RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 16 results for Tag :
ตำราอาหารโบราณ
น้ำขาว
1. วิธีการทำน้ำขาวให้ยืดระยะเวลาการหมักดองข้าวหมากให้นานขึ้นจาก 5-7 วัน เป็น 2-3 สัปดาห์ สังเกตจากลักษณะข้าวหมากเปื่อยยุ่ยจนไม่เป็นเมล็ด มีน้ำจากการหมักออกมาจำนวนมาก ใช้ผ้าขาวบางสะอาดกรองเอาข้าวเหนียวออก นำน้ำขาวที่ได้บรรจุขวดปิดฝาให้สนิท เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้นาน3-4 เดือน โดยรสชาติไม่เปลี่ยน หมายเหตุ
16.01.2024
Recipe
ตำราอาหารในงานศพ บทบันทึกรสชาติชีวิตของผู้วายชนม์
ตู้ไม้ขนาดเล็กมุมหนึ่งในห้องทำงานทีมครัว เรียงรายด้วยหนังสือตำราอาหารเก่าตั้งแต่เห็นปีพิมพ์จนถึงเนื้อกระดาษสีน้ำตาล สลับกับหน้าปกสีฉูดฉาดตามแต่ยุคสมัย ความเก่าของหนังสือทำให้ตู้ไม้เล็กๆ ดูขลัง แต่มีชีวิตชีวาเพราะความอิเหละเขละขละของหนังสือที่ถูกหยิบเข้าหยิบออกตลอด นอกจากตำราเก่าที่ว่าด้วยเรื่องอาหารไทย-เทศ หนังสืองานศพหรือหนังสืออนุสรณ์ของผู้วายชนม์ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกก็ถูกรวบรวมไว้ในตู้ในสถานะคลังข้อมูลชั้นดีแม้มีอยู่ไม่มากเล่ม ด้วยเนื้อหาที่นอกเหนือจากอัตชีวประวัติ ยังเต็มไปด้วยสูตรอาหาร เคล็ดลับในการประกอบอาหารครัวเรือน และสูตรเฉพาะบ้านที่อาจไม่เคยเห็นที่ไหน หนังสืออนุสรณ์งานศพของผู้วายชนม์หรือหนังสืองานศพในภาษาปาก จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2423รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์หลวงแจกจ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพของพระนางเจ้าสุนันทา...
11.01.2022
Food Story
ขนมจีนซาวน้ำ ความกลมกล่อมสดชื่นที่หลายคนไม่เคยลิ้มรส
อาหารเส้นอย่าง ‘ขนมจีน’ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับชนชาติจีน ดังหลักฐานหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดให้มีการเลี้ยงพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลตรุษจีน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และเท้านางข้างในจัดเรือขนมจีนถวายพระ กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงรับสั่งว่า การทำบุญตรุษจีน เลี้ยงพระสงฆ์ด้วยขนมจีนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะขนมจีนไม่ใช่ของจีน สักแต่ว่าชื่อเป็นจีนเท่านั้น...
17.05.2021
Food Story
‘ส้มฉุน’ ลอยแก้วดับร้อน กลิ่นรสชื่นใจจากธรรมชาติ
นอกจากความสดใสของท้องฟ้า ไอแดด ที่ฤดูร้อนมอบให้ องศาร้อนที่เกินพอดีก็ทำให้หงุดหงิดใจได้ง่ายกว่าปกติ จนต้องพาตัวเองดับร้อน เลี่ยงแดด ดื่มน้ำซ่าหรือกินน้ำแข็งไสหวานเย็นสักถ้วยช่วยลดอุณหภูมิภายในลงได้หลายระดับ แต่ก่อนที่คนเมืองร้อนบ้านเราจะได้สัมผัสความเย็นจากน้ำแข็งที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ราวสมัยรัชกาลที่ 4 ของว่างชนิดลอยแก้วอย่าง ‘ส้มฉุน’ ที่รวมความสดชื่นของผลไม้ฤดูร้อน และหอมเย็นจากผลส้มซ่า ก็เป็นกลิ่นรสจากธรรมชาติที่ช่วยคลายร้อนได้ตามยุคสมัย ส้มฉุน...
30.03.2021
Food Story
‘มะม่วงฉุน’ จานเรียกน้ำลายตำรับ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์’
หนังสือ: อาหารบ้านท้ายวัง ผู้เขียน: รงค์ วงษ์สวรรค์ เมนู: มะม่วงฉุน ถ้าครัวฝรั่งมีพลัมเป็นผลไม้ในสวนหลังบ้าน ครัวไทยเราก็คงหนีไม่พ้นมี ‘มะม่วง’ เป็นผลไม้ประจำบ้านที่เราคุ้นเคย อาจเพราะมะม่วงเป็นได้ทั้งของกินเล่น อาหารหวาน อาหารคาว แถมยังมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูกเลือกชิมกันไม่หวาดไม่ไหว...
22.04.2020
Food Story
‘กุ้งเผาสะเดาลวก’ ตำรับนักเขียนซีไรต์ วาณิช จรุงกิจอนันต์
หนังสือ: ต้มยำทำแกง คลุกเคล้าเข้าครัวกับวาณิช ผู้แต่ง: วาณิช จรุงกิจอนันต์ เมนู: กุ้งเผาสะเดาลวก ในทำเนียบนักเขียนสายอาหารของบ้านเรานั้น ชื่อของวาณิช จรุงกิจอนันต์ปรากฏอยู่ลำดับต้นๆ เสมอมา แม้นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2526 คนนี้จะจากโลกไปนานนับทศวรรษ...
19.03.2020
Food Story
ขนมจีนน้ำพริกตำรับวังหลวงพระบาง แตกต่างอย่างคุ้นเคย
หนังสือ: ตำรับอาหารพระราชวังหลวงพระบาง ผู้แต่ง: เพียสิง จะเลินสิน ผู้รวบรวม: อแลน เดวิดสัน (อดีตเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศลาว) ผู้แปลเป็นภาษาไทย: จินดา จำเริญ (สำนักพิมพ์ผีเสื้อ) เมนู: ขนมจีนน้ำพริกตำรับวังหลวงพระบาง ...
21.02.2020
Food Story
สูตรอาหารไทยยุคต้อนรับฝรั่ง ลูกชิ้นไก่กับแป้งอิตาลี
หนังสือวิธีปรุงอาหาร 600 ชนิด กับข้าวเทพรส (ปีที่พิมพ์: พ.ศ. 2512) ผู้แต่ง: ต้นเครื่อง เมนู: ลูกชิ้นไก่กับแป้งอิตาลี ปีที่พิมพ์: พ.ศ. 2512 เมื่อพูดถึงลักษณะของ...
24.01.2020
Food Story
ไก่จำบัง กำบังความเป็นไทยภายใต้การปรุงอย่างฝรั่ง
หนังสือ: ตำราอาหารโภชนาการสำหรับครอบครัว ผู้แต่ง: สมฤทธิ์ สุวรรณบล เมนู: ไก่จำบัง สมัยนี้ คงน้อยเต็มทีที่จะมีตำราอาหารเล่มไหนแนะนำเราอย่างเฉพาะเจาะจงว่า ‘วันไหนควรกินอะไร’ คงเพราะการจะเลือกกินหรือไม่กินนั้นเป็นเสรีภาพที่เราเข้าใจตรงกันดี มากกว่านั้นสูตรอาหารมากมายบนหน้าฟีดส์ก็เป็นทางเลือกที่หลากหลายมากพอและมากกว่าจะต้องเดินตามตารางเมนูของใคร ทว่า ไม่ใช่กับเมืองไทยสมัยเมื่อค่อนศตวรรษก่อน ด้วยสมัยคุณย่าคุณยายของเรายังเด็กนั้น...
20.12.2019
Food Story
ขนมพล๊าสติก ครองแครงแปลงร่างอย่างหรู
หนังสือ: ตำรากับข้าวชูรสและของหวานแบบประหยัด (2512) ผู้แต่ง: อนงค์นาฏ พวงพยอม เมนู: ขนมพล๊าสติก ในบรรดาตำราอาหารที่เราหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นช่วงนี้ต้องยอมรับตามตรงว่ายังไม่พบตำราใดที่ ‘สนุกถูกใจ’ เท่ากับเล่มนี้ ความสนุกที่ไม่ใช่แค่เรื่องของมุมมองหรือทักษะภาษาแต่รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ในการหยิบจับวัตถุดิบอย่างไทยมาปรุงเปลี่ยนเป็นจานอร่อยที่ไม่น้อยหน้าอาหารชาติไหน โดยเฉพาะในโมงยามที่ครัวไทยทะลักล้นด้วยรสชาติอย่างฝรั่ง ดังที่อนงค์นาฏ พวงพยอม...
27.11.2019
Food Story
เกยย้งก๊กเซียงบี้ สูตรโบราณ 100 ปีจากปู่ย่า
หนังสือ: สูตรโบราณ 100 ปีจานอร่อยจากปู่ย่า เมนู: เกยย้งก๊กเซียงบี้ กล่าวกันว่า ต้นธารของวัฒนธรรมอาหารอันรุ่มรวยล้วนกำเนิดเกิดขึ้นใน ‘ราชสำนัก’ ทั้งสิ้นด้วยราชสำนักในดินแดนต่างๆ นั้นเปรียบได้กับศูนย์กลางของศิลปวิทยาการไล่เรียงตั้งแต่งานช่างศิลป์ สุนทรียศาสตร์ทางภาษา รวมถึงงานด้านการครัวแสนละเอียดอ่อนและล้ำหน้ากว่าพื้นที่ใดในดินแดน เมื่อก้าวสู่ยุคกระจายอำนาจวิทยาการด้านรสชาติเหล่านี้จึงแพร่หลายกระจายสู่สังคมกลายเป็นตำรับ ‘อาหารฮ่องเต้’...
22.10.2019
Food Story
‘ยำใหญ่ใส่สารพัด’ สารพัดที่ว่ามันคืออะไร?
มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ ‘ยำ’ เป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน...
01.03.2019
Food Story
‘เคคเมืองร้อน’ ขนมอบสูตรโบราณยุคสงครามเวียดนาม
เข้าหน้าเทศกาล เมนูที่มักปรากฏบนโต๊ะอาหารบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ คงหนีไม่พ้นของหวานจานใหญ่ สัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลอง เมื่อคนในครอบครัวเดินทางมารวมตัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา การล้อมวงกินของหวานแสนอร่อย หรือบรรดาอาหารสีสันสดใสย่อมช่วยให้บรรยากาศรื่นรมย์ได้ในพริบตา พอพูดอย่างนี้ หลายคนอาจคิดถึงบรรยากาศเทศกาลทางฝั่งตะวันตก ทั้งวันขอบคุณพระเจ้าที่พรั่งพร้อมด้วยเค้กก้อนใหญ่และไก่งวงหอมกรุ่น หรือเทศกาลคริสมาสต์ที่เพียบด้วยของหวานนานาชนิด และแน่ละว่าเค้กสีสวยเป็นหนึ่งเมนูที่ไม่เคยหายจากบนโต๊ะอาหารหน้าเทศกาลของฝรั่งฝั่งตะวันตกสักครั้ง เมื่อกลับมามองใกล้ตัว… เราก็พบอีกว่าเค้กสีสันสดใสมักปรากฏกายอยู่ในชั่วโมงแห่งความสุขของคนไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะวันเกิด...
06.12.2018
Food Story
ตำราอาหารญี่ปุ่นเล่มเก่า บอกเล่ารสชาติอาทิตย์อุทัยในไทย ปี 2500
ยามเกิดคำถามในวงสนทนาว่า มื้อนี้กินอะไรกันดี? แน่นอนว่าหนึ่งในคำตอบที่ต้องได้ยิน คือ อาหารญี่ปุ่น! มองกันในภาพกว้าง ปัจจุบันประเทศไทยมีร้านอาหารญี่ปุ่นกระจายตัวมากกว่า 2 พันแห่งทั่วประเทศ ยังไม่นับร้านอาหารทั่วไปที่ขายเมนูแดนอาทิตย์อุทัยแซมบ้างเป็นบางครั้ง ซูชิคำละ 5 บาทที่เราเห็นกันตามตลาดนัด หรือทาโกะยากิร้อนๆ ที่ตั้งเตาขายนักเรียนนักศึกษากันยามโรงเรียนเลิก…...
18.07.2018
Food Story
ตำรับต่างแดนในตำราอาหารไทยเล่มแรก ‘แม่ครัวหัวป่าก์’
‘แม่ครัวหัวป่าก์’ ไม่ว่าจะเป็นคนทำหรือไม่ทำอาหาร ก็คงเคยผ่านหูชื่อนี้กันมาบ้างสักครั้ง อาจเพราะสถานะ ‘ตำราอาหารไทยเล่มแรก’ ที่ทำให้คำๆ นี้ขจรขจายไปทั่ว และถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ขีดเส้นใต้เน้นย้ำถึงการเป็นหมุดหมายสำคัญของ ‘อาหารไทย’ ที่เราชาวไทยภูมิใจในความเอร็ดอร่อยกันมาจนทุกวันนี้ แต่ไม่ใช่แค่อายุอานามร่วมร้อยปีหรอกที่ทำให้แม่ครัวหัวป่าก์ถูกกล่าวขาน แต่เพราะตำราอาหารเล่มนี้ซ่อนรายละเอียดที่สะท้อนวัฒนธรรมการกินอยู่ของชาวสยามยุคต้นรัตนโกสินทร์ไว้อย่างมีแบบแผนและแสนน่าสนใจ ไม่ว่าจะการหยิบวิธีชั่งตวงวัดอย่างฝรั่งมาใช้สร้างมาตรฐานให้สูตรอาหารเป็นครั้งแรก รวมถึงเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการจัดการครัวเรือน...
07.05.2018
Food Story
เมนูลับจากเมืองเล็ก ‘สมุทรสงคราม’
‘สมุทรสงคราม’ เป็นจังหวัดเล็ก เล็กที่สุดในประเทศก็ว่าได้หากวัดจากขนาดของพื้นที่… แต่ความกะทัดรัดกลับไม่ได้ลดความหลากหลายของสมุทรสงครามลงสักนิด ด้วยสมุทรสงครามมีพื้นที่ชายฝั่งติดทะเลยาวนับสิบกิโลเมตร มีแม่น้ำใหญ่อย่างแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านกลางเมือง มีทั้งสวนมะพร้าว ป่าชายเลน และนาเกลือ เรียกว่าเป็นอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เป็นลำดับต้นๆ ของไทย แน่นอนว่าอาหารตำรับสมุทรสงครามจึงไม่เหมือนใครด้วยเช่นกัน ยืนยันได้จาก ‘ตำรับอาหารเมืองสมุทรสงคราม โดย...
15.03.2018
Food Story