7 ข้อเสียถ้าไม่กินมื้อเช้า!

49,249 VIEWS
PIN

image alternate text
image alternate text
ถ้าไม่ต้องกินมื้อเช้า ก็ใช้ชีวิตเริ่มวันใหม่ได้เร็วไว แต่ก็เสี่ยงตายเพราะโรครุมเร้า หรือเบาๆ แค่คุณภาพในการใช้ชีวิตด้อยลงได้เหมือนกัน

ไม่กินมื้อเช้าก็ประหยัดเวลา ไวดี… แต่สำหรับฉันที่ต้องมีอะไรตกถึงท้องทุกเช้า ไม่อย่างนั้นร่างกายจะประท้วงด้วยเสียงท้องร้องจ๊อกๆ เวลาพบเพื่อนข้ามมื้อเช้าเป็นประจำจึงอดไถ่ถามไม่ได้ว่า “ไม่หิวเหรอ?” ส่วนใหญ่คำตอบที่ได้คือชินแล้ว หิวอีกทีใกล้ๆ เที่ยง ฟังแล้วเหมือนร่างกายปรับตัวจนเป็นความเคยชิน จะกินหรือไม่กินข้าวเช้าก็ไม่มีผลอะไร แต่ความรู้สึกหิวอีกทีใกล้เที่ยงนี่ละ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณความหิวที่ไม่ปกติ เพราะแท้ที่จริง ข้อเสียจากการข้ามมื้อเช้านั้นนำไปสู่ผลกระทบทางร่างกายและโรคต่างๆ เหล่านี้   

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น
ข้ามมื้อเช้าแล้วแท้ๆ แต่กลิ่นปากมาจากไหน หลายคนอาจโยนความผิดให้ยาสีฟันหรือแปรงสีฟันว่าไร้ประสิทธิภาพ แต่หารู้ไม่ว่าอาหารเช้านี่แหละที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปากและลมหายใจเหม็นๆ พอไม่กินอาหารเช้า ต่อมน้ำลายก็ขาดตัวกระตุ้น น้ำลายในปากแห้ง แบคทีเรียส่งกลิ่นก็เจริญเติบโตได้ดี สาเหตุนี้จึงแก้ง่ายด้วยการกิน สำหรับคนงดอาหารเช้าเพราะความเร่งรีบ ลำพังกินผลไม้สดกับน้ำดื่มสะอาดช่วงเช้าก็เป็นตัวช่วยขจัดแบคทีเรียได้ดี และทำให้อิ่มกำลังดี

เสี่ยงโรคหัวใจ
ผลการวิจัยของ University of California ในปี 2014 พบว่าผู้หญิงที่ไม่รับประทานอาหารเช้ามีระดับคอร์ติซอลสูงขึ้นตลอดทั้งวัน เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเจ้าคอร์ติซอลนั้นเป็นฮอร์โมนที่ปกติแล้วร่างกายจะหลั่งออกมาในช่วงเช้า เพื่อให้สมองตื่นตัวพร้อมรับวันใหม่และค่อยๆ ลดระดับลง แต่เมื่อมันมีทีท่าว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นไปได้ว่าคนที่ไม่รับประทานอาหารเช้าร่างกายอาจเกิดการสะสมความเครียด คอร์ติซอลจึงมีอีกชื่อเรียกว่า ‘ฮอร์โมนแห่งความเครียด’ เมื่อระดับคอร์ติซอลไม่สมดุลก็สุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

อารมณ์เสีย
อาการโมโหหิวนั้นเป็นจริง ยิ่งหิวยิ่งโกรธง่าย โดยเฉพาะการเลี่ยงมื้อเช้าที่อาจส่งผลถึงการทำงาน เมื่อพาลหงุดหงิดใส่เพื่อนร่วมงานแบบไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งมีสาเหตุมาจากการข้ามมื้ออาหารทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ปวดหัว เกิดความหงุดหงิด ส่งผลถึงการควบคุมอารมณ์ เพราะการรับประทานอาหารนั้นสัมพันธ์กับเซโรโทนินและโดปามีน สารสื่อประสาทที่มีผลต่อการควบคุมความรู้สึกและอารมณ์

น้ำหนักเพิ่มขึ้น/ อ้วน
ไม่ว่าจะด้วยความเร่งรีบ หรือไม่รู้สึกหิวช่วงเช้าจนเคยชิน แต่เมื่อเลยระยะเวลาหนึ่ง อาการโหยสะสมอันเนื่องมาจากน้ำตาลในเลือดต่ำจะแปรเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมจัดหนักจัดเต็มอาหารคาว หวาน ในมื้อถัดๆ ไปแบบไม่รู้ตัว ทั้งมื้อเที่ยง มื้อเย็น ซึ่งปริมาณแคลอรีจำนวนมากที่มากับอาหารมื้อเที่ยงและโดยเฉพาะมื้อเย็นนั้น ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการใช้แคลอรีปริมาณมาก จึงเกิดการสะสมจนนำไปสู่ความอ้วน  

แนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน
หากข้ามมื้อเช้าเป็นประจำร่างกายจะเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเสี่ยงนำไปสู่โรคเบาหวาน กลับกันถ้ารับประทานอาหารเช้าในทุกๆ วัน จะลดความเสี่ยงลงได้ 35-50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้หญิงที่เลี่ยงอาหารเช้าเป็นประจำมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นถึง 20%

ระบบเผาผลาญไม่ดี
กลไกร่างกายของเรานั้นฉลาด เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราอดอาหาร ร่างกายจะชะลอการเผาผลาญให้ช้าลงเพื่อเป็นการเซฟพลังงานแคลอรี ซึ่งความแปรปรวนของระบบเผาผลาญอาจทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย อ้วนง่าย หรือผอมเกินไป

อาจโง่/ เสี่ยงอัลไซเมอร์
หลังจากหลับใหลมา 10-12 ชั่วโมง ตลอดทั้งคืนที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารโดยเฉพาะน้ำตาลซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการทำงานของสมอง เมื่อเราไม่กินอาหารเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะต่ำลงจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ในระยาวจะส่งผลต่อความจำ ทำให้การทำงานของสมองไม่มีประสิทธิภาพ เฉื่อยชา เสี่ยงอัลไซเมอร์

 

อ้างอิง : www.rd.com 

RECOMMENDED ARTICLES
RECOMMENDED VIDEOS