความเข้าใจความต่างดังกล่าวได้อย่างไรในฐานะคนทางไกลผู้มองเข้าไปในความขัดแย้ง สุดท้ายเราก็พบว่า หนทางการเรียนรู้นั้นอยู่ไม่ไกลจากห้องครัว ด้วยทั้งจีนและฮ่องกงต่างเป็นดินแดนแห่งอาหารการกินอย่างที่ใครก็ยอมรับ เป็นความอร่อยที่มีรากของวัฒนธรรมการกินอันเรืองรองและส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอาหารทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทย แต่การจะนิยามความต่างในความเหมือนของอาหารจีน-ฮ่องกงนั้นคงต้องพลิกหน้าประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปนานสักหน่อย เพราะไม่เพียงวิถีชีวิตและวัตถุดิบท้องถิ่นเท่านั้นที่มีผลต่อตำรับต่างๆ...
24.09.2019
Food Story
ขนมไหว้พระจันทร์ช่วยทวงคืนเอกราช เชื่อไหมล่ะ!
ใครมีเชื้อสายจีนคงคุ้นเคยกับขนมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะกลมๆ คล้ายเค้ก มีไส้ข้างใน มักได้กินในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี นึกออกกันแล้วใช่ไหมว่ามันคือขนมอะไร? ใช่แล้ว ‘ขนมไหว้พระจันทร์’ นั่นเอง เป็นขนมที่ลูกๆ หลานๆ เชื้อสายจีนร้อยทั้งร้อยต้องรู้จัก แต่อาจมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ถึงที่มาที่ไปของมัน โดยขนมไหว้พระจันทร์เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายเค้ก ทำจากแป้งสาลีชนิดพิเศษนวดผสมน้ำเชื่อม ใส่ไส้แล้วกดลงบนแม่พิมพ์...
13.09.2019
Food Story
Breakfast in Bed อาหารเช้าบนเตียงที่มีไว้เพียงสาวชั้นสูง
ใครเป็นแฟนซีรีส์สัญชาติอังกฤษอย่าง Downton Abbeyคงเคยผ่านตาซีนอาหารเช้าบนเตียงอันโด่งดังกันมาบ้างด้วยฉากหนึ่งยามเช้า ณ คฤหาสน์ของท่านเอิร์ล เมื่อบรรดาพี่สาวชวนน้องสาววัยแรกรุ่นรับอาหารเช้ากันในห้องนอนทว่าตัวน้องสาวกลับปฏิเสธด้วยเหตุว่า “ก็ฉันยังไม่ได้แต่งงานเลยนี่!” ก่อนลงมากินอาหารร่วมกับแขกเหรื่อในห้องอาหารหรูหราแทน ชวนให้สงสัยว่าธรรมเนียมอาหารเช้าบนเตียงมีอะไรมากกว่าความหรูหราหรือ? และทำไมถึงสงวนไว้สำหรับคนมีคู่เท่านั้น? ยังไม่นับประเพณีนิยมในเวทีนางงามจักรวาลเมื่อสาวสวยคนใดได้รับมงกุฎแล้วนั้น เช้าวันถัดมาเธอจะต้องตื่นแต่เช้ามืดมาแต่งหน้าเต็ม (ทั้งที่ยังสวมชุดนอน) เพื่อให้ช่างภาพหลายสิบชีวิตรัวแฟลชใส่ขณะค่อยๆ ละเลียดอาหารเช้าแบบ...
15.07.2019
Food Story
ทำไมนม-น้ำส้ม-กาแฟ ถึงกลายเป็นภาพจำบนโต๊ะอาหารเช้า
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมนม น้ำส้ม และกาแฟถึงเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตประจำโต๊ะอาหารเช้า? อาหารเช้าของแต่ละบ้านหรือแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน แต่จุดร่วมคือต้องมีนม น้ำส้ม หรือกาแฟ อย่างใดอย่างหนึ่งวางไว้บนโต๊ะอาหารเช้าเสมอ หรือให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกภาพอาหารเช้าแบบจัดเต็มในโรงแรม จะเห็นว่าเครื่องดื่มทั้ง 3 อย่างนี้ถูกจัดเสิร์ฟในตอนเช้าเสมอ น่าสงสัยจริงๆ ว่าทำไมนม...
15.07.2019
Food Story
10 เมนูกินเยี่ยงคนรัสเซีย ไม่ได้กินถือว่าไปไม่ถึง! 10 FOODS to EAT Like a RUSSIAN
การกินกับการเดินทางเป็นของคู่กัน โบราณว่าไว้เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ไปเที่ยวรัสเซียทั้งทีจะไม่ให้ลองกินอาหารแบบโลคอลได้อย่างไร บทความนี้จึงว่าด้วยอาหารรัสเซียที่ควรกินสักครั้งให้สมกับมาเยือนประเทศนี้ หลายคนดูภาพแล้วอาจจะงงว่าอาหารรัสเซียทำไมถึงแปลกประหลาดอย่างนี้ มีทั้งออกฝรั่ง ออกตะวันออกกลาง ออกเอเชีย ฉะนั้นก่อนเข้าเรื่องของกินควรทำความรู้จักประเทศนี้เสียหน่อย เนื่องด้วยประเทศรัสเซียมีอาณาเขตใหญ่โตมาก ซ้ายติดทวีปยุโรป กลางติดเอเชียกลาง ตะวันตกติดกับเอเชียตะวันออก และมีส่วนเหนือของประเทศติดกับทะเลแถบขั้วโลกเหนือ...
14.06.2019
Food Story
น้ำแข็งไสหลากสัญชาติ หวาน เย็น ดับร้อนที่ทุกประเทศต้องมี
วัยเด็ก ลำพังน้ำแข็งไสเกล็ดหยาบๆ ราดน้ำหวานกลิ่นผลไม้ไล่เฉดสีอย่างน้ำแข็งกด ก็เป็นความรื่นรมย์ที่ช่วยลดระดับความร้อนระอุในร่างกาย ทำให้ใจพองโตและยิ้มได้แทบจะทันทีที่ได้กิน กระบวนท่าเนรมิตน้ำแข็งไสของพ่อค้าแม่ค้ายังเป็นความเพลิดเพลินที่สะกดให้เรารอได้แบบไม่ปล่อยใจให้ระอุไปตามสภาพอากาศ ไล่ตั้งแต่ไสน้ำแข็งก้อนบนกบไสไม้เสียงดังแกรกๆ ออกเป็นเกล็ด แล้วโกยเกล็ดน้ำแข็งลงพิมพ์ทรงกรวยอย่างฉับไว เสียบไม้ทำด้ามจับตรงกลาง ใช้แรงแขนกดมือย้ำๆ ให้อัดแน่น เอาออกจากพิมพ์ ราดน้ำหวานสีแดง สีเขียว หรือหลากสีเอาสวยถืออวดเพื่อนได้แวบหนึ่ง...
05.04.2019
Food Story
‘ฟาลูเดห์’ จากทะเลทราย สู่ต้นกำเนิดหวานเย็นทั่วโลก
เป็นเรื่องทั้งน่าสงสัยและน่าสนใจ เมื่อเราได้รู้ว่าต้นกำเนิดของบรรดาหวานเย็นหรือไอศกรีมนั้น ถูกคิดค้นขึ้นในเมืองร้อนที่ล้อมด้วยทะเลทรายอย่างเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) รวมถึงบางพื้นที่ในประเทศจีน ที่มีบันทึกระบุถึงกระบวนการทำน้ำแข็งอย่างง่ายๆ ไว้กินกันในหน้าร้อน และความสงสัยนั้นก็คลี่คลายขึ้นเมื่อราว 2 ปีก่อน เมื่อเรามีโอกาสเดินทางไปประเทศอิหร่าน และพบกับหวานเย็นตำรับเก่าแก่ที่ยังคงสืบทอดความอร่อยมาจนถึงปัจจุบัน นามว่า ‘ฟาลูเดห์’ (Faloodeh)...
04.04.2019
Food Story
‘น้ำปลาญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ’ ญี่ปุ่นมีน้ำปลาด้วยเหรอ?
น้ำปลาไม่เพียงเป็นเครื่องปรุงรสเค็มในอาหารไทยทั้งต้ม ผัด แกง ทอด แต่ยังมีสถานะเป็นเครื่องเหยาะเพิ่มรสชาติที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหาร ยามกินแกงเผ็ดหากเหยาะน้ำปลาสักหน่อย คลุกเคล้าแกงกับข้าวสวยร้อนๆ ยิ่งเพิ่มอรรถรสและรู้สึกเผ็ดน้อยลง หรือแม้แต่พบอาหารรสชาติไม่ถูกปาก น้ำปลาพริกบนโต๊ะก็พอช่วยให้มื้อนั้นของเราผ่านไปได้แบบกล้อมแกล้ม ถึงขนาดมีคนเปรียบน้ำปลาเป็นรสอูมามิประจำชาติไทยเลยทีเดียว ทั้งร้านหรู ร้านข้าวแกงหรือร้านอาหารตามสั่งข้างทางจึงไม่ว่างเว้นตั้งน้ำปลาโถน้อยไว้บนโต๊ะ ทว่ารสเค็มในอาหารไทยแต่ดั้งเดิมนั้นไม่ได้ชูรสด้วยน้ำปลา คนไทยสมัยก่อนใช้เกลือ...
22.03.2019
Food Story
รู้ ลิ้ม ชิม รส อาหารไทยและแอฟริกัน-อเมริกัน ใกล้กันกว่าที่คิด
เมื่อได้ยินคำว่าอาหารแอฟริกัน-อเมริกัน สิ่งแรกและสิ่งเดียวที่ปรากฏขึ้นในความคิดของฉันเห็นจะเป็นโซลฟู้ด (Soul Food) เมนูแอฟริกัน-อเมริกันดั้งเดิมที่เกิดจากวิถีชีวิตอันยากลำบากตั้งแต่ยุคค้าทาสในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นสารพัดวัตถุดิบที่ไม่เป็นที่ต้องการในครัวอเมริกัน เช่นบรรดาเครื่องในสัตว์ หาง หู และส่วนอื่นๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศเข้มข้น พร้อมกับคอร์นเบรด (Corn Bread)...
08.03.2019
Food Story
Flavorful Origins ‘จุดกำเนิดรสล้ำ’ สารคดีของคนรักอาหาร
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสดู Flavorful Origins หรือ ‘จุดกำเนิดรสล้ำ’ สารคดีใน NetFlix เกี่ยวกับต้นกำเนิดของอาหาร โดยบอกเล่าเรื่องราวผ่านวัตถุดิบ ซึ่งในแต่ละตอนก็จะเล่าที่มาที่ไปของวัตถุดิบที่ขึ้นชื่อของแหล่งนั้นๆ เอาจริงๆ ตอนแรกก็มีความคิดว่ามันจะน่าเบื่อรึเปล่านะ จะน่าสนใจมั้ย แต่ด้วยความที่เราเป็นคนชอบทำอาหาร ก็เลยอยากลองดูสักหน่อย...
04.03.2019
Food Story
การเมืองเรื่องตะเกียบ ความแตกต่างที่คนนอกไม่ทันใส่ใจ
การกระจายตัวของคนจีนไปทั่วโลก เป็นการพาวัฒนธรรมเฉพาะตัวเผยแผ่ตามกันอย่างเทศกาลตรุษจีน และอาหารจีน ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนในบริบทสังคมที่หลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือการกินอาหารด้วยตะเกียบ อันเป็นเครื่องมือประจำโต๊ะอาหารของชาวเอเชียตะวันออก จนกลายเป็นภาพแทนทางวัฒนธรรมเอเชียในสายตาชาวตะวันตกไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ตะเกียบของแต่ละประเทศแตกต่างกันฉันใด การเหมารวมทางวัฒนธรรมด้วยตะเกียบก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนฉันนั้น และเมื่อใดที่สื่อตะวันตกพยายามหาแง่มุมเพื่อการสื่อสารกับชาวเอเชียด้วยตะเกียบ มันก็มักจะนำมาซึ่งข้อโต้แย้งมากมาย เมื่อเดือน พ.ย. 2018 ได้เกิดเหตุการณ์อื้อฉาวขึ้นในวงการแฟชั่นโลก...
08.02.2019
Food Story
ดราม่า ‘ไก่ทอด’ เมื่อไหร่กันที่มันเป็นเมนูคนดำ?
ใน Green Book มีฉากหนึ่งที่ โทนี (วิกโก มอร์เทนเซน) คนขับรถผิวขาว พยายามโน้มน้าว ดอน (มาเฮอร์ชาลา อาลี) เจ้านายผิวดำของเขาซึ่งนั่งอยู่เบาะหลัง ให้ลองลิ้มชิมรสไก่ทอดสูตรเด็ดที่เวลากินต้องใช้มือจับชิ้นไก่ จึงจะได้รสสัมผัสอันเด็ดสะระตี่ของมัน...
25.01.2019
Food Story
ของหวานคริสต์มาสแสนอร่อยทั่วทวีปยุโรป
ปฎิเสธไม่ได้ว่าอาหารเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โอกาสสำคัญหลายโอกาส ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด งานแต่งงาน หรืองานศพ ล้วนแล้วแต่มีอาหารเป็นหนึ่งในส่วนประกอบ เทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลสำคัญทางศาสนา หรือประเพณีที่สืบทอดกันมา ก็จะมีอาหารที่นิยมกินกันตามช่วงเวลา เทศกาลไหว้พระจันทร์มีขนมไหว้พระจันทร์ สงกรานต์ตามประเพณีแล้วนั้นก็จะมีการทำข้าวเหนียวแดงและข้าวเหนียวแก้ว ทางฝั่งตะวันตกก็มีธรรมเนียมการกินอาหารตามเทศกาลเฉลิมฉลองสำคัญเช่นนี้เหมือนกัน สำหรับชาวคริสเตียน งานรวมญาติที่ใหญ่ที่สุดของปีหนีไม่พ้นอีสเตอร์และคริสต์มาส...
24.12.2018
Food Story
ขนมครกเวียดนาม
ขนมครกเวียดนาม ไม่เหมือนขนมครกของไทย ลาว พม่า เขมร และชวา ซึ่งเดี๋ยวนี้กินเป็นของหวานอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นของว่างรสเค็มมันปะแล่มด้วยเหมือนอย่างสมัยก่อน แปลกกว่าใครเพื่อน เพราะคนเวียดนามเขากินขนมครกเป็นอาหารคาว แห่งเดียวในโลกจริงๆ ครับ แม้แต่ขนมครกญี่ปุ่น “ทาโกะยากิ” ถึงจะรสเค็มมัน...
03.12.2018
Food Story
เส้นทางเครื่องเทศ ‘กระวานเขียว’ จากอินเดียสู่สแกนดิเนเวีย
กระวานเทศสีเขียว หรือ cardamom นั้นเป็นเครื่องเทศที่มาจากประเทศอินเดีย เป็นส่วนประกอบหลักในอาหารอินเดียและอาหารอาหรับ แต่เพราะเหตุใดเจ้าเครื่องเทศสีเขียวกลิ่นหอมตัวนี้จึงได้เป็นที่นิยมในอาหาร โดยเฉพาะขนมเค้กและขนมปังหวานในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน ถึงขั้นว่าคนนอร์เวย์นั้นกินกระวานเทศมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนชาติอื่นถึง 30 เท่าเลยทีเดียว! แล้วเจ้ากระวานเขียวมันเดินทางจากแดนไกลในพริกแกงอินเดีย หรือขนมหวานของอิหร่าน มาถึงขนมปังโรลคาร์ดามอม ซึ่งนิยมกินเป็นอาหารเช้า หรือควบคู่กับกาแฟยามบ่าย...
09.11.2018
Food Story
มรดกพุทธศิลป์ ปากีสถานตอนเหนือ
ปากีสถานตอนเหนือเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย เรื่องภูมิประเทศ งดงามด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน อีกยอดเขาสูงเสียดฟ้า 7,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป หลายยอด แต่น้อยคนที่รู้ว่าปากีสถานตอนเหนือในอดีตกว่า 2,500 ปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของแคว้นคันธาระซึ่งพุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศิลป์ โดยเฉพาะการอุบัติขึ้นเป็นครั้งแรกของการจำหลักรูปเคารพของพระพุทธเจ้า โดยได้อิทธิพลจากรูปเคารพเทพเจ้ากรีกและโรมัน และการขยายตัวของพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางทั่วเอเชียกลาง...
05.11.2018
Food Story
ปลาร้า ปลาฮ้า ปลาแดก วัฒนธรรมปลาเน่าของชาวลุ่มแม่น้ำ
คำว่า ‘แดก’ เป็นคำกริยาโบราณ แปลว่า ‘ยัดจนแน่น’ และใช่ คำว่า ‘ปลาแดก’ จึงอธิบายได้ชัดว่าเป็นปลาที่ถูกยัดลงภาชนะ ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่เราชาวไทยและเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงใช้ถนอมอาหารกันมานานนับพันปี จนอาจเรียกได้ว่าปลาแดกเป็นอาหารดึกดำบรรพ์ เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสืบทอดส่งต่อกันมาให้เราไว้ทำกิน เก่าแก่ในระดับเคยมีการขุดค้นเจอหลักฐาน ‘ไหปลาแดก’ ฝังรวมอยู่ในหลุมศพมนุษย์ยุคโบราณอายุกว่า...
31.10.2018
Food Story
Previous
1
2
3
4
Next