Found 11 results for Tag : ขยะอาหาร
ฮาวทู (ไม่) ทิ้ง ส่งขยะในครัวไปชุบชีวิตที่ไหนได้บ้าง? “มองดูรอบตัวมีของมากมายทิ้งไปเท่าไรก็ไม่เคยจะหมดเลย ตกอยู่ชิ้นหนึ่งใครใจร้ายจังเลยทิ้งไว้ที่เดิมหรือทิ้งที่ไหนดี…” ทิ้งแต่เก็บ (OST. ฮาวทูทิ้ง– THE TOYS) เชื่อว่าบรรดาพ่อบ้านแม่บ้านและคนก้นครัวทั้งหลายคงเกิดเหตุการณ์ ‘ทิ้งแต่เก็บ’ เหมือนอย่างเนื้อเพลงกันบ้างโดยเฉพาะชาวครัวสายกรีนทั้งมือใหม่และทั้งขาประจำเพราะว่าขยะพลาสติกซึ่งเป็นผลพลอย (ไม่อยาก) ได้จากการซื้อวัตถุดิบเครื่องปรุงและข้าวของต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้นมาเพียงวันละไม่กี่ชิ้นก็จริง แต่พอรวมกันทั้งเดือนก็พบว่าครัวในบ้านนี่เป็นจุดกำเนิดของขยะจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ว่าการกำจัดขยะพลาสติกจากต้นทางอย่างเช่นการเลี่ยงไปใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้จะเป็นการลดจำนวนขยะพลาสติกดีที่สุด... 02.06.2020 Food Story
‘อาหารหมุนเวียน’ แนวทางใหม่ในการกู้โลก ถ้าว่ากันถึงปรัชญาการกินของคนยุคใหม่ เชื่อว่าหนึ่งในนั้นหนีไม่พ้น ‘การกินอย่างยั่งยืน’ ตามหลักความยั่งยืนที่คล้ายเป็นแบบแผนในการใช้ชีวิตของคนเมืองรุ่นใหม่ผู้มีหัวใจอนุรักษ์ แต่ช้าก่อน… ระหว่างที่เรากำลังลด ละ เลิกการใช้หลอดพลาสติก พยายามกินข้าวให้หมดจาน หรือทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเหลือทิ้งภายในบ้าน นักวิชาการด้านอาหารฝั่งตะวันตกก็พากันครุ่นคิดว่า ปัญหาเรื่องอาหารของโลกของเราน่าจะซับซ้อนกว่านั้น และถ้าจะสะสางปัญหาอย่างยั่งยืนแล้วละก็ เราอาจต้องมองกว้างในระดับโครงสร้างสังคม นั่นคือจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอาหารแบบหมุนเวียน... 13.11.2019 Food Story
ข้าวตัง ข้าวตาก ข้าวแต๋น จากข้าวเหลือสู่ของว่างโอชะ จะให้พูดกันอีกกี่ครั้งก็ยังคงต้องยืนยันคำเดิมว่า ความสามารถในการหากินของมนุษย์นั้นมีเหลือเฟือจริงเชียว โดยเฉพาะในอดีตที่การงานของทั้งวันแทบจะไม่พ้นเรื่องปากเรื่องท้อง วิถีชีวิตที่เอื้อให้มนุษย์ได้ใกล้ชิดกับอาหารกว่าปัจจุบันมาก ทำให้คนโบราณมีเวลา ภูมิปัญญา และมีเรี่ยวแรงมาดัดแปลงพลิกแพลงสรรพสิ่งให้กลายเป็นของอร่อยได้เสมอ คนไทยเรากินข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตหลัก เราจึงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับข้าวในแทบทุกมิติ ทั้งด้านความเชื่อ ฤดูกาล อาหาร  มีผู้เปรียบไว้ว่า สามเหลี่ยมที่เป็นโครงสร้างของอาหารไทยแต่เดิมคือข้าว ปลา... 03.11.2019 Food Story
วิธีกินแบบหมดจด ลดขยะเป็นศูนย์ ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการรณรงค์ลดการสูญเสียอาหารในครัวเรือนก่อนที่จะเป็นขยะอย่างจริงจัง มักมีแต่การรณรงค์คัดแยกขยะรีไซเคิลจนทำให้ปัจจุบันนี้มีปริมาณขยะรีไซเคิลจากการจัดเก็บขยะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ปริมาณขยะจากอาหารกลับมีสูงขึ้น  เนื่องจากความไม่เข้าใจในขั้นตอนที่ทำให้เกิดขยะอาหารในครัวเรือนนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คนทิ้งขว้างอาหาร ทั้งอาหารที่ยังไม่ได้บริโภคและอาหารที่ทิ้งโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ รวมไปถึงอาหารที่ถูกปล่อยให้เน่าเพราะขาดความใส่ใจ ขยะอาหารเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นในครัวเรือน ลองหันมาใส่ใจกับการบริโภคมากขึ้น เราจะช่วยกันลดปริมาณขยะอาหาร และประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้เลย 1.วางแผนให้ชัดเจน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ขาดการวางแผนก่อนซื้ออาหาร มักซื้อของเกินความจำเป็น  ดังนั้นการวางแผนซื้ออาหารที่ดีจะเป็นการหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่มีประสิทธิภาพและเหลือทิ้ง... 28.06.2019 Cooking