RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 11 results for Tag :
ประวัติศาสตร์อาหาร
จ่ามงกุฎที่แท้จริงไม่ใช่อย่างที่คิด!
เช้าตรู่วันหนึ่ง ฉันต้องสะลึมสะลือมารับสายเรียกเข้าของ ‘ป้าเต๊ะ’ (ป้าเต๊ะเป็นใคร เดี๋ยวจะเฉลย) ที่โทรมาเพื่อบอกว่า “เมื่อวานป้าลืมบอกหนูเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 น่ะ” ซึ่งฉันก็ตอบไปว่า “อ๋อ หนูเคยอ่านอยู่ค่ะ” บทสนทนาตอนเช้าตรู่นี้เกิดขึ้นหลังจากผู้เขียนได้เดินทางไปพูดคุยกับ ป้าเต๊ะ อรพิน ประชานิยม คุณป้าวัย 71 ที่ยังคงกระฉับกระเฉงและอารมณ์ดี...
10.02.2022
Food Story
สำรับไทย เสน่ห์ของความหลากหลายลงตัวที่กำลังจะหายไป?
พูดถึงวัฒนธรรมการกินของคนไทย ก็คงจะนึกถึงกับข้าวมากมายในหนึ่งมื้ออาหาร ซึ่งอาหารเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการคัดสรรวัตถุดิบและขั้นตอนการทำอย่างละเมียดละไม การมีกับข้าวมากมายในหนึ่งมื้อนั้นเราเรียกว่า ‘สำรับไทย’ แต่เมื่อพูดถึงสำรับไทยในปัจจุบันนี้ เรียกว่าแทบจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากเสียเหลือเกิน เพราะไม่ค่อยมีบ้านไหนลุกขึ้นมาทำอาหารมากมายในคราวเดียวแบบสมัยก่อนแล้ว เว้นแต่บ้านที่อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ จึงยังมีการจัดสำรับกินกันภายในครอบครัว ซึ่งเสน่ห์ของสำรับไทยไม่เพียงความเยอะของกับข้าว แต่ยังเป็นเรื่องการบจับคู่รสชาติความอร่อยของอาหารที่จัดลงสำรับ ที่ทุกๆ จานเมื่อกินด้วยกันแล้ว รสชาติจะส่งเสริมกันเป็นอย่างดี กินไปใช้เวลากับครอบครัวไปในระหว่างกินข้าว ได้พูดคุย...
31.01.2022
Food Story
ข้าวยาคู ขนมสะท้อนวัฒนธรรมและศาสนาที่หากินยาก
เสน่ห์หนึ่งของขนมพื้นบ้านไทย คือความหลากหลายต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ที่จะหยิบจับวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำกิน ขนมจึงสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ผ่านสีสัน รสชาติ หน้าตา กระทั่งกระบวนการทำ บ้างเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาเช่น ‘ขนมข้าวยาคู’ ข้าวยาคู เป็นขนมพื้นบ้านทำกินกันหลายพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าว แต่เดิมทำกินกันปีละครั้งในช่วงที่ต้นข้าวออกรวงหรือเรียกว่าระยะตั้งท้อง เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวอ่อนหรือเรียกว่าข้าวระยะให้น้ำนม โดยเกี่ยวข้าวมาตำนวดทั้งรวง แล้วคั้นเอาน้ำนมข้าวมาเคี่ยวในกระทะ ใส่น้ำตาล จนได้เนื้อข้นเหนียวสีเขียวอ่อนถึงเข้ม...
18.01.2022
Food Story
รู้จักอาหารโบราณ ผ่านหนังสือที่ควรมีไว้ในชั้นหนังสือทุกบ้าน
เมื่อพูดถึงหนังสืออาหาร ใครต่อใครก็พากันนึกถึงตำราอาหาร หนังสือสูตรอาหารไปเสียหมด ทั้งที่ที่จริงแล้วหนังสืออื่นๆ ทั้งสารคดีและเรื่องแต่งก็เก็บรายละเอียดเรื่องอาหารไว้มากมายไม่แพ้กัน แถมหนังสือที่เป็นบันทึก เป็นนวนิยายเหล่านี้ยังอ่านเพลิน อ่านง่าย หยิบมาอ่านได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นคนก้นครัวหรือเป็นแค่นักกินธรรมดาๆ เพราะเรื่องราวของอาหารที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละหน้าล้วนชวนอ่าน ชวนกิน และชวนทำไม่แพ้ตำราอาหารเล่มไหนๆ อ้อ ระหว่างอ่านหนังสือในลิสต์ที่แนะนำนี้ อย่าลืมเตรียมขนมนมเนยไว้ใกล้มืออย่าให้ขาด...
17.01.2022
Food Story
ตำราอาหารในงานศพ บทบันทึกรสชาติชีวิตของผู้วายชนม์
ตู้ไม้ขนาดเล็กมุมหนึ่งในห้องทำงานทีมครัว เรียงรายด้วยหนังสือตำราอาหารเก่าตั้งแต่เห็นปีพิมพ์จนถึงเนื้อกระดาษสีน้ำตาล สลับกับหน้าปกสีฉูดฉาดตามแต่ยุคสมัย ความเก่าของหนังสือทำให้ตู้ไม้เล็กๆ ดูขลัง แต่มีชีวิตชีวาเพราะความอิเหละเขละขละของหนังสือที่ถูกหยิบเข้าหยิบออกตลอด นอกจากตำราเก่าที่ว่าด้วยเรื่องอาหารไทย-เทศ หนังสืองานศพหรือหนังสืออนุสรณ์ของผู้วายชนม์ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกก็ถูกรวบรวมไว้ในตู้ในสถานะคลังข้อมูลชั้นดีแม้มีอยู่ไม่มากเล่ม ด้วยเนื้อหาที่นอกเหนือจากอัตชีวประวัติ ยังเต็มไปด้วยสูตรอาหาร เคล็ดลับในการประกอบอาหารครัวเรือน และสูตรเฉพาะบ้านที่อาจไม่เคยเห็นที่ไหน หนังสืออนุสรณ์งานศพของผู้วายชนม์หรือหนังสืองานศพในภาษาปาก จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2423รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์หลวงแจกจ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพของพระนางเจ้าสุนันทา...
11.01.2022
Food Story
‘ส้มแก้ว’ ใหญ่รองจากส้มโอ โตกว่าส้มเขียวหวาน
ส้มไทยชื่อคุ้นหูมีมากมาย ทั้งส้มเขียวหวาน ส้มบางมด ส้มโอ ส้มตรา ส้มจี๊ด ส้มเช้ง ส้มโชกุน แต่บอกเลยว่านี่แค่ส่วนหนึ่ง เพราะจริงๆ แล้วนั้นยังมีส้มไทยอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่บางชนิดก็สูญหายไป บางชนิดก็หาได้ค่อนข้างยากแล้วในปัจจุบัน อย่างส้มตรังกานู ส้มจุก ส้มเกลี้ยง มะกรูดหวาน...
06.01.2022
Food Story
ขนมปังปี๊บ รสชาติที่ผูกพันในทุกช่วงเวลา
ช่วงสิ้นปี สำหรับคนทำงานถือเป็นช่วงเวลาที่มีไฟขยันขันแข็งเคลียร์งาน เพื่อใช้สมองอันปลอดโปร่งไปกับวันหยุดยาว เสพบรรยากาศ festive เป็นเวลาแห่งความสุขและเต็มไปด้วยบรรยากาศของการแบ่งปัน มอบของขวัญ จับฉลากแลกของขวัญ พลันให้ฉันนึกถึง ‘ขนมปังปี๊บ’ ขึ้นมา นานแล้วที่ไม่ค่อยเห็นคนซื้อขนมปังปี๊บมาจับฉลากของขวัญ ในวัยเด็กจำได้ว่า นอกจากคุกกี้กล่องแดง กล่องน้ำเงิน ปีโป้ ขนมปังปี๊บก็เป็นของขวัญในหมวดขนมยอดนิยม...
21.12.2021
Food Story
การเดินทางของขนมจีน-ข้าวปุ้น-ขนมเส้น
เมื่อถึงวาระที่ต้องเขียนเรื่องอาหารท้องถิ่น ฉันมองหาเมนูที่อยากหยิบมาเล่าถึงไปเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งมาสะดุดกับเมนูขนมจีนเข้าจึงนึกสงสัยว่า ขนมจีนนี้ช่างประหลาด เพราะเป็นอาหาร ‘ท้องถิ่น’ ไปเสียหมดทุกถิ่น ไม่ว่าจะเหนือ กลาง อีสาน ใต้ คนทุกภาคทุกที่ต่างกินขนมจีนด้วยกันทั้งสิ้น และที่ประหลาดไปกว่านั้นก็คือ คนแต่ละถิ่นก็มีตำรับขนมจีนที่ต่างกัน เส้นแป้งข้าวเจ้าที่เราเรียกกันว่าขนมจีนนั้น...
22.11.2021
Food Story
มัศกอด คัพเค้กโบราณแสนน่ารัก
“มัสสะกอด กอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถามกอดเคล้นจะเห็นงาม ขนมนามนี้ยังแคลง” กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 นอกจากเป็นบทพรรณนาถึงคนรัก ยังเป็นบันทึกอาหารแห่งยุคสมัย และหลายชนิดที่เลือนรางไปกับยุคสมัยก็ชวนให้เราสงสัยว่าหน้าตา รสชาติ อาหารเหล่านั้นเป็นอย่างไร เช่น ‘มัสสะกอด’ หรือ ‘มัศกอด’ ที่ไม่ได้เอ่ยถึงรายละเอียดใดๆ นอกจากทิ้งปริศนาเรื่องชื่อ ชวนให้เราคลางแคลงคล้อยตามบทประพันธ์ ‘ขนมนามนี้ยังแคลง’ ว่ากันว่า ‘มัศกอด’ นี้ได้รับอิทธิพลมาจากแขกเปอร์เซีย ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี...
13.10.2021
Food Story
น้ำพริกลงเรือตำรับเก่า ของเหลือติดครัวไทย หยิบมาปรุงใหม่ให้อร่อย
น้ำพริกลงเรือ เรียกว่าเป็นน้ำพริกชาววัง เกิดขึ้นในรั้ววังสวนสุนันทา โดยมีบันทึกในเอกสารหนังสือพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ในบันทึกนั้นระบุไว้ว่า สมเด็จหญิงน้อย (สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล) มีพระประสงค์ล่องเรือไปตามคูคลองในเขตอุทยานวังสวนสุนันทา จึงรับสั่งให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับหาเครื่องเสวยที่เหลืออยู่ในครัว เพื่อนำลงเรือไปเสวยด้วย ของคู่ครัววังที่มีอยู่ตลอดก็คือน้ำพริกกะปิ หมูหวาน ปลาฟู ไข่แดงเค็ม...
31.08.2021
Food Story
ฮิยะ โซเมน หมี่เย็นยอดนิยมประจำฤดูร้อนของญี่ปุ่น
คนไทยชวดการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่สากลปี 2021 ไปเพราะโควิดระบาดรอบ 2 จากศูนย์กลางแรงงานชาวเมียนมาที่สมุทรสาคร หลังจากพอสงบลงแล้ว พวกเขาต่างหวังใจว่าเทศกาลปีใหม่ไทยเดือนเมษายน จะชดเชยได้ แต่แล้วก็ต้องผิดหวังคำรบสอง เมื่อเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 รอบ 3 ที่รุนแรงกว่า 2 รอบก่อนอย่างมาก...
17.06.2021
Food Story