Found 80 results for Tag : คุยกับผู้ผลิต
‘ต้ามู่’ สุดยอดเต้าหู้ 100 ปีแห่งนครปฐมอะไรทำให้ความอร่อยไม่มีวันเสื่อมคลาย? เต้าหู้ มีส่วนผสมพื้นฐานธรรมดาๆ เพียงถั่วเหลืองกับน้ำเปล่า แต่ผลัพธ์ของการทำเต้าหู้แต่ละเจ้ากลับให้รสชาติ รสสัมผัสแตกต่างเหมือนเต้าหู้ของ ‘โรงเต้าหู้ต้ามู่’ เมืองนครปฐม ที่ยังคงกระบวนการทำดั้งเดิมสืบทอดมากว่า 100 ปี เพื่อให้ได้เต้าหู้รสชาติรสสัมผัสเป็นเอกลักษณ์เช่นเต้าหู้เหลืองที่เนื้อนุ่มราวกับคัสตาร์ด อร่อยครองใจใครหลายคนมายาวนาน เพื่อยืนยันความอร่อยแบบฉบับต้ามู่ เราเลยเดินทางไปพูดคุยพี่เอก-วิโรจน์ อางนานนท์ ทายาทรุ่นที่ 4 ของโรงเต้าหู้ต้ามู่ และดูกระบวนการทำเต้าหู้แบบดั้งเดิม เสียงเครื่องโม่เริ่มทำงานตั้งแต่ฟ้ายังไม่สางราวตี 5 พี่เอกพาเราเดินดูโรงเรือนเต้าหู้ขนาดย่อมอยู่ภายในบริเวณรั้วบ้าน แบ่งเป็นโซนซักล้าง แช่ถั่ว ต้ม โม่ ทุกกระบวนการขับเคลื่อนด้วยแรงงานของสมาชิกในครอบครัวทั้งตัวพี่เอกเอง พี่สาวน้องสาวและคุณแม่ที่ยังคงกระฉับกระเฉง กับคนงานที่คลุกคลีทำเต้าหู้มาด้วยกันอีก 2-3 คน โรงเต้าหู้เป็นกิจการครอบครัวที่ส่งต่อมาหลายรุ่น กว่า 100 ปี เลยมีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัยที่ส่งทอด สมัยแรกที่อากงขายเรียก‘เต้าหู่ตั่วมัก’ ภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึงตาโต เพราะอากงที่เป็นรุ่นบุกเบิกโรงเต้าหู้เป็นชายหนุ่มตาโต รุ่นถัดมาเป็นรุ่นพ่อพี่เอกจะเรียก‘เต้าหู้เฮียอ้วน’ หรือ ‘เต้าหู้ชิวกุ่ย’ สมัยนั้นลูกค้าจะจำและเรียกจากลักษณะของเจ้าของโรงเต้าหู้ พอมารุ่นหลังจึงตีแบรนด์ให้เป็นที่จดจำย้อนกลับไปใช้ชื่อสมัยอากงบุกเบิก แล้วเปลี่ยนเป็นภาษาจีนกลางว่า ‘ต้ามู่’ หมายถึงตาโต มีพี่เอกเป็นรุ่นที่ 4 รับช่วงต่อมาจากคุณแม่ที่เป็นสะใภ้ของตระกูลและเป็นเจ้าของโรงเต้าหู้รุ่นที่ 3  อุปกรณ์ ถังไม้สัก บลอกไม้สัก เครื่องรีดทับ ทุกอย่างยังคงเดิมเหมือนเมื่อร้อยปีก่อน มากกว่าความเก๋า ขลัง ที่เราคนนอกรู้สึกได้ เหนือสิ่งอื่นใดทุกกระบวนการที่ครอบครัวตั้งใจทำมีจุดร่วมเดียวกันคือรักษารสชาติเต้าหู้ของตระกูลเอาไว้อย่างที่พี่เอกว่า “ที่คงกระบวนการเดิมไว้เพราะผลลัพธ์ออกมาเหมือนที่เราเคยกิน เป็นภาพจำ เป็นความคุ้นเคยของเรา เต้าหู้ที่เราทำเลยเป็นรสชาติที่เราคุ้นเคย กินมาตั้งแต่เด็กๆ มีภาพจำว่าเต้าหู้ที่เรากินเป็นแบบนี้ เลยทำออกมาให้มันเหมือนเดิมที่เคยกิน และส่วนหนึ่งคือลูกค้าโอเคชอบเต้าหู้แบบนี้ ถ้าเปลี่ยนขั้นตอนผลลัพธ์มันอาจออกมาไม่เหมือนเดิม เพราะความแมนนวลมันทำให้เราจดจ่อ ดูสิ่งที่เราทำได้ตลอดเวลา” เต้าหู้ดี ตั้งต้นที่วัตถุดิบดี ถั่วเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการทำเต้าหู้ จึงต้องเลือกใช้ถั่วคุณภาพดีสุด เมล็ดถั่วเหลืองที่ใช้เป็นเบอร์ 1 เพราะให้น้ำถั่วที่เข้มข้น และแต่ละลอตที่ได้มาเป็นถั่วคนละโซน เก็บเกี่ยวคนละฤดู จึงให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนเดิม จึงต้องเบลนถั่วเก่ากับใหม่เพื่อให้ผลลัพธ์คงเดิม “ถั่วเก่าสีจะออกเข้มแดง ถั่วใหม่จะสีอ่อน เราต้องมานั่งดูถั่วเลือกใช้ผสมกันระหว่างเก่ากับใหม่ สมมติผมมีเบสเป็นถั่วเก่าอยู่ พอได้ถั่วใหม่มาผสมก็จะมาดูผลลัพธ์ว่า ถั่วให้น้ำข้นมากหรือน้อยต้องเพิ่มหรือลดเท่าไหร่ ทำออกมาเต้าหู้นิ่มขึ้นหรือแข็งขึ้นหรือเปล่า”  การผสมถั่วไม่มีสูตรสำเร็จ เป็นงานยากเพราะแม้จะมีประสบการณ์มานับสิบปีก็ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว กระบวนการทดลองจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ได้เต้าหู้รสชาติใกล้เคียงเดิมในทุกครั้งที่ทำ เมื่อได้ถั่วลอตใหม่เข้ามาพี่เอกและครอบครัวจะช่วยกันดู ปรับเพิ่ม-ลดอัตราส่วนระหว่างถั่วเก่ากับถั่วใหม่ เพราะถั่วเก่าให้สัมผัสของเนื้อที่แข็ง แน่น ไม่ค่อยดูดน้ำ ไม่นุ่มนวล ขณะที่ถั่วใหม่มีความอมน้ำมาก ถ้าใช้เพรียวๆ เต้าหู้จะนิ่มเหลวเกิน ไม่ได้เทกเจอร์อย่างที่ต้องการ “ความที่กระบวนการทำเต้าหู้มันค่อนข้างนาน หมายความว่าวันไหนที่เราเทสถั่ว ทำเต้าหู้เป็นถัง ถ้ามีปัญหาก็ต้องเททิ้งทั้งถัง นี่ละความยากของเต้าหู้”  ฟังพี่เอกเล่ามาเท่านี้ ฉันก็ชักอยากรู้แล้วว่าเต้าหู้ต้ามู่รสชาติเป็นยังไง ก่อนจะไปดูกระบวนการทำเต้าหู้ที่กินเวลายาวนานทั้งวัน พี่ยุ้ยใจดีทอดเต้าหู้ให้เราชิม เต้าหู้ขาวหรือเต้าหู้แข็งทอด เนื้อนุ่ม หอม ไม่มีความแข็งกระด้างใดๆ อร่อยกินได้เรื่อยๆ เหมาคนเดียวหมดยังได้แต่เกรงใจทีมครัวทุกคนที่มาด้วยกันค่ะ ฮ่าๆ ส่วนเต้าหู้เหลืองทอดผิวกรอบ เนื้อในนุ่มเป็นคัสตาร์ด ถูกใจวัยรุ่นแน่นอน ใครไม่ชอบเต้าหู้รับรองกินเต้าหู้เหลืองเข้าไปมีไขว้เขวเปลี่ยนใจกันได้ กระบวนการทำเต้าหู้ดั้งเดิม ที่รักษารสชาติเต้าหู้อย่างที่เคยกินเอาไว้ โปรดักส์ของต้ามู่มีฟองเต้าหู้ทั้งแห้งและสด น้ำเต้าหู้ และเต้าหู้ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือเต้าหู้แข็งสีขาว เนื้อแน่น นุ่มเป็นเอกลักษณ์แม้จะเรียกเต้าหู้แข็งแต่เนื้อไม่แข็ง เพียงแต่เนื้อแน่นกว่าเต้าหู้สีเหลือง เอาไปทำกับข้าวแทนเนื้อสัตว์ กะเพรา พะโล้ อีกอันคือเต้าหู้สีเหลือง หรือเต้าหู้อ่อน เนื้อนุ่ม เหมาะกับทอดหรือเมนูผัด กับอีกชนิดคือเต้าหู้แกงจืดใส่กล่องเป็นเต้าหู้นิ่ม ไว้ทำแกงจืดโดยเฉพาะ โม่ถั่วและกรอง: ถั่วแช่ไว้ตั้งแต่ตี 2 เมล็ดพองได้ที่จะนำมาเข้าเครื่องโม่ที่เปิดน้ำเบาๆ เพียงหล่อให้เมล็ดถั่วโม่ได้ละเอียด พอได้เนื้อถั่วเหลืองโม่ข้นๆ เอามาเติมน้ำผ่านเครื่องกรอง ได้เป็นน้ำถั่วเหลืองส่วนหัวที่มีความขาวข้นกับน้ำถั่วเหลืองส่วนหาง กรองเรื่อยๆ จนสังเกตได้ว่าน้ำถั่วเริ่มจางจึงหยุดกรอง กากถั่วที่เหลือจากการกรองจะนำไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์... 01.03.2024 Food Story
‘ข้าวตังเสวย’ ขนมไทยโบราณที่ต้องใช้ใจทำ คนรอบข้างเกินกว่าครึ่งไม่มีใครรู้จัก ‘ข้าวตังเสวย’ รวมถึงฉัน หลังโดนน้องที่ทำงานป้ายยาว่ามันอร่อยนักอร่อยหนา กรอบ หวาน เค็ม มัน หอม กินเพลินติดใจจนเธอต้องสั่งออนไลน์มากินประจำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่มีที่ให้ซื้อกิน จนฉันเองเริ่มคล้อยตาม ในเมื่อไม่รู้จักเลยขอไปดูให้เห็นกับตาที่ ‘ร้านข้าวตังแม่ณี’ จังหวัดนนทบรี ดูว่าความอร่อยของข้าวตังเสวยมาจากไหน และกว่าจะเป็นข้าวตังกรอบสวยสักแผ่นเขาทำกันอย่างไร ข้าวตังเสวยเป็นอาหารว่างไทยโบราณ ทำจากข้าวหรือข้าวต้มเหลือๆ เอามาโม่ หนีบให้เป็นแผ่น ปรุงรสให้ออกหวานๆ เค็มๆ แต่เดิมทำกินกันในรั้วในวัง จึงเป็นที่มาของชื่อข้าวตังเสวย บ้างก็เรียกข้าวตังทรงเครื่องปัจจุบันข้าวตังเสวยอาจหากินยาก แต่ก็พอเห็นวางขายตามร้านของฝากหรือร้านขายเบเกอรีอยู่บ้าง เช่นข้าวตังเสวยจากร้านแม่ณี ที่มีร้านขนม ร้านของฝากจากกรุงเทพฯ และทั่วประเทศรับไปวางขาย พี่ปราณีกับพี่วัฒน์ เป็นเจ้าของร้านข้าวตังแม่ณี ทำข้าวตังเสวยมาแล้วกว่า 10 ปี เรามาถึงที่ร้านแต่เช้าตรู่หน้าบ้านเปิดโล่งเตาขนมเรียงรายนับ 10 เตา พี่วัฒน์ทักทายเราด้วยข้าวตังเสวยคนลนละแผ่นยื่นให้ลองชิมก่อนจะไปดูว่าทำอย่างไรต้องรู้เสียก่อนว่ารสชาติเป็นอย่างไร ข้าวตังแผ่นกลมใหญ่ สีเหลือง บาง มีกุ้งแห้งอยู่สี่ห้าตัว กับผักชีหนึ่งต้น สวยดูราวกับถูกจัดวาง ข้าวตังแผ่นบาง กรอบ หวานๆ เค็มๆ หอม พอเป็นข้าวเลยได้รสมันนิดๆ เวลาเคี้ยว เข้าใจแล้วว่าทำไมกินแล้วติดงอมแงม เพราะยิ่งเคี้ยวยิ่งเพลินกินได้เรื่อยๆ กวนข้าวให้ข้นเหนียว หัวใจของการทำข้าวตั้งเริ่มตั้งแต่การคัดข้าวเพื่อเอามาต้ม ใช้ปลายข้าวหอมมะลิใหม่ที่มียางเหนียวประมาณ 15 กิโลกรัม ต้มในหม้อใบใหญ่ ก่อนต้มข้าวจะแช่ข้าวในน้ำไว้ 1 ชั่วโมง และเริ่มเปิดเตาต้มข้าวตอนตี 4 ของทุกวัน โดยตั้งน้ำให้เดือด เอาปลายข้าวที่แช่แล้วใส่ลงในหม้อน้ำเดือด กวนให้ข้าวสุกพองจนเริ่มงวด ใส่น้ำใบเตยคั้นลงไป และใช้ไม้พายกวนทุกๆ 10 นาที กวนเรื่อยๆ ราว 3 ชั่วโมง จนได้ข้าวเหนียวข้นได้ที่   “ขั้นตอนต้มข้าวสำคัญมากถ้าเราต้มข้าวไม่ดี ไม่เหนียวพอ เวลาเอามาละเลงบนเตาหนีบ จะแตก ไม่เป็นแผ่นกลมสวย เลยต้องคัดเอาปลายข้าวหอมมะลิที่มีความเหนียว เริ่มแรกเราใช้หลายยี่ห้อมาก ลองผิดลองถูกจนมาเจอยี่ห้อนี้ที่ปลายข้าวให้ยางดีก็ใช้มาสิบกว่าปีแล้วไม่เคยเปลี่ยน” – – – พี่วัฒน์อธิบายพร้อมให้เราดูข้าวที่กวนเสร็จแล้ว ทำแผ่นดิบและลวดลายหน้าขนม ถัดมาคือขั้นตอนทำแผ่นดิบและเติมหน้าขนม เป็นหน้าที่ของพี่น้อย คนงานเพียงคนเดียวที่ทำขนมขนมอยู่กับพี่ปราณีมากว่า 10 ปีจนชำนาญและได้รับมอบหมายให้ดูแลหน้าเตา เหมาคนเดียว 12 เตา วัตถุดิบหลักคือข้าวกวน ผักชีเด็ดก้านสวย เลือกใช้ผักชีไทยให้กลิ่นหอม ถ้าช่วงไหนผักชีไทยใบไม่สวยจะใช้ผักชีจีน และกุ้งแห้งไซส์กลางที่ต้องใช้มีดหั่นครึ่งทีละตัว ถ้าหากใส่ทั้งตัวจะหนาเกินไปและทำให้แป้งไม่แห้งสนิท พี่น้อยตักข้าวกวน 1 ทัพพีใส่บนแป้นเตาหนีบเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ไล่เตาไปเรื่อยๆ และหันกลับมาเติมหน้าข้าวตังดัวยผักชี คัดเอาเฉพาะก้านใบสวยสมบูรณ์ ไม่ช้ำ ไม่ขาด วางลงไป ตามด้วยกุ้งแห้งผ่าครึ่งตัววางลงไปประมาณ 4-5 ตัว แล้วปิดฝาหนีบลงมา ใช้เวลาราว 10 นาที เทียวเปิดดู ถ้าใกล้สุกจะเริ่มเห็นขอบล่อน ต้องคอยหมุนแผ่นแป้งไปมาให้สุกทั่วถึง ขยับแผ่นแป้งให้เตาหนีบขอบรอบแป้งเพื่อให้มั่นใจว่าสุกทั่วทั้งแผ่น ความสุกและความสวยเป็นเรื่องสำคัญมากในขั้นตอนนี้ พี่น้อยจะเลือกผักชีทีละต้น ถ้าผักชีก้านไหนไม่สวยก็คัดออก จังหวะที่พี่น้อยสะบัดก้านผักชีลงไป และตามด้วยกุ้งแห้ง เหมือนกำลังดูพี่น้อยสะบัดแปรงแต้มสีบนแผ่นกระดาษอย่างกับจิตกร ระหว่างที่เราส่งเสียงฮือฮากับลีลาทำขนม พี่น้อยก็หันมาย้ำว่า “ขนมทำยาก ต้องดูไฟให้ดี ดูว่าสุกทั่วถึงกันมั้ย ทำงานจนตั้งชื่อลูกว่าข้าวตังแล้ว” จังหวะสะบัดก้านผักชีนั้นมีเหตุผล ใช่ว่าจะทำเอาลีลาแต่ช่วยให้รู้ว่าเตาไหนไฟร้อนหรือเบา น้ำจากก้านผักชีที่กระเด็นโดนเตา จะดังฉ่า ถ้าเสียงฉ่าดังมากแสดงว่าเตานั้นไฟแรงกว่าเพื่อนก็จะเปิดเช็กความสุกเป็นเตาแรกๆ แผ่นข้าวที่สุกดีแล้วจะบาง ขอบเรียบ เรียกแผ่นข้าวนี้ว่า ‘แผ่นดิบ’ แต่งรสให้เค็มหวานด้วยน้ำเชื่อมปรุงรส แผ่นดิบที่เย็นแล้วจะนำมาทาน้ำเชื่อมทีละแผ่น ส่วนผสมของน้ำเชื่อมมีน้ำตาลทรายแดง เกลือ รากผักชีนิดหน่อย เคี่ยวให้ได้รสเค็มหวานหอมรากผักชีอ่อนๆ ขั้นตอนทาน้ำเชื่อมพี่ปราณีจะใช้ฝ่ามือทาน้ำเชื่อมทีละแผ่น เพราะต้องสัมผัสแผ่นขนมให้รู้ว่าแต่ละแผ่นหนาบางประมาณไหน หากแผ่นไหนที่หนากว่านิดก็จะทาน้ำเชื่อมมากขึ้นให้พอดีกับแผ่นแป้ง  ... 13.11.2023 Food Story
เซิง โชว หวัง ซีอิ๊วหมักที่ไม่แมสแต่สุขภาพดี แม้ไม่มีสูตร Low Sodium! ถ้าจะซื้อซีอิ๊วสักขวด ทุกคนเลือกจากอะไรคะ หลายคนน่าจะเลือกซีอิ๊วจากขวดที่คุ้นมือที่สุด เลือกตามยี่ห้อที่แม่ใช้มาเสมอ หรือบางคนก็เลือกจากราคาในยามมีโปรโมชั่นเป็นหลัก ฉันก็เคยเลือกสะเปะสะปะแบบนั้นเหมือนกันค่ะ จนถึงวาระที่ต้องมาเขียนรีวิวซีอิ๊วแบบจริงจัง เลยเริ่มหมกมุ่นอยู่กับการอ่านฉลากซีอิ๊วเป็นพิเศษ  การเขียนรีวิวซีอิ๊วทำให้ฉันได้ลองชิมซีอิ๊วจากทั่วประเทศมากกว่า 20 ยี่ห้อ แล้วก็ทำให้ฉันได้เจอกับซีอิ๊วยี่ห้อหนึ่งที่ระบุบนฉลากไว้ว่าไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ผสมสี ไม่มีน้ำตาล ไม่มีผงชูรส... 01.09.2023 Food Story
10 ปีของเคี้ยวเขียว Green Catering ที่เชื่อในเรื่องการแบ่งปันมากกว่าการตัดสิน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการบริโภคเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดขยะ และขยะจากการบริโภคของคนเราก็ไม่ใช่ขยะที่จัดการได้ง่ายเสียด้วย แต่ครั้นจะให้หยุดบริโภคเพื่อหยุดวงจรการเกิดขยะก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถปรับวิธีบริโภคของเราให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้นกว่านี้อีกสักนิด “เคี้ยวเขียว Green Catering” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เชื่อว่าเราสามารถกินอยู่ให้ดีกับสิ่งแวดล้อมได้ และไม่ใช่แค่เชื่อ แต่พวกเขายังลงมือให้ความเชื่อนี้เกิดขึ้นจริง และทำมาอย่างต่อเนื่องนานนับ 10 ปี ในวาระครบรอบ 10... 25.05.2023 Food Story
ไก่เบตงยะลา (แท้ๆ) ว่าที่ GI แสนอร่อย ไก่สับเบตงเป็นอาหารขึ้นชื่อของ อ.เบตง จ.ยะลา มาเสมอ ด้วยรสสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากไก่เนื้อจากฟาร์มทั่วไป คนมักจะพูดกันว่าไก่เบตงนั้นเนื้อแน่นเหมือนไก่บ้าน แต่กลับนุ่มละเอียด ไม่เหนียว ส่วนหนังก็บางและกรอบกรึบเหมือนกับได้กินแมงกระพรุนลวก และที่สำคัญคือชั้นไขมันใต้หนังไก่จะบางเฉียบหรือแทบไม่มีเลย แต่กระนั้นก็ตาม สิบปากว่าอย่างไรก็ไม่เท่ากับตาเห็น (และได้ชิมเอง) เมื่อมีโอกาสเก็บกระเป๋าลงไปเมืองใต้สุดแดนสยาม เราจึงต้องปักหมุดไว้ให้ไก่เบตงเป็นหนึ่งในโปรแกรมสำคัญของทริปนี้... 18.04.2023 Food Story
ตุ๊บตั๊บเหล่าแปะ ขนมสุดคราฟต์ที่มีให้กินแค่ปีละครั้ง  ตุ้บ ตั้บ! ฉันเดินตามเสียงหนัก แน่น เป็นจังหวะมาหยุดยืนอยู่บริเวณหน้าศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย เห็นคนรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ยืนต่อแถวยาวอยู่หน้าร้าน ‘ตุ๊บตั๊บเหล่าแปะ’ ขนมตุ้บตั้บทำสดใหม่ที่หนึ่งปีจะเปิดเตาเคี่ยวน้ำตาล ทุบตุ้บตั้บกันแค่ปีละครั้งในช่วงเทศกาลกินเจ คนย่านตลาดน้อยรู้จักร้านระดับตำนานนี้ดี ด้วยอายุอานามร้านที่เปิดมากว่า 80 ปี ส่วนใครเพิ่งมาครั้งแรกเชื่อว่าตามหาร้านได้ไม่ยาก แค่เดินตามเสียงค้อนทุบดังตุ้บ ตั้บ ตรงเข้ามาภายในซอยศาลเจ้าฯ     ฉันตั้งใจมาหาคำตอบว่าทำไมต้องปีละครั้ง ชายฉกรรจ์ยืนทุบขนมเหล่านี้คือใคร... 29.09.2022 Food Story