RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 28 results for Tag :
หนังสือ
‘น้ำพริก มรดกรสแห่งเครื่องจิ้ม’ หนังสือรวมเรื่องเล่ารสเผ็ดนัวทั่วไทย โดย อนุสรณ์ ติปยานนท์
อนุสรณ์ ติปยานนท์ หรือที่นักอ่านเรียกกันติดปากว่า อาจารย์ต้น เป็นหนึ่งในนักเขียนอาหารที่ผลิตผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งงานวรรณกรรมและงานสารคดี การคลุกคลีคุ้นเคยอยู่กับเรื่องปากะศิลป์จนถูกเรียกว่าเป็น Food Activist ทำให้มุมมองของอนุสรณ์มีทั้งความลุ่มลึกและละเมียดละไม ในขณะเดียวกันก็มีสายตาทีมองเห็นวีถีของผู้คนทั้งในวังและในบ้าน เมื่ออาจารย์ต้นเขียนหนังสือว่าด้วยอาหารก้นครัวอย่าง ‘น้ำพริก’ ฉันจึงจำเป็นต้องมีไว้ในครอบครองโดยไว ทั้งในฐานะนักอ่านและในฐานะคนรักน้ำพริก...
09.03.2025
Food Story
Thai Fish Book หนังสือปลาไทยจากยอดฝีมือ อ่านแล้วจะสนุกกับการกินปลาไทยขึ้นอีกเยอะ
ในฐานะของคนที่ทำทั้งสื่อออนไลน์และหนังสืออาหาร เมื่อใดก็ตามที่เห็นหนังสืออาหารดีๆ ที่เขียนเรื่ององค์ความรู้ว่าด้วยอาหารไทย วัตถุดิบท้องถิ่น ผ่านฝีมือคนไทยที่ตั้งใจทำมากๆ เราก็อดไม่ได้ที่จะต้องซื้อมาวางไว้ให้เป็นเกียรติเป็นศรีกับชั้นหนังสือ แม้จะรู้ว่าเราคงไม่ได้เปิดตำรามาทำอาหารตามสูตรในเล่มบ่อยๆ ก็ตาม Thai Fish Book ก็เป็นตำราอาหารอีกเล่มที่จัดอยู่ในหมวดนั้นค่ะ หนังสือเล่มนี้เป็นตำราปลาไทยที่รวบรวมข้อมูลเอาไว้มากกว่า 130 โดยฝีมือของเชฟอ๊อบ...
05.03.2024
Food Story
มนต์เสน่ห์อาหารจีนเลิศรสจากหนังสือ ตำรับเด็ด เยาวราช
‘อาหารจีน’ มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี เป็นอาหารที่เปรียบดั่งยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย ในขณะเดียวกันก็อร่อย หลากหลาย และได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยว่าชนชาติจีนเมื่อเดินทางอพยพย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากในหลายพื้นที่ทั่วโลก ก็นำเอาวัฒนธรรมอาหารติดตัวไป จนแพร่กระจายไปทั่วอุษาคเนย์ยาวไปจนถึงโลกตะวันตก รวมทั้งประเทศไทยเรา โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เยาวราช ศูนย์รวมความอร่อยที่ไม่เคยหลับใหล เยาวราช ไชน่าทาวน์ขนาดใหญ่ของประเทศไทย...
02.02.2024
Cooking
อาหารอีสาน หนังสือสารคดีและสูตรอาหาร ที่เล่าเรื่องแนวกินบ้านเฮาจนน้ำลายแตกซะซะ
หาง่าย ปรุงง่าย กินง่ายหัวใจสำคัญของอาหารอีสาน วัฒนธรรมอีสานคือวัฒนธรรมแห่งความเรียบง่าย ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์และโอบรับความเป็นไปรอบตัวได้อย่างน่านับถือ เพลงอีสานแม้อกหักคร่ำครวญเพียงใดก็ไม่เคยซังกะตายไร้ชีวิตชีวา อาหารอีสานเองก็เป็นเช่นนั้น ท่ามกลางความจำกัดจำเขี่ยของทรัพยากรและพื้นที่ ชาวอีสานก็ยังสามารถเนรมิตรอาหารรสโอชาขึ้นมาได้มากมาย อาหารอีสานอย่างส้มตำ ก้อย หรือซอยจุ๊ พลิกผันกลับมาเป็นเมนูยอดนิยมในปัจจุบัน พร้อมๆ กับ...
08.01.2024
Cooking
ลองทำ ‘เจลลีคอฟฟี่’ ตามสูตร My Tokyo Café หนังสือรวมความอร่อยของ ‘บิ๊มกินแหลก‘
ฉันเห็นคอมเมนต์แฟนเพจหลายคนที่ทำอาหารและขนมตามสูตรหนังสือ My Tokyo Café ของเชฟบิ๊ม หรือบิ๊มกินแหลกล้างโลก มายืนยันว่าแต่ละสูตรนั้นอร่อย เปิดโลก เพราะเป็นสูตรที่เชฟบิ๊มได้ไปตระเวนกินตามคาเฟ่เมืองต่างๆ ของญี่ปุ่นแล้วเกิดหลงใหลในรสอร่อยขึ้นมา จึงคัดสรรและรวบรวมสูตรเหล่านี้ไว้ในหนังสือกว่า 22 สูตร แล้วจะพลาดเล่มนี้ไปได้ยังไง เลยขอลองทำขนมเจลลีคอฟฟี่ ตามสูตรเชฟบิ๊มดูบ้าง ยิ่งพอนึกว่ามันเป็นเมนูเดียวกับที่คาเฟ่ญี่ปุ่นเขาขาย แต่ฉันทำกินเองที่บ้านได้ มันว้าวมาก...
28.12.2023
Cooking
ชวนอ่าน Writer’s Taste หนังสือที่จะทำให้คุณอร่อยกับเบียร์ได้มากกว่าที่เคย
หนังสือ Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์ (New Edition)ผู้เขียน อุทิศ เหมะมูลพิมพ์ครั้งที่ 2 (ครบรอบ 10 ปี) มิถุนายน...
07.08.2023
Food Story
4 หนังสือกรุ่นกลิ่นชา ที่เราอยากให้คุณได้อ่าน
นอกจาก You are what you eat. แล้ว ฉันเชื่อว่า You are what you read. ก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ เคยไหมคะเวลาอ่านหนังสือที่มีเมนูอะไรเราก็จะนึกอยากทำหรืออยากกินเมนูนั้นๆ...
06.09.2022
Food Story
รู้จักอาหารโบราณ ผ่านหนังสือที่ควรมีไว้ในชั้นหนังสือทุกบ้าน
เมื่อพูดถึงหนังสืออาหาร ใครต่อใครก็พากันนึกถึงตำราอาหาร หนังสือสูตรอาหารไปเสียหมด ทั้งที่ที่จริงแล้วหนังสืออื่นๆ ทั้งสารคดีและเรื่องแต่งก็เก็บรายละเอียดเรื่องอาหารไว้มากมายไม่แพ้กัน แถมหนังสือที่เป็นบันทึก เป็นนวนิยายเหล่านี้ยังอ่านเพลิน อ่านง่าย หยิบมาอ่านได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นคนก้นครัวหรือเป็นแค่นักกินธรรมดาๆ เพราะเรื่องราวของอาหารที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละหน้าล้วนชวนอ่าน ชวนกิน และชวนทำไม่แพ้ตำราอาหารเล่มไหนๆ อ้อ ระหว่างอ่านหนังสือในลิสต์ที่แนะนำนี้ อย่าลืมเตรียมขนมนมเนยไว้ใกล้มืออย่าให้ขาด...
17.01.2022
Food Story
ตำราอาหารในงานศพ บทบันทึกรสชาติชีวิตของผู้วายชนม์
ตู้ไม้ขนาดเล็กมุมหนึ่งในห้องทำงานทีมครัว เรียงรายด้วยหนังสือตำราอาหารเก่าตั้งแต่เห็นปีพิมพ์จนถึงเนื้อกระดาษสีน้ำตาล สลับกับหน้าปกสีฉูดฉาดตามแต่ยุคสมัย ความเก่าของหนังสือทำให้ตู้ไม้เล็กๆ ดูขลัง แต่มีชีวิตชีวาเพราะความอิเหละเขละขละของหนังสือที่ถูกหยิบเข้าหยิบออกตลอด นอกจากตำราเก่าที่ว่าด้วยเรื่องอาหารไทย-เทศ หนังสืองานศพหรือหนังสืออนุสรณ์ของผู้วายชนม์ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกก็ถูกรวบรวมไว้ในตู้ในสถานะคลังข้อมูลชั้นดีแม้มีอยู่ไม่มากเล่ม ด้วยเนื้อหาที่นอกเหนือจากอัตชีวประวัติ ยังเต็มไปด้วยสูตรอาหาร เคล็ดลับในการประกอบอาหารครัวเรือน และสูตรเฉพาะบ้านที่อาจไม่เคยเห็นที่ไหน หนังสืออนุสรณ์งานศพของผู้วายชนม์หรือหนังสืองานศพในภาษาปาก จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2423รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์หลวงแจกจ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพของพระนางเจ้าสุนันทา...
11.01.2022
Food Story
กรุ่นกลิ่นอาหารบ้านๆ ผ่าน ‘จดหมายจากสันคะยอม’
คุณลักขณา ปันวิชัย หรือที่เหล่าแฟนคลับเรียกกันว่า ‘พี่แขก’ เป็นคนที่ฉันยกย่องว่ามีฝีไม้ลายมือน่าประทับใจ ทั้งเรื่องการเขียนและการครัว เด็กๆ และวัยรุ่น (ไปจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย) ผู้มีใจฝักใฝ่การเมืองมักรู้จักเธอในนาม ‘เครื่องด่า’ ด้วยฝีปากที่น่าประทับใจไม่แพ้ฝีไม้ลายมือ ส่วนนักอ่านรุ่นกลางคนขึ้นไป หรือนักอ่านรุ่นเล็กที่เติบโตมากับกองหนังสือมือสองอย่างฉัน น่าจะรู้จักเธอในฐานะของคอลัมนิสต์มาก่อน...
03.09.2021
Food Story
อ่านเพลิน อิ่มท้อง เดตกับหนอนหนังสือ ไปร้านไหนดี?
การสบตากันครั้งแรกสร้างแรงกระเพื่อมให้หัวใจฉันใด เดตแรกก็สร้างแรงดึงดูดในความสัมพันธ์ได้ฉันนั้น การเริ่มต้นเดตแรกจึงเป็นเรื่องที่หนุ่มสาวให้ความสำคัญแบบต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะนัยหนึ่งก็เป็นการเดาใจอีกฝ่ายว่าจะนิยมชมชอบกันได้ขนาดไหน ในขณะเดียวกันก็เป็นโมงยามเริ่มต้นที่ต่างฝ่ายต่างจะได้เรียนรู้กันและกันด้วย ดูหนัง ฟังเพลง หรือกินข้าว เป็นกิจกรรมกุ๊กกิ๊กอันดับแรกที่คิดออกแน่นอน แต่หากทำการบ้านมาล่วงหน้าแล้วรู้ว่าคู่เดตของเราเป็นนักอ่านตัวยง โปรดอย่าลังเลที่จะนัดเขาหรือเธอไปที่ร้านหนังสือ เพราะการรู้จักหนังสือที่ใครสักคนเลือกอ่าน คือการรู้จักโลกส่วนตัวใบใหญ่ยักษ์ของคนคนนั้น นอกจากจะมีเรื่องให้พูดคุยแลกเปลี่ยนที่ลึกซึ้งมากขึ้นแล้ว การแลกหนังสือกันในเดตแรกก็เป็นของขวัญวันเดตที่ชุ่มฉ่ำหัวใจไม่น้อยเลยทีเดียว...
31.07.2020
Food Story
‘มะม่วงฉุน’ จานเรียกน้ำลายตำรับ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์’
หนังสือ: อาหารบ้านท้ายวัง ผู้เขียน: รงค์ วงษ์สวรรค์ เมนู: มะม่วงฉุน ถ้าครัวฝรั่งมีพลัมเป็นผลไม้ในสวนหลังบ้าน ครัวไทยเราก็คงหนีไม่พ้นมี ‘มะม่วง’ เป็นผลไม้ประจำบ้านที่เราคุ้นเคย อาจเพราะมะม่วงเป็นได้ทั้งของกินเล่น อาหารหวาน อาหารคาว แถมยังมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูกเลือกชิมกันไม่หวาดไม่ไหว...
22.04.2020
Food Story
‘กุ้งเผาสะเดาลวก’ ตำรับนักเขียนซีไรต์ วาณิช จรุงกิจอนันต์
หนังสือ: ต้มยำทำแกง คลุกเคล้าเข้าครัวกับวาณิช ผู้แต่ง: วาณิช จรุงกิจอนันต์ เมนู: กุ้งเผาสะเดาลวก ในทำเนียบนักเขียนสายอาหารของบ้านเรานั้น ชื่อของวาณิช จรุงกิจอนันต์ปรากฏอยู่ลำดับต้นๆ เสมอมา แม้นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2526 คนนี้จะจากโลกไปนานนับทศวรรษ...
19.03.2020
Food Story
แกงกะทิยอดมะขามหมูย่างจาก ‘แกงไทย’ by เชฟน่าน
ผมเป็นคนที่ชอบกินอาหารไทยเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งเป็นจานอาหารไทยที่หากินยากยิ่งโปรดปรานไปกันใหญ่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาหารไทยโบราณไม่ได้หากินง่ายเหมือนเมื่อก่อน ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่ก็มักจะนำเสนอเฉพาะเมนูอาหารไทยที่เป็นที่นิยม ครั้นจะหาของโบราณกินก็ยาก ต้องดั้นด้น ก็เลยถือโอกาสทำกินเองซะเลย โดยมากถ้าไม่รู้ว่าจะทำอะไรกินดี หนังสือตำราอาหารถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผม ที่จะเปิดผ่านๆ ตาเพื่อให้เจอจานอาหารที่อยากทำ ผมมีหนังสือตำรา ‘แกงไทย’ เล่มหนาอยู่เล่มหนึ่งเลยถือโอกาสนั่งเปิดเล่นๆ เผื่อจะเจอเมนูเด็ดเอาไปลองทำให้ครอบครัวกินดูในช่วงสุดสัปดาห์...
26.02.2020
Cooking
เค้กช็อกโกแลตลาวาจาก Small Kitchen Cookbook
การทำเบเกอรีสำหรับคนที่มีแค่ไมโครเวฟหรือเตาติ๊งเพียงอันเดียวดูจะเป็นไปไม่ได้เลยใช่ไหม ทำไมคิดอย่างนั้นล่ะ แม่บ้านญี่ปุ่นที่มีครัวเล็กๆ พอกระดิกตัวยังสามารถทำอาหารออกมาได้หลากหลายให้สามีและลูกกิน ดังนั้นส่วนตัวฉันจึงคิดว่าเรื่องขนาดของครัว หรือกระทั่งอุปกรณ์ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่อยู่ที่การจัดการและการประยุกต์สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในครัวแคบๆ ของคุณต่างหาก ฉันเองเป็นคนชอบทำอาหารอยู่แล้ว จึงใช้ชีวิต 70% อยู่ในห้องครัว หม้อ...
17.02.2020
Cooking
ขนมพล๊าสติก ครองแครงแปลงร่างอย่างหรู
หนังสือ: ตำรากับข้าวชูรสและของหวานแบบประหยัด (2512) ผู้แต่ง: อนงค์นาฏ พวงพยอม เมนู: ขนมพล๊าสติก ในบรรดาตำราอาหารที่เราหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นช่วงนี้ต้องยอมรับตามตรงว่ายังไม่พบตำราใดที่ ‘สนุกถูกใจ’ เท่ากับเล่มนี้ ความสนุกที่ไม่ใช่แค่เรื่องของมุมมองหรือทักษะภาษาแต่รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ในการหยิบจับวัตถุดิบอย่างไทยมาปรุงเปลี่ยนเป็นจานอร่อยที่ไม่น้อยหน้าอาหารชาติไหน โดยเฉพาะในโมงยามที่ครัวไทยทะลักล้นด้วยรสชาติอย่างฝรั่ง ดังที่อนงค์นาฏ พวงพยอม...
27.11.2019
Food Story
“ขนมเบื้องทำด้วยปากยากอะไร” ศึกสองเมียที่ทำจมื่นไวยบ้านแตก
ราชบัณฑิตยสภาได้ให้ความหมายของสำนวนนี้ไว้อย่างสั้นง่ายแต่ได้ใจความ เมื่อยังเล็กฉันนึกสงสัยว่าการละเลงขนมเบื้องโดยใช้ปากมันง่ายตรงไหน หน้าคงต้องแนบไปกับกระทะร้อนๆ จนไหม้พองน่ากลัว จนเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยจึงได้เข้าใจว่าการละเลงขนมเบื้องด้วยปากในที่นี้ไม่ใช่การใช้ปาก (จริงๆ) ในการละเลงขนมเบื้อง แต่เป็นการใช้คำพูดทำงานแทนนั่นต่างหาก (พุทโธ่พุทถัง ฉันในวัยเด็กนี่นับเป็นคนความคิดพิลึกพิลั่นใช้ได้เลยล่ะ) ขนมเบื้องเป็นขนมไทยโบราณ ในอดีตมีหน้าขนม 2 แบบ เรียกว่าหน้าหวานและหน้าเค็ม...
19.11.2019
Food Story
เข้าครัวกับตำราอาหาร – กรณีหมูเปรี้ยวหวาน อาหารจีนขั้นเทพ
สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เข้าครัวฝึกทำอาหารที่บ้านตั้งแต่ยังเล็ก หากมาเริ่มตอนโตแล้ว เหตุจูงใจมักมาจากความจำเป็นและเงื่อนไขทางสังคม พื้นฐานเลยคือมีอันต้องอยู่ไกลบ้าน ทำอาหารตอนโตจึงขาดครู ต้องอาศัย recipe หรือตำรับอาหารช่วยกำกับ บางคนโชคดีไหว้วานให้แม่พ่อ พี่ป้าน้าอา ช่วยบอกสูตรให้ แต่หลายคนก็ได้สูตรมาจากหนังสือตำราอาหาร ซึ่งเคยเป็นเงื่อนไขให้ธุรกิจพิมพ์ตำราอาหารเฟื่องฟูอยู่หลายสิบปี ก่อนจะถูก disrupt...
08.11.2019
Food Story
ถอดรหัส ‘อาหารว่างไทย’ จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์ที่ผู้เขียนเองได้ร่ำเรียนมาในคาบภาษาไทยตั้งแต่สมัยวัยละอ่อน และเชื่อว่าหลายคนต้องเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ในตอนนั้นจำได้เพียง…นั่งอ่านจนท้องร้องกันเป็นแถวๆ ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ของว่าง แถมยังมีผลไม้อีก เรียกว่าจัดสำรับขึ้นโต๊ะได้เลย กาพย์เห่นี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการแต่งบทกวีได้อย่างไพเราะ โดยมีการรำพึงรำพันสื่อถึงความในพระราชหฤทัยทั้งสุขและโศกเศร้าของพระองค์ให้กลมกลืนไปกับอาหารแต่ละชนิดได้อย่างมีเสน่ห์ ทั้งยังอุปมาอุปไมยเชื่อมโยงอาหารกับนางอันเป็นที่รักของพระองค์ (สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี...
08.11.2019
Food Story
บทเรียนชีวิตของนักศึกษาวิชาอาหาร – ชยานันท์ เมฆสุด
ไม่มีใครตอบได้ว่าในชีวิตหนึ่งคนเราจะต้องเลือกเปลี่ยนเส้นทางเดินกันกี่ครั้ง อาจเป็นเพราะชีวิตของแต่ละคนมีสูตรไม่ตายตัว มีจังหวะและโอกาสที่จำเพาะเจาะจงแตกต่างกัน หรืออาจเป็นเพราะว่าจริงๆ แล้วคำถามเชิงปริมาณอาจไม่สำคัญเท่าคำถามเชิงคุณภาพที่ว่า การตัดสินใจเลือกแต่ละครั้งให้อะไรกับชีวิตเราบ้าง? เช่นเดียวกับบทสนทนาระหว่างเราและนักเขียนใหม่หมาด ชยานันท์ เมฆสุด ผู้ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาวิชาอาหาร และปัจจุบันทำแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ การเลือกกระโดดไปมาระหว่าง 3 อาชีพนี้ (ที่ดูจะไม่เข้ากันเลย)...
25.10.2019
Food Story
1
2
Next