Found 15 results for Tag : ขนมไทยโบราณ
ขนมมันสำปะหลังวัตถุดิบน้อยอร่อยด้วยความเรียบง่าย ‘ขนมมันสำปะหลัง’ เป็นขนมไทยพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ถ้าเห็นว่าร้านไหนทำมาขายเป็นต้องหยิบซื้อ ถึงจะหากินไม่ยากขนาดว่าต้องดั้นด้นตามหา เป็นขนมที่ยังไม่ถึงกับสูญหาย แต่น้อยร้านที่จะทำมาขายหากเทียบกับขนมไทยยอดนิยมอย่างขนมชั้น ขนมหม้อแกง สังขยา ขนมตระกูลทองที่หากินได้เกือบทุกร้านขนมไทย  สัมผัสนุ่มหนึบ มัน หวานอ่อนๆ ตัดกับรสเค็มปะแล่มที่ได้จากมะพร้าวทึนทึกขูด คือรสอร่อยเรียบง่ายที่ใครหลายคนกินแล้วติดใจ ความที่ไม่หวานโดดและสัมผัสหนึบเคี้ยวอร่อยเลยเป็นขนมที่กินเพลินมาก หยิบกินได้เรื่อยๆ... 21.03.2024 Food Story
‘ข้าวตังเสวย’ ขนมไทยโบราณที่ต้องใช้ใจทำ คนรอบข้างเกินกว่าครึ่งไม่มีใครรู้จัก ‘ข้าวตังเสวย’ รวมถึงฉัน หลังโดนน้องที่ทำงานป้ายยาว่ามันอร่อยนักอร่อยหนา กรอบ หวาน เค็ม มัน หอม กินเพลินติดใจจนเธอต้องสั่งออนไลน์มากินประจำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่มีที่ให้ซื้อกิน จนฉันเองเริ่มคล้อยตาม ในเมื่อไม่รู้จักเลยขอไปดูให้เห็นกับตาที่ ‘ร้านข้าวตังแม่ณี’ จังหวัดนนทบรี ดูว่าความอร่อยของข้าวตังเสวยมาจากไหน และกว่าจะเป็นข้าวตังกรอบสวยสักแผ่นเขาทำกันอย่างไร ข้าวตังเสวยเป็นอาหารว่างไทยโบราณ ทำจากข้าวหรือข้าวต้มเหลือๆ เอามาโม่ หนีบให้เป็นแผ่น ปรุงรสให้ออกหวานๆ เค็มๆ แต่เดิมทำกินกันในรั้วในวัง จึงเป็นที่มาของชื่อข้าวตังเสวย บ้างก็เรียกข้าวตังทรงเครื่องปัจจุบันข้าวตังเสวยอาจหากินยาก แต่ก็พอเห็นวางขายตามร้านของฝากหรือร้านขายเบเกอรีอยู่บ้าง เช่นข้าวตังเสวยจากร้านแม่ณี ที่มีร้านขนม ร้านของฝากจากกรุงเทพฯ และทั่วประเทศรับไปวางขาย พี่ปราณีกับพี่วัฒน์ เป็นเจ้าของร้านข้าวตังแม่ณี ทำข้าวตังเสวยมาแล้วกว่า 10 ปี เรามาถึงที่ร้านแต่เช้าตรู่หน้าบ้านเปิดโล่งเตาขนมเรียงรายนับ 10 เตา พี่วัฒน์ทักทายเราด้วยข้าวตังเสวยคนลนละแผ่นยื่นให้ลองชิมก่อนจะไปดูว่าทำอย่างไรต้องรู้เสียก่อนว่ารสชาติเป็นอย่างไร ข้าวตังแผ่นกลมใหญ่ สีเหลือง บาง มีกุ้งแห้งอยู่สี่ห้าตัว กับผักชีหนึ่งต้น สวยดูราวกับถูกจัดวาง ข้าวตังแผ่นบาง กรอบ หวานๆ เค็มๆ หอม พอเป็นข้าวเลยได้รสมันนิดๆ เวลาเคี้ยว เข้าใจแล้วว่าทำไมกินแล้วติดงอมแงม เพราะยิ่งเคี้ยวยิ่งเพลินกินได้เรื่อยๆ กวนข้าวให้ข้นเหนียว หัวใจของการทำข้าวตั้งเริ่มตั้งแต่การคัดข้าวเพื่อเอามาต้ม ใช้ปลายข้าวหอมมะลิใหม่ที่มียางเหนียวประมาณ 15 กิโลกรัม ต้มในหม้อใบใหญ่ ก่อนต้มข้าวจะแช่ข้าวในน้ำไว้ 1 ชั่วโมง และเริ่มเปิดเตาต้มข้าวตอนตี 4 ของทุกวัน โดยตั้งน้ำให้เดือด เอาปลายข้าวที่แช่แล้วใส่ลงในหม้อน้ำเดือด กวนให้ข้าวสุกพองจนเริ่มงวด ใส่น้ำใบเตยคั้นลงไป และใช้ไม้พายกวนทุกๆ 10 นาที กวนเรื่อยๆ ราว 3 ชั่วโมง จนได้ข้าวเหนียวข้นได้ที่   “ขั้นตอนต้มข้าวสำคัญมากถ้าเราต้มข้าวไม่ดี ไม่เหนียวพอ เวลาเอามาละเลงบนเตาหนีบ จะแตก ไม่เป็นแผ่นกลมสวย เลยต้องคัดเอาปลายข้าวหอมมะลิที่มีความเหนียว เริ่มแรกเราใช้หลายยี่ห้อมาก ลองผิดลองถูกจนมาเจอยี่ห้อนี้ที่ปลายข้าวให้ยางดีก็ใช้มาสิบกว่าปีแล้วไม่เคยเปลี่ยน” – – – พี่วัฒน์อธิบายพร้อมให้เราดูข้าวที่กวนเสร็จแล้ว ทำแผ่นดิบและลวดลายหน้าขนม ถัดมาคือขั้นตอนทำแผ่นดิบและเติมหน้าขนม เป็นหน้าที่ของพี่น้อย คนงานเพียงคนเดียวที่ทำขนมขนมอยู่กับพี่ปราณีมากว่า 10 ปีจนชำนาญและได้รับมอบหมายให้ดูแลหน้าเตา เหมาคนเดียว 12 เตา วัตถุดิบหลักคือข้าวกวน ผักชีเด็ดก้านสวย เลือกใช้ผักชีไทยให้กลิ่นหอม ถ้าช่วงไหนผักชีไทยใบไม่สวยจะใช้ผักชีจีน และกุ้งแห้งไซส์กลางที่ต้องใช้มีดหั่นครึ่งทีละตัว ถ้าหากใส่ทั้งตัวจะหนาเกินไปและทำให้แป้งไม่แห้งสนิท พี่น้อยตักข้าวกวน 1 ทัพพีใส่บนแป้นเตาหนีบเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ไล่เตาไปเรื่อยๆ และหันกลับมาเติมหน้าข้าวตังดัวยผักชี คัดเอาเฉพาะก้านใบสวยสมบูรณ์ ไม่ช้ำ ไม่ขาด วางลงไป ตามด้วยกุ้งแห้งผ่าครึ่งตัววางลงไปประมาณ 4-5 ตัว แล้วปิดฝาหนีบลงมา ใช้เวลาราว 10 นาที เทียวเปิดดู ถ้าใกล้สุกจะเริ่มเห็นขอบล่อน ต้องคอยหมุนแผ่นแป้งไปมาให้สุกทั่วถึง ขยับแผ่นแป้งให้เตาหนีบขอบรอบแป้งเพื่อให้มั่นใจว่าสุกทั่วทั้งแผ่น ความสุกและความสวยเป็นเรื่องสำคัญมากในขั้นตอนนี้ พี่น้อยจะเลือกผักชีทีละต้น ถ้าผักชีก้านไหนไม่สวยก็คัดออก จังหวะที่พี่น้อยสะบัดก้านผักชีลงไป และตามด้วยกุ้งแห้ง เหมือนกำลังดูพี่น้อยสะบัดแปรงแต้มสีบนแผ่นกระดาษอย่างกับจิตกร ระหว่างที่เราส่งเสียงฮือฮากับลีลาทำขนม พี่น้อยก็หันมาย้ำว่า “ขนมทำยาก ต้องดูไฟให้ดี ดูว่าสุกทั่วถึงกันมั้ย ทำงานจนตั้งชื่อลูกว่าข้าวตังแล้ว” จังหวะสะบัดก้านผักชีนั้นมีเหตุผล ใช่ว่าจะทำเอาลีลาแต่ช่วยให้รู้ว่าเตาไหนไฟร้อนหรือเบา น้ำจากก้านผักชีที่กระเด็นโดนเตา จะดังฉ่า ถ้าเสียงฉ่าดังมากแสดงว่าเตานั้นไฟแรงกว่าเพื่อนก็จะเปิดเช็กความสุกเป็นเตาแรกๆ แผ่นข้าวที่สุกดีแล้วจะบาง ขอบเรียบ เรียกแผ่นข้าวนี้ว่า ‘แผ่นดิบ’ แต่งรสให้เค็มหวานด้วยน้ำเชื่อมปรุงรส แผ่นดิบที่เย็นแล้วจะนำมาทาน้ำเชื่อมทีละแผ่น ส่วนผสมของน้ำเชื่อมมีน้ำตาลทรายแดง เกลือ รากผักชีนิดหน่อย เคี่ยวให้ได้รสเค็มหวานหอมรากผักชีอ่อนๆ ขั้นตอนทาน้ำเชื่อมพี่ปราณีจะใช้ฝ่ามือทาน้ำเชื่อมทีละแผ่น เพราะต้องสัมผัสแผ่นขนมให้รู้ว่าแต่ละแผ่นหนาบางประมาณไหน หากแผ่นไหนที่หนากว่านิดก็จะทาน้ำเชื่อมมากขึ้นให้พอดีกับแผ่นแป้ง  ... 13.11.2023 Food Story
‘โสมนัส’ ขนมอบไทยยุคแรก หวานอ่อน หอมมะพร้าวคั่ว ครั้งหนึ่งที่ไปอัมพวา พี่เจ้าของร้านขนมไทยที่ตลาดน้ำอัมพวายื่น ‘ขนมโสมนัส’ ให้เราลองกิน และเล่าว่าเป็นขนมอบยุคแรกเริ่มของไทยทำจากไข่ขาวกับน้ำตาลและมะพร้าวคั่ว สืบสาวราวเรื่องย้อนไปไกลสมัยพระณารายณ์มหาราชกันเลยทีเดียว เป็นขนมโบราณที่กินครั้งแรกก็รู้สึกคุ้นเคยทั้งรสสัมผัส รสชาติ ละม้ายคล้ายเมอร์แรงก์ ผิดกันที่โสมนัสหวานอ่อน หอมมันมะพร้าวคั่ว ยิ่งเคี้ยวยิ่งหอม ไม่หวานแหลมอย่างเมอร์แรงก์ฝรั่ง เลยกินเพลินเกินกว่าที่เขาให้ชิมไปสักหน่อย  ‘โสมนัส’ ตามรากศัพท์ภาษาบาลีว่า ‘โสมมนสส’ หมายถึง ความยินดี ปลาบปลื้ม... 18.06.2022 Food Story
มัศกอด คัพเค้กโบราณแสนน่ารัก “มัสสะกอด กอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถามกอดเคล้นจะเห็นงาม ขนมนามนี้ยังแคลง” กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 นอกจากเป็นบทพรรณนาถึงคนรัก ยังเป็นบันทึกอาหารแห่งยุคสมัย และหลายชนิดที่เลือนรางไปกับยุคสมัยก็ชวนให้เราสงสัยว่าหน้าตา รสชาติ อาหารเหล่านั้นเป็นอย่างไร เช่น ‘มัสสะกอด’ หรือ ‘มัศกอด’ ที่ไม่ได้เอ่ยถึงรายละเอียดใดๆ นอกจากทิ้งปริศนาเรื่องชื่อ ชวนให้เราคลางแคลงคล้อยตามบทประพันธ์ ‘ขนมนามนี้ยังแคลง’  ว่ากันว่า ‘มัศกอด’ นี้ได้รับอิทธิพลมาจากแขกเปอร์เซีย ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี... 13.10.2021 Food Story
ตามหาเบเกอรีไทย ขนมอบยุคแรกเริ่ม ในวันที่เบเกอรีหรือขนมอบหากินได้ทุกหัวมุมถนน หากเทียบกับยุคพระนารายณ์มหาราชที่การนำเข้าแป้งสาลีเพื่อมาทำเบเกอรีมีราคาแพงมาก การกินหรือลงมือทำจึงไม่ใช่เรื่องง่ายในสมัยนั้น เบเกอรีหรือขนมอบอย่างฝรั่งในยุคแรกเริ่มจึงกินกันเฉพาะกลุ่มชนชั้นเจ้านาย ผู้มีอันจะกิน กระทั่งความรุ่งเรืองทางการค้าทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งรกรากเป็นหลักแหล่งและนำการกิน รวมทั้งการครัวติดตัวมาด้วย เบเกอรีอย่างไทย หรือขนมอบไทยในยุคแรกเริ่มจึงเป็นขนมที่รับมาจากต่างวัฒนธรรมแล้วปรับเปลี่ยนสูตร รวมถึงกรรมวิธีให้สอดคล้องกับวัตถุดิบท้องที่จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ในยุคที่เบเกอรีหลากหลายสัญชาติหากินได้ง่ายแบบไม่ต้องพลิกแผ่นดิน เราจึงชวนทุกคนมาเสาะหาเบเกอรีอย่างไทย หรือขนมอบไทยยุคแรกที่ยังสืบความอร่อยมาจนปัจจุบันอย่าง ‘ขนมโสมนัส’ กับ... 25.02.2021 Food Story