RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 52 results for Tag :
วัฒนธรรมอาหาร
ข้าวแรมฟืน อาหารถิ่นหากินยากจากเชียงตุง ต้องลอง! | Food Story
‘ข้าวแรมฟืน’ เป็นอาหารพื้นเมืองที่คนเชียงตุงนิยมมาก ทำมาจากข้าวโม่ละเอียด นำไปเคี่ยวกับน้ำปูนใสจนเหนียวข้น แล้วเทใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้เซ็ตตัว มีสีขาว เนื้อนุ่มเด้งดึ๋งเรียกว่า ส่วนสีเหลือง ทำจากถั่วกาละแป และสีม่วง ทำจากถั่วลิสง หรือถั่วดิน ข้าวแรมฟืน สามารถนำมากินได้อย่างหลากหลาย กินเป็น...
07.12.2021
Video
เกาหยุก อาหารในงานที่ทำกินเองก็ได้
ตั้งแต่เด็กแม่มักจะทำเมนูหนึ่งขึ้นโต๊ะบ่อยๆ ภาพจำของฉันสำหรับเมนูนี้คือ หมูสามชั้นที่ทอดให้สุกเหลืองกำลังดี แล้วนำไปเคี่ยวกับเผือก และเห็ดหูหนูจนเปื่อยนุ่ม กลิ่นหอมของรากผักชี กระเทียม พริกไทย และเต้าหู้ยี้ หอมโชยไปทั่วทั้งบ้าน เวลาแม่ทำเมนูนี้ทีไรทุกคนเป็นต้องดีใจกันทุกครั้ง เมนูที่ฉันกำลังพูดถึงอยู่ก็คือ เกาหยุก แบบฉบับของบ้านฉันเอง ที่บอกว่าแบบฉบับบ้านฉัน...
29.11.2021
Food Story
การเดินทางของขนมจีน-ข้าวปุ้น-ขนมเส้น
เมื่อถึงวาระที่ต้องเขียนเรื่องอาหารท้องถิ่น ฉันมองหาเมนูที่อยากหยิบมาเล่าถึงไปเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งมาสะดุดกับเมนูขนมจีนเข้าจึงนึกสงสัยว่า ขนมจีนนี้ช่างประหลาด เพราะเป็นอาหาร ‘ท้องถิ่น’ ไปเสียหมดทุกถิ่น ไม่ว่าจะเหนือ กลาง อีสาน ใต้ คนทุกภาคทุกที่ต่างกินขนมจีนด้วยกันทั้งสิ้น และที่ประหลาดไปกว่านั้นก็คือ คนแต่ละถิ่นก็มีตำรับขนมจีนที่ต่างกัน เส้นแป้งข้าวเจ้าที่เราเรียกกันว่าขนมจีนนั้น...
22.11.2021
Food Story
ลาบหมาน้อย เมนูวุ้นเขียวสุดแซบแห่งอีสาน
ได้ยินชื่อ ‘ลาบหมาน้อย’ คงต้องมีสะดุ้งกันบ้าง แต่ก่อนจะคิดไปไกล บอกกันตรงนี้ค่ะว่าลาบหมาน้อยไม่ใช่ลาบที่ทำมาจากเนื้อน้องหมาตัวน้อยแต่อย่างใด เป็นลาบที่ทำจากพืชท้องถิ่นชื่อ ‘เครือหมาน้อย’ หรือบ้างก็เรียก กรุงเขมา หมอน้อย ก้นปิด ขงเขมา เปล้าเลือด สีฟัน แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น...
18.11.2021
Food Story
ข้าวแรมฟืน โถ่พูอุ่น แป้งเคี่ยวหอมเนียนนวลถิ่นเหนือ
ข้าวแรมฟืน เป็นอาหารของพี่น้องชาวไทใหญ่ ไทยลื้อ จีนยูนนาน รวมถึงชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เดินทางมาจากถิ่นฐานเดียวกันคือทางตอนใต้ของประเทศจีน มีลักษณะแตกต่างกันไปตามวิธีปรุง แต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันคือทำมาจากข้าวหรือถั่ว ที่ผ่านการโม่ กรอง และเคี่ยวจนเหนียวข้น ฉันรู้จักข้าวแรมฟืนครั้งแรกจาก ‘กาดบ้านฮ่อ’ ตลาดนัดยามเช้าที่มัสยิดเฮดายาตูลอิสลามบ้านฮ่อ ซอยเจริญประเทศ...
15.11.2021
Food Story
ถั่วเน่าซา-ถั่วเน่าเมอะ-ถั่วเน่าบอง ถั่วเน่าหมักสดรสนัวคู่ครัวไทใหญ่
“ถั่วเน่า คือรสชาติของชีวิต” น้ำเสียงหนักแน่นของป้าคำ ชาวไทใหญ่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อธิบายความสำคัญของถั่วเน่าในฐานะเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารการครัวของชาวไทใหญ่จนถึงครัวล้านนา แม้ชีวิตจะต้องจากบ้าน ไปอยู่ต่างเมืองหรือที่ไหนๆ ‘ถั่วเน่า’ ยังคงเป็นเครื่องปรุงที่ชาวไทใหญ่นำติดตัวไปด้วยเสมอ เกลือ พริก และถั่วเน่า คือสามสิ่งสำคัญในการปรุงอาหารของชาวไทใหญ่ เมื่อเกลือหาได้ทุกที่ พริกหาได้ทุกแห่ง แต่กับถั่วเน่าที่ช่วยชูรส เพิ่มความกลมกล่อมให้อาหารไม่ต่างจากปลาร้าของครัวอีสาน...
11.11.2021
Food Story
‘ไก่ดำ’ กับการเซ่นไหว้และทำนายของอาข่าและลาหู่
ความเชื่อเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่ในทุกชาติชน เพราะในอดีตที่ศาสนายังไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนทั่วโลก ผีและวิญญาณคือสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ในวันคืนที่ความหมายของคำว่า ‘ผี’’ ยังไม่ถูกครอบด้วยความน่ากลัว ผีไม่ใช่ดวงวิญญาณที่คอยอาฆาตหลอกหลอน แต่เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง ผีเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ คนในครอบครัว ในชุมชน จึงต้องดูแลพฤติกรรมของกันและกันให้อยู่ในร่องในรอยเสมอ เพื่อที่ว่าผีจะได้พึงพอใจและบันดาลความสุข สุขภาพ และความสมบูรณ์ของเทือกสวนไร่นาให้...
08.11.2021
Food Story
น้ำชุบพรก ของอร่อยในกะลาจากแดนใต้
ภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผัก สำรับของชาวใต้จึงมีผักสดเป็นส่วนประกอบสำคัญในทุกมื้อ จัดมาอย่างเต็มที่ทั้งผักที่หากินได้ในภาคอื่นๆ อย่างกระถิน กระเฉด ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ไปจนถึงผักท้องถิ่นของชาวใต้อย่างลูกเนียงและลูกตอ โดยมีบทบาทเป็นผักรับประทานคู่กับแกง ยำ ขนมจีน จึงเรียกว่า ‘ผักแกล้ม’ หรือ...
04.11.2021
Food Story
ลูกประดอง ของดองเคี้ยวเพลินจากแดนใต้
ลูกประ หรือลูกกระ เป็นเมล็ดของต้นประ ไม้ยืนต้นที่พบได้ในพื้นที่ทางใต้ โดยเฉพาะในป่าดงดิบอย่างเขตเทือกเขาบรรทัดและพื้นที่โดยรอบ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง สันนิษฐานว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ต้นประเมื่อโตเต็มที่อาจสูงได้ราว 20-40 เมตร เรียกได้ว่ามองแทบไม่เห็นยอด ดังนั้นในการเก็บลูกประ แทนที่เราจะแหงนหน้าขึ้นฟ้า...
02.11.2021
Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว
ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ...
01.11.2021
Food Story
มัศกอด คัพเค้กโบราณแสนน่ารัก
“มัสสะกอด กอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถามกอดเคล้นจะเห็นงาม ขนมนามนี้ยังแคลง” กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 นอกจากเป็นบทพรรณนาถึงคนรัก ยังเป็นบันทึกอาหารแห่งยุคสมัย และหลายชนิดที่เลือนรางไปกับยุคสมัยก็ชวนให้เราสงสัยว่าหน้าตา รสชาติ อาหารเหล่านั้นเป็นอย่างไร เช่น ‘มัสสะกอด’ หรือ ‘มัศกอด’ ที่ไม่ได้เอ่ยถึงรายละเอียดใดๆ นอกจากทิ้งปริศนาเรื่องชื่อ ชวนให้เราคลางแคลงคล้อยตามบทประพันธ์ ‘ขนมนามนี้ยังแคลง’ ว่ากันว่า ‘มัศกอด’ นี้ได้รับอิทธิพลมาจากแขกเปอร์เซีย ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี...
13.10.2021
Food Story
อั่ว ศิลปะอาหารยัดไส้ของครัวล้านนา
คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ...
07.06.2021
Food Story
อั่งคัก ราข้าวสีแดงสวยในครัวจีนโบราณ
มนุษย์เริ่มใช้สีสังเคราะห์ในการแต่งอาหารมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1856 เมื่อ Henry Perkin (เซอร์วิลเลียม เพอร์กิน) ค้นพบสีสังเคราะห์ขึ้นโดยบังเอิญ จากเดิมที่เม็ดสีต้องใช้การสังเคราะห์จากสารธรรมชาติ ทำให้สังเคราะห์ได้ทีละน้อย จึงมีราคาแพง การค้นพบของวิลเลียม เพอร์กิน ทำให้ได้สีในปริมาณมากขึ้น...
01.06.2021
Food Story
‘ขนมสี่ถ้วย’ คำอวยพรหวานล้ำปราศจากคำพูด
“ไปกินสี่ถ้วยกัน” คำเอ่ยปากชักชวนของผู้ใหญ่ใจดีที่คนสมัยนี้มักไม่ได้ยินกันแล้ว หรือหากได้ยินก็น้อยคนที่จะเข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของคำชวน จนอาจเผลอปฏิเสธความใจดีไปอย่างน่าเสียดาย คำว่ากินสี่ถ้วย เป็นคำเรียกชื่อขนมสี่อย่าง ที่นิยมทำเลี้ยงแขกในงานแต่งของชาวพระร่วงเมื่อครั้งอดีต จนกลายมาเป็นคำเรียกประเพณีการต้อนรับแขกเมื่อมาอวยพรให้บ่าวสาวครองคู่กันตราบนิจนิรันดร์เรื่อยมา หากใครสนทนากันมีใจความว่าไปกินสี่ถ้วยบ้านเหนือบ้านใต้ เป็นอันเข้าใจว่ามีพิธีมงคลสมรสเกิดขึ้นแล้ว จะต้องเร่งฝีเท้าไปช่วยงานครัวบ้านเจ้าสาวให้ได้ แต่ในปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นกันเท่าไรนักเพราะนิยมขนมมงคลจำพวกไข่เสียมากกว่า กาลเวลาเลยพาให้ขนมสี่ถ้วยค่อยๆ จางและหายไปจากความทรงจำ แต่หากเผลอพูดให้ปู่ย่าตายายได้ยินเข้าละก็...
31.05.2021
Food Story
คณะราษฎรกับไข่ไก่ยิ่งใหญ่ยืนยง
คำว่า ‘สวัสดี’ เป็นคำใหม่ที่มีการประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2486 ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม การทักทายของคนไทยจึงถูกกำหนดรูปแบบขึ้น เช่นเดียวกับคำว่าอรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลพวงอย่างหนึ่งจากยุค สร้างชาติ ที่ยังคงรุ่งเรืองเฟื่องฟูเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมไทยจนถึงทุกวันนี้ ก่อนหน้าจะมีการใช้คำว่าสวัสดี...
02.02.2021
Food Story
ลาบ หลู้ เหล้า: ปากะศิลป์กับแกล้มแบบนักเลงล้านนา
เมื่อพูดถึง ‘กับแกล้ม’ อาหารยอดชู้คู่รักของเครื่องดื่มมึนเมา ฉันในฐานะของเด็กบ้านนอกจากเชียงใหม่ คงต้องขอรักษาเกียรติของตนไว้ด้วยการพูดถึงลาบและหลู้! ใครที่พอจะคุ้นเคยกับภาคเหนือตอนบนอยู่บ้าง ย่อมต้องเคยเห็นร้านรวงข้างทางที่ขายลาบ หลู้ และส้า ที่บางร้านเขียนป้ายติดตลกและแสดงความแพรวพราวทางภาษาไว้ว่า เหลู้าบ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งลาบ หลู้ และเหล้า ด้วยว่าสามสิ่งนี้คือฐานพีระมิดของความผ่อนคลายเลิศรสในแบบของคนล้านนาแต๊ๆ...
02.12.2020
Food Story
ถั่วเน่า อูมามิของครัวล้านนาและครัวไทใหญ่
“ของกิ๋นลำอยู่ตี้คนมัก ของฮักอยู่ตี้คนเปิงใจ๋” ป้ออุ้ยแม่อุ้ยมักพูดไว้อย่างนั้นเมื่อยามเอ่ยถึงความนิยมชมชอบส่วนตัว ภาษิตล้านนาถ้อยนี้ แปลได้ตรงตัวว่า อาหารจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็อยู่ที่ความชอบของคนกิน ส่วนของชิ้นหนึ่งๆ จะมีคุณค่าต่อใครสักคน ก็ต่อเมื่อเขาถูกตาต้องใจกับของชิ้นนั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คงต้องเห็นด้วยทั้งขึ้นทั้งล่อง ในเมื่อเหตุผลเหล่านี้มันปฏิเสธกันไม่ได้จริงๆ เป็นต้นว่ากลิ่นหมักของถั่วเน่าที่บางคนก็ทำหน้าเบ้ ส่วนอีกบางคนกลับน้ำลายสอนั่นเอง ‘ถั่วเน่า’ หรือถั่วโอ่...
14.09.2020
Food Story
ปลารมควัน สุโขทัย เสน่ห์หอมจากภูมิปัญญาดั้งเดิม
“กินข้าวกินปลามาหรือยัง” เป็นคำทักทายถามไถ่แบบไทยๆ ที่แฝงความเป็นห่วงเป็นใย หรือเพียงประโยคทักทายติดปากผู้ใหญ่ในความหมายว่าสวัสดีก็ตาม ที่แน่ๆ เราแทบจะไม่เคยได้ยินคำทักทายว่า กินข้าวกินหมูมาหรือยัง กินข้าวกินไก่มาหรือยัง ด้วยข้าวกับปลาเป็นอาหารหลักเก่าแก่ของคนไทยและผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่นักโบราณคดีขุดพบก้อนอุจจาระที่บ้านโคกพนมดี อ.พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีอายุยาวนานกว่า 3,000 ปี...
02.09.2020
Food Story
อุปกรณ์อาหารว่างไทย
การทำอาหารว่างไทยต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะบางอย่างมากกว่ากระทะ ตะหลิว หม้อ หรือทัพพี ทั่วไป เพื่อลักษณะอาหารที่ถูกต้อง และเพื่อความประณีต ละเมียดละไมของอาหาร เช่น ขนมจีบนก หรือช่อม่วง ที่ต้องใช้แหนบช่วยในการจับจีบเป็นรูปกลีบดอกไม้ เรไรต้องใช้พิมพ์กดแป้งให้เป็นเส้น นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อความสวยงามของชิ้นอาหารแล้ว ยังมีอุปกรณ์พื้นฐานอย่างกระทะ...
08.11.2019
Cooking
เมื่อลูกสาวชวนพ่อคุยเรื่อง ‘พาข้าว’
ฉันกำลังมีโปรเจ็กต์พิเศษคืองานเขียนบทหนังที่พูดถึงเรื่อง ‘อาหารบ้าน’ แรงบันดาลใจนี้มาจากอาหารของยายที่เลี้ยงฉันมาตั้งแต่เด็ก แม้ทุกวันนี้คุณยายจะเสียไปแล้วแต่อาหารของยายก็ยังวนเวียนอยู่ในบ้าน (ไม่ใช่ผีคุณยายนะคะ) ได้กินกี่ครั้งก็คิดถึงคุณยายทุกทีและอาจจะเพราะอาหารของคุณยายนี่แหละที่ส่งผลให้วัฒนธรรมการกินข้าวมื้อเย็นกับที่บ้านค่อนข้างมีความสำคัญมาก วันไหนไม่กินต้องโทร.บอก และช่วงไหนไม่กินบ่อยๆ ต้องเริ่มถูกก่นด่าจนการกินข้าวบ้านเป็นเหมือนพิธีกรรมที่รวมคนในบ้านไว้ด้วยกัน ที่พูดมานี่ไม่ได้อึดอัดหรอกนะคะ ชอบเสียด้วยข้าวบ้านอร่อยที่สุดแล้ว 🙂 แต่ช่วงนี้คิด-เขียนบทไม่ค่อยออกค่ะ วันหยุดลมเย็นๆ...
25.10.2019
Food Story
Previous
1
2
3
Next