RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 17 results for Tag :
อาหารชาติพันธุ์
ชมตึกเก่า กิ๋นข้าวลำ ที่ กิติพานิช เชียงใหม่
เชื่อว่าคนเชียงใหม่ส่วนใหญ่คงจะคุ้นตากับตึกโบราณสีเหลืองนวลที่ตั้งอยู่บนถนนท่าแพกันทั้งนั้น เพราะตึกแห่งนี้มีอายุมากถึง 135 ปี คล้ายกับว่าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ยืนตระหง่านเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงของเมือง โดยเฉพาะย่านท่าแพที่เปลี่ยนจากย่านศูนย์กลางการค้าปลีกส่งสินค้านำเข้า มาสู่การเป็นย่านท่องเที่ยวอันดับต้นของประเทศจนถึงปัจจุบัน ภาพทรงจำที่มีต่อตึกสีเหลืองหลังนี้ต่างกันไปตามรุ่นคน อย่างฉันเองที่เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด คุ้นเคยกับอาคารหลังนี้ในนามร้าน ซินกีง้วน ร้านขายหนังสือ นิตยสาร และโปสการ์ดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมักซื้อติดมือไปเป็นของฝาก กระนั้นซินกี้ง้วนก็ใช้พื้นที่เฉพาะตรงหน้าร้านเท่านั้น...
19.02.2024
Food Story
ชี้เป้า 3 ร้าน สุด Unique ในเชียงใหม่ ที่ต้องไปลองสักครั้งในชีวิต
เชียงใหม่เป็นจังหวัดอันดับต้นๆ ที่คนส่วนใหญ่นิยมไปเที่ยวกัน นอกจากที่ท่องเที่ยวหลากหลายสไตล์แล้ว เรื่องของกินที่เชียงใหม่ก็ไม่แพ้ภาคใดในประเทศไทยเหมือนกัน เพราะมีให้เลือกเยอะมาก อยากกินแบบไหนมีหมด ครั้งนี้เลยจะมาชี้เป้า 3 ร้านเด็ดที่เราได้มีโอกาสไปกินเมื่อปลายปีที่ผ่านมา บอกเลยว่า unique สุดๆ เป็นร้านอาหารของคนเหนือที่จริงใจ ใครไปเชียงใหม่ต้องห้ามพลาด! ‘บุศริน’ ร้านอาหารไทยรสละมุนที่ไม่ใช่แค่… อะไรก็ได้ ร้านอาหารไทยสไตล์น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ สะท้อนตัวตนของ พี่น้อย –...
12.01.2024
Food Story
ข้าวแรมฟืน อาหารถิ่นหากินยากจากเชียงตุง ต้องลอง! | Food Story
‘ข้าวแรมฟืน’ เป็นอาหารพื้นเมืองที่คนเชียงตุงนิยมมาก ทำมาจากข้าวโม่ละเอียด นำไปเคี่ยวกับน้ำปูนใสจนเหนียวข้น แล้วเทใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้เซ็ตตัว มีสีขาว เนื้อนุ่มเด้งดึ๋งเรียกว่า ส่วนสีเหลือง ทำจากถั่วกาละแป และสีม่วง ทำจากถั่วลิสง หรือถั่วดิน ข้าวแรมฟืน สามารถนำมากินได้อย่างหลากหลาย กินเป็น...
07.12.2021
Video
ข้าวแรมฟืน โถ่พูอุ่น แป้งเคี่ยวหอมเนียนนวลถิ่นเหนือ
ข้าวแรมฟืน เป็นอาหารของพี่น้องชาวไทใหญ่ ไทยลื้อ จีนยูนนาน รวมถึงชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เดินทางมาจากถิ่นฐานเดียวกันคือทางตอนใต้ของประเทศจีน มีลักษณะแตกต่างกันไปตามวิธีปรุง แต่มีจุดร่วมที่เหมือนกันคือทำมาจากข้าวหรือถั่ว ที่ผ่านการโม่ กรอง และเคี่ยวจนเหนียวข้น ฉันรู้จักข้าวแรมฟืนครั้งแรกจาก ‘กาดบ้านฮ่อ’ ตลาดนัดยามเช้าที่มัสยิดเฮดายาตูลอิสลามบ้านฮ่อ ซอยเจริญประเทศ...
15.11.2021
Food Story
‘ไก่ดำ’ กับการเซ่นไหว้และทำนายของอาข่าและลาหู่
ความเชื่อเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่ในทุกชาติชน เพราะในอดีตที่ศาสนายังไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนทั่วโลก ผีและวิญญาณคือสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ในวันคืนที่ความหมายของคำว่า ‘ผี’’ ยังไม่ถูกครอบด้วยความน่ากลัว ผีไม่ใช่ดวงวิญญาณที่คอยอาฆาตหลอกหลอน แต่เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง ผีเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ คนในครอบครัว ในชุมชน จึงต้องดูแลพฤติกรรมของกันและกันให้อยู่ในร่องในรอยเสมอ เพื่อที่ว่าผีจะได้พึงพอใจและบันดาลความสุข สุขภาพ และความสมบูรณ์ของเทือกสวนไร่นาให้...
08.11.2021
Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว
ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ...
01.11.2021
Food Story
บะเก่อเออ ภูมิปัญญาผักกาดแห้งคู่ครัวปกาเกอะญอ
จริงอยู่ว่าในทุกชนชาติ ทุกชาติพันธุ์ อาหารคือความสำคัญลำดับต้นๆ ในการดำรงชีวิต แต่หากพูดถึงชาวปกาเกอะญอแล้ว อาหารมีมิติที่ลึกซึ้งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตยิ่งกว่า อย่างเช่นในพื้นที่ของไร่หมุนเวียนที่มีฤดูกาลและผลผลิตเป็นชีพจรสำคัญ ชาวปกาเกอะญอมีระบบการจัดการแหล่งอาหารที่ชาญฉลาด นอบน้อมต่อธรรมชาติ และยั่งยืนสมบูรณ์มากที่สุดอีกระบบหนึ่ง เราเรียกระบบนั้นว่า ‘ไร่หมุนเวียน’ หรือ Rotational Farming ซึ่งเป็นระบบกสิกรรมที่ถูกใช้เป็นลำดับแรกๆ ในวิวัฒนาการขอมนุษย์...
28.09.2020
Food Story
กังปา ถนอมอาหารโดยน้ำค้างและแสงแดดแบบจีนยูนนาน
การถนอมอาหารเป็นองค์ความรู้ที่ถูกสั่งสมมาในทุกสังคม โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยว่าการล้มสัตว์ใหญ่แต่ละครั้งคือการลงทุน จึงต้องเก็บเนื้อสัตว์ไว้บริโภคให้ได้นานแบบไม่มีเหลือทิ้ง ยิ่งกับในอดีตที่เครื่องทำความเย็นหรือตู้เย็นไม่ใช่ของที่พบเจอได้ทั่วไป ดังนั้นเราจึงเห็นอาหารประเภทแฮมหรือเนื้อแห้งแทบทุกวัฒนธรรม แต่ในบรรดาแฮมและเนื้อแห้งของวัฒนธรรมต่างๆ นั้น ฉันบังเอิญสนใจ ‘กังปา’ มากเป็นอันดับต้น เพราะสะดุดหูชื่อ ‘หมูน้ำค้าง’ จากกาดบ้านฮ่อมาตั้งแต่เด็ก กาดบ้านฮ่อ...
03.09.2020
Food Story
อาหารจีนฮ่อ ความอร่อยจากครัวจีนมุสลิม
อาหารจีนกับอาหารมุสลิมหรืออาหารฮาลาล สองขั้วรสชาติที่บางคนอาจคิดว่าไม่น่ามาบรรจบกันได้ อาจด้วยข้อห้ามข้อใหญ่ของอาหารฮาลาลนั้นตรงกับใจความสำคัญในอาหารจีน นั่นคือการมีเนื้อหมูหรือส่วนประกอบของหมูเป็นส่วนผสม กว่านั้นหากพูดถึงภาพใหญ่ของอาหารจีน ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาพร้อมกับวัฒนธรรมการดื่มกิน ที่ดูแล้วค่อนข้างสวนทางกับวิถีมุสลิมอยู่พอสมควร ทว่าถ้าพิจารณาครัวจีนกันชนิดลงรายละเอียด จะพบว่าวัฒนธรรมการกินชาวจีนนั้นหลากหลายเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่นทั่วโลก ด้วยในอดีตจีนติดต่อค้าขายกับหลายชาติพันธุ์ ผ่านพ่อค้าคาราวานบนเส้นทางสายไหมที่เชื่อมร้อยระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่ ตะวันออกกลาง ไปจรดทวีปยุโรป การโอนถ่ายรสชาติและแนวกินจึงเกิดขึ้นตลอดเวลาหลายพันปี ตัวอย่างสะท้อนชัดผ่านอาหารการกินของเมืองหน้าด่านอย่างซีอาน...
30.03.2020
Food Story
‘ต่าจึที’ แกงหม้อนี้ไม่มีน้ำร้อน ภูมิปัญญาปกาเกอะญอ
ความน่าทึ่งอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ทำให้ฉันประทับใจได้เสมอไม่ว่าจะเป็นมนุษย์กลุ่มไหน ก็คือการสรรหาสารพัดวิธีมาดัดแปลงสิ่งรอบตัวให้เป็นอาหารได้ ที่สำคัญคือต้องเป็นอาหารอันเอร็ดอร่อยและตอบโจทย์วิถีที่แตกต่างกันของมนุษย์แต่ละกลุ่ม ในแต่ละเวลา แต่ละสถานที่ แต่ละเงื่อนไข – แม้จะมีข้อจำกัดเต็มไปหมด แต่หากเป็นเรื่องอาหารการกินแล้ว สุดท้ายเราจะเนรมิตสิ่งที่อร่อยและเข้ากับชีวิตของเราได้เสมอ ชาวปกาเกอะญอเป็นกลุ่มคนที่รุ่มรวยองค์ความรู้ในการจัดการแหล่งอาหารมากสุดกลุ่มหนึ่งแบบที่ว่าหากจะเล่าเรื่องอาหารปกาเกอะญอคงต้องขอเวลากันสักเจ็ดวันเจ็ดคืนต่อเนื่อง เพราะชาวปกาเกอะญอใช้ชีวิตอยู่กับป่าและไร่หมุนเวียน สร้างองค์ความรู้ที่สั่งสมตกทอดกันรุ่นต่อรุ่น กลายเป็นวัฒนธรรมอาหารที่แข็งแกร่ง หลากหลาย...
13.09.2019
Food Story
‘เอาะเม ออที’ เข้าใจปกาเกอะญอผ่านอาหารสามจานที่บ้านเล็ก
“ปลาก้างอ้วนพี อยู่ที่ขุนห้วย หากพวกเธอเห็นใจก็หลอมรวมกัน ตัดต้นไม้อย่าตัดถึงต้น เหลือไว้ให้นกพญาไฟพักสักหนึ่งกิ่ง บนขุนเขาห่มผ้าสีแดง บนไหล่เขาห่มผ้าสีแดง แล้วสรรพสิ่งจะอยู่ได้อย่างไร ป่าดิบเขากลายเป็นป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังกลายเป็นป่าแพะ ป่าแพะกลายเป็นป่าห่าง สรรพสิ่งก็จะสูญสิ้น” บทกวีข้างต้นนี้ แปลมาจากบทธาบทหนึ่งของชาวปาเกอะญอ ‘ธา’...
14.08.2019
Food Story
เที่ยวตะจาน สงกรานต์เมียนมาร์(ฉบับฉาบฉวย)
“สงกรานต์กลับบ้านมั้ยเนี่ย” “ไม่ได้กลับค่ะ ว่าจะไปที่อื่น” “เอ้าเหรอ จะไปไหน” “จะไปพม่าค่ะพี่ หนีคนเล่นน้ำ เบื่อ” “เหรอ แต่พม่าก็เล่นน้ำนะ” “…” บทสนทนาสิ้นสุดลงตรงที่ความมึนงงของฉัน ผู้ไม่ประสีประสาและไม่มีความรู้รอบตัวเอาเสียเลย ในทุกๆ สงกรานต์ฉันมักจะลี้ภัยสงครามน้ำไปที่อื่นเสมอ...
30.05.2019
Food Story
‘ข้าวส้ม’ โอนิกิริแบบไทใหญ่
อาหารเหนือขาดถั่วเน่าไม่ได้ฉันใด ครัวไทใหญ่ก็ขาดมะเขือเทศและขมิ้นไม่ได้ฉันนั้น เป็นเรื่องที่ฉันได้เรียนรู้จากการเดินทางไปเยือนเมืองในหมอกอย่างแม่ฮ่องสอนจังหวัดที่มีอัตลักษณ์ชัดเจนลำดับต้นๆ ของไทย ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนขนาดนับล้านไร่และเป็นดินแดนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่มากที่สุดในบรรดาจังหวัดภาคเหนือ หนึ่งนั้นคือ ‘ไทใหญ่’ กลุ่มชาติพันธุ์เก่าแก่ผู้ตั้งรกรากไล่เรื่อยมาตั้งแต่ชายแดนพม่าจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย กระทั่งถึงเชียงใหม่และลำพูน นอกจากความน่าสนใจจะอยู่ตรงวัฒนธรรมผสานกลมกลืนระหว่างพม่าจีนและไทย ยังรวมถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสำรับอร่อยที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารพม่าและจีน ด้วยหนักขมิ้นและติดเค็มเล็กน้อย แตกต่างจากรสนวลนัวแบบอาหารเหนือทั่วไปที่เราคุ้นลิ้น กว่านั้นยังเป็นเหตุผลสำคัญที่ชาวแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่นิยมกิน...
14.05.2019
Food Story
‘ข้าวซอยน้อยป้าป่าง’ ข้าวซอยตำรับไทใหญ่หากินได้แค่ในแม่สาย
แม้จะมีชื่อเรียกเดียวกัน หรือหน้าตาละม้ายคล้ายกันขนาดไหน แต่อาหารหลายชนิดก็กลับมีรายละเอียดและรสชาติต่างกันจนทำให้เราแปลกใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘ข้าวซอย’ ที่นอกจากจะแบ่งรสชาติกว้างๆ ออกได้เป็นข้าวซอยอิสลามน้ำซุปใส หอมเครื่องเทศ และข้าวซอยตำรับล้านนารสกลมกล่อมด้วยกะทิและพริกแกงอุดมสมุนไพร โลกนี้ยังมีอีกหนึ่งข้าวซอยที่ทำให้เราต้องทวนคำกับแม่ครัวหลายครั้งว่าฟังไม่ผิดใช่หรือไม่ จานนั้นคือ ‘ข้าวซอยน้อย’ ของชาว ‘ไทใหญ่’ ชาวไทลื้อ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่นั้นเดิมมีถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน...
21.02.2019
Food Story
เพอรานากัน อาหารฟิวชั่นตำรับเก่าแก่ รสมือแม่จากแดนใต้
อาหารรสมือแม่ในความทรงจำของคุณเป็นแบบไหนคะ? อร่อย อบอุ่น เต็มไปด้วยความใส่ใจ หรือเป็นรสชาติแปลกใหม่แบบกินที่ไหนก็ไม่เหมือน เชื่อไหมคะว่า ถ้าลองถามคำถามเดียวกันนี้กับชาวจีนลูกผสมทางภาคใต้ เราอาจได้คำตอบแทบไม่ซ้ำกันเลยละ ไม่ใช่ว่าอาหารตำรับชาวจีนลูกผสมหรือเพอรานากัน (Peranakan) ที่ตั้งรกรากไล่เรื่อยมาตั้งแต่อินโดนีเซีย มาเลเซีย จนมาถึงทางใต้ของไทยแปลกพิสดารกว่าอาหารชนชาติอื่นแต่อย่างใดนะคะ แต่อาหารตำรับนี้มีรากเหง้าเป็น ‘อาหารฟิวชั่น’...
09.08.2018
Food Story
ตำรับอาหารในไร่หมุนเวียน แบบฉบับ ‘ปกาเกอะญอ’
“ได้ดื่มจากน้ำ ให้รักษาน้ำ ได้กินจากป่า ให้รักษาป่า” คือประโยคเปิดของตำราอาหารปกหนานามว่า ‘ต่า เอาะ เลอ คึ Cooking in the Rotational Farming (อาหารในไร่หมุนเวียน)’...
12.06.2018
Food Story
เมนูลาบแปลกหน้า จากดอยถึงแม่น้ำ
“อะไรก็เอามาทำลาบได้” ปากคำจากนักปรุงลาบมืออาชีพ ต้อม-ณัฐพงศ์ แซ่หู พ่อครัวเจ้าของร้านอาหารอีสานสายแข็ง ‘เผ็ดเผ็ดคาเฟ่’ ยืนยันแบบนั้นเมื่อเราถามว่าจำเป็นไหมที่ลาบต้องทำจากเนื้อสัตว์เช่นหมู วัว หรือควาย เขาบอกด้วยว่าในชีวิตเคยกินลาบแปลกๆ ก็หลายครั้ง ยิ่งสมัยอาศัยอยู่จังหวัดนครพนมบ้านเกิด ที่ๆ มีวัตถุดิบจากท้องนาป่าเขาให้เลือกนำมาปรุงลาบมากมาย ไม่ว่าจะลาบค้างคาว...
15.03.2018
Food Story