Found 9 results for Tag : eat local
กว่าจะเป็น ‘น้ำตาลอ้อย’ หวานหอมจากธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่าน้ำตาลล้วนให้ความหวานแบบไม่ต้องสงสัย หวานมาก หวานน้อย หวานแหลมหรือละมุนก็อยู่ที่ชนิดน้ำตาล เอกลักษณ์ของ ‘กลิ่น’ จึงเป็นสิ่งหนึ่งแยกคุณสมบัติของน้ำตาลที่คนทำอาหารเลือกหยิบมาใช้ เราจึงเดินทางตามหากลิ่นหอมหวานกันที่ ‘โรงหีบอ้อย’ ตำบลหนองบัว จังหวัดจันทบุรี เพื่อเข้าใจที่มาของ ‘น้ำตาลอ้อย’ หรือที่หลายคนเรียกว่า น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโอ้วทึ้ง ให้ความหอมหวานอบอวลในอาหาร ขนม เครื่องดื่มรวมถึงเบเกอรี    ชุมชน ‘หนองบัว’ ชุมชนเล็กๆ ห่างจากตัวเมืองจันท์ราว 10 กิโลเมตร... 05.03.2022 Food Story
รากชู อูมามิริมรั้วบ้าน นอกจากรสเปรี้ยว ขม เค็ม หวาน ‘อูมามิ’ คือศัพท์บัญญัติอธิบายความกลมกล่อมในจานอาหารทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการสกัดกรดกลูตาเมท ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ออกมาเป็นกลูตาเมทอิสระ โดยสกัดจากมันสำปะหลัง ได้เกร็ดผงเรียกว่า ‘ผงชูรส’ ใส่ในอาหารแล้วช่วยดึงรสให้กลมกล่อมขึ้น แต่ก่อนที่โลกจะรู้จักคำว่าอูมามิและรู้จักกับผงชูรส เราต่างเรียนรู้รสชาติอันแสนซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในวัตถุดิบจากธรรมชาติกันมาเนิ่นนานแล้ว ซึ่งรสดังกล่าวที่ได้จากกลูตาเมทนี้ไม่สามารถอธิบายเป็นรสชาติได้ชัดเจน ทว่ารับรู้ได้ถึงความกลมกล่อมเฉพาะในเนื้อสัตว์สุก ถั่ว... 03.02.2022 Food Story
ฤดู ‘ปูแป้น’ ปูสองน้ำที่หนึ่งปีมีให้กินครั้งเดียว มีอาหารสักกี่จานที่ไม่ได้กินมานานปี แต่ยังชัดในความทรงจำทั้งรสชาติและกลิ่น ‘ยำปูแป้นคั่ว’ คือจานนั้นสำหรับฉัน เมื่อถึงฤดูปูแป้นที่หนึ่งปีจะมีให้กินสักหนึ่งครั้งในช่วงปลายฝนต้นหนาว หลังออกพรรษา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ราวเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะพบปูแป้นได้มากสุดเรื่อยไปจนถึงเดือนธันวาคม และเป็นฤดูที่คนจับรวมทั้งคนกินปูแป้นเฝ้ารอ  ถึงปูแป้นจะมีขนาดจิ๋วเล็กกว่าปูแสม แต่ใต้กระดองบางและเปลือกอ่อนตลอดตัวนั้นเต็มไปด้วยเนื้อปู กับมันปูสีเหลืองส้มที่มีมากเฉพาะปูตัวเมีย กินดิบมันปูคลุกข้าวสวย ยิ่งดูดยิ่งมัน มันปูแป้นมีกลิ่นหอมมันเป็นเอกลักษณ์ รสมันจัดไม่มีกลิ่นคาว จึงกินง่ายและอร่อยด้วยตัวมันเองแบบไม่ต้องปรุงแต่งรสให้ซับซ้อน... 25.11.2021 Food Story
ถั่วเน่าซา-ถั่วเน่าเมอะ-ถั่วเน่าบอง ถั่วเน่าหมักสดรสนัวคู่ครัวไทใหญ่ “ถั่วเน่า คือรสชาติของชีวิต” น้ำเสียงหนักแน่นของป้าคำ ชาวไทใหญ่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อธิบายความสำคัญของถั่วเน่าในฐานะเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารการครัวของชาวไทใหญ่จนถึงครัวล้านนา แม้ชีวิตจะต้องจากบ้าน ไปอยู่ต่างเมืองหรือที่ไหนๆ ‘ถั่วเน่า’ ยังคงเป็นเครื่องปรุงที่ชาวไทใหญ่นำติดตัวไปด้วยเสมอ  เกลือ พริก และถั่วเน่า คือสามสิ่งสำคัญในการปรุงอาหารของชาวไทใหญ่ เมื่อเกลือหาได้ทุกที่ พริกหาได้ทุกแห่ง แต่กับถั่วเน่าที่ช่วยชูรส เพิ่มความกลมกล่อมให้อาหารไม่ต่างจากปลาร้าของครัวอีสาน... 11.11.2021 Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว  ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ... 01.11.2021 Food Story
7 ร้านหรอยๆ แบบท้องถิ่นพังงา หากจะทำความรู้จักพังงาผ่านอาหาร แม้จะเป็นการมาเยือนพังงารอบที่สามของฉัน ก็ยังนึกไม่ออกอยู่ดีถ้ามีคนถามว่าอาหารพังงาคืออะไร จะบอกว่าอาหารทะเลสดๆ กับอาหารใต้มุสลิมก็ดูด่วนสรุปแบบแคบๆ ที่หยิบมุมหนึ่งของพังงาครั้งเคยสัมผัสเมื่อหลายปีก่อน ตอนไปเกาะยาวน้อย-ยาวใหญ่ ที่หนาแน่นด้วยชุมชนพี่น้องมุสลิมเป็นหลัก แม้ยังติดใจรสมือของชาวบ้านยามไปฝากท้องมื้อเย็นที่มัสยิดบนเกาะ และของกินเล่นอย่างโรตีชาชักที่หาได้แทบทุกมุมถนน ครั้งนี้ได้พบพี่ชายชาวพังงา ที่จะพาเราทัวร์ทั้งกินเที่ยว เลยถือโอกาสทำความรู้จักพังงาอีกครั้ง ด้วยการตระเวนกินร้านอร่อยที่คนพังงาเขากินกัน ตามไปดูกันค่ะว่าคนพังงาท้องถิ่นจริงๆ... 19.07.2019 Food Story