RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 81 results for Tag :
อาหารท้องถิ่น
ลาบหมาน้อย เมนูวุ้นเขียวสุดแซบแห่งอีสาน
ได้ยินชื่อ ‘ลาบหมาน้อย’ คงต้องมีสะดุ้งกันบ้าง แต่ก่อนจะคิดไปไกล บอกกันตรงนี้ค่ะว่าลาบหมาน้อยไม่ใช่ลาบที่ทำมาจากเนื้อน้องหมาตัวน้อยแต่อย่างใด เป็นลาบที่ทำจากพืชท้องถิ่นชื่อ ‘เครือหมาน้อย’ หรือบ้างก็เรียก กรุงเขมา หมอน้อย ก้นปิด ขงเขมา เปล้าเลือด สีฟัน แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น...
18.11.2021
Food Story
4 พันธุ์ส้มโอในคำขวัญ 4 จังหวัด
นอกจากจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ประเทศไทยยังรุ่มรวยด้วยผลไม้ เรียกว่าเป็นแหล่งปลูกผลไม้หลากหลายชนิด คนไทยจึงมีผลไม้สลับสับเปลี่ยนให้ได้กินกันตลอดทั้งปี ความเป็นเมืองแห่งผลไม้นี่เองทำให้ในคำขวัญประจำจังหวัดมักปรากฏชื่อผลไม้เป็นของดีท้องถิ่นร่วมอยู่ด้วยเสมอ ตั้งแต่ เงาะ ทุเรียน กล้วย แต่ส่วนมากก็มักจะแยกกันไป 1 ชนิดต่อ 1 จังหวัด ยกเว้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏตัวในคำขวัญถึง...
12.11.2021
Food Story
ถั่วเน่าซา-ถั่วเน่าเมอะ-ถั่วเน่าบอง ถั่วเน่าหมักสดรสนัวคู่ครัวไทใหญ่
“ถั่วเน่า คือรสชาติของชีวิต” น้ำเสียงหนักแน่นของป้าคำ ชาวไทใหญ่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อธิบายความสำคัญของถั่วเน่าในฐานะเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารการครัวของชาวไทใหญ่จนถึงครัวล้านนา แม้ชีวิตจะต้องจากบ้าน ไปอยู่ต่างเมืองหรือที่ไหนๆ ‘ถั่วเน่า’ ยังคงเป็นเครื่องปรุงที่ชาวไทใหญ่นำติดตัวไปด้วยเสมอ เกลือ พริก และถั่วเน่า คือสามสิ่งสำคัญในการปรุงอาหารของชาวไทใหญ่ เมื่อเกลือหาได้ทุกที่ พริกหาได้ทุกแห่ง แต่กับถั่วเน่าที่ช่วยชูรส เพิ่มความกลมกล่อมให้อาหารไม่ต่างจากปลาร้าของครัวอีสาน...
11.11.2021
Food Story
‘ค่อมเจือง’ น้ำจิ้มคู่โต๊ะคู่ใจคนตรัง
ใครเคยไปเที่ยวตรังแล้วสงสัยมั้ยว่า ทำไมในร้านติ่มซำหาน้ำจิ้มจิ๊กโฉ่ ซอสเปรี้ยวไม่เจอ เจอแต่ซอสสีแดงๆ ส้มๆ ที่ใส่ขวดวางอยู่บนโต๊ะ แล้วก็ไม่เห็นมีโต๊ะไหนขอจิ๊กโฉ่เลย หรือใครลองขอก็อาจจะต้องผิดหวัง เพราะทุกร้านจะมีแต่ซอสสีแดงๆส้มๆ ที่เรียกกันว่า ค่อมเจือง ส้มเจือง หรือว่า กำเจือง เท่านั้น เจ้าซอสเปรี้ยวหรือจิ๊กโฉ่น่ะเหรอ ไม่มีให้เสียหรอก ซึ่งก็เป็นเพราะตรังขึ้นชื่อเรื่องของกินและวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบไม่เหมือนจังหวัดอื่นทางภาคใต้ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ เอกลักษณ์นี้เป็นเสน่ห์ทำให้ใครไปเที่ยวก็หลงใหลและรักในอาหารการกินของคนตรัง ค่อมเจืองก็เป็นหนึ่งในซอสเอกลักษณ์ของตรัง ที่คนในท้องถิ่นและคนที่แวะเวียนมาตรังบ่อยๆ คุ้นชิน เหมือนกับผู้เขียนที่เกิดที่ตรังแม้จะมาใช้ชีวิตรอยู่กรุงเทพฯ ก็ยังชินกับการกินค่อมเจืองมากกว่าจิ๊กโฉ่อยู่ดี คนตรังกินค่อมเจืองกับอาหารแทบจะทุกอย่าง ทั้งกินกับติ่มซำยามเช้า หมูย่าง จาโก้ย (ภาคกลางเรียก ปาท่องโก๋) ส่วนปาท่องโก๋ ของคนใต้นั้นใช้เรียกติ่มซำชนิดหนึ่งเป็นแป้งผสมน้ำตาลนำไปนึ่ง เปาะเปี๊ยะสด เปาะเปี๊ยะทอด กระทงทอง เป็นต้น เรียกได้ว่าทุกอย่างต้องจิ้มกับค่อมเจือง หรือถ้าใครเคยกินเมนูปากหม้อและหูหมู เจ้าน้ำราดสีแดงๆ ก็คือ ค่อมเจืองนี่แหละที่นำมาผสมใหม่ ราดบนเมนูเหล่านั้นเช่นกันและบางครั้งยังเป็นส่วนผสมในการหมักเนื้อหมูเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับหมูย่างเมืองตรังของบางร้านอีกด้วย ค่อมเจืองมีรสชาติที่แตกต่างกันในแต่ละร้าน เพราะว่าแต่ละร้านจะนำไปปรุงรสต่ออีกทีหลังจากที่ได้ค่อมเจืองดิบมาแล้ว โดยค่อมเจืองทำจากมันเทศและถั่วลิสงต้มเปื่อย นำมาโม่แล้วนำไปเคี่ยว ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้มสายชู และเกลือ ก่อนที่จะบรรจุขาย แล้วแต่ละร้านก็จะนำไปปรุงให้ได้รสชาติที่ต้องการ ซึ่งรสชาติของน้ำจิ้มค่อมเจืองนั้นก็จะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเผ็ดเล็กน้อย จึงทำให้เมื่อนำไปกินกับอาหารที่มีความมันจะอร่อยเข้ากันดี บ้านผู้เขียนเองก็มีน้ำจิ้มค่อมเจืองติดตู้เย็นอยู่เสมอ เวลาซื้อขนมจีบ ซาลาเปา หรือปาท่องโก๋มา ก็จะเอามาจิ้มกับค่อมเจืองแทบทุกครั้ง เรียกว่าถ้ากินที่บ้านจะไม่จิ้มกับจิ๊กโฉ่เลย แต่ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าน้ำจิ้มค่อมเจืองเหมาะกับติ่มซำในแบบฉบับของตรังมากกว่า ถ้าใครเคยไปกินติ่มซำในร้านเก่าแก่ของตรัง จะสัมผัสได้ว่าตัวไส้ของติ่มซำจะมีความเผ็ดร้อนของพริกไทย เนื้อหมูจะแน่น แต่ยังฉ่ำอยู่ พอกินคู่กับน้ำจิ้มค่อมเจืองจึงเข้ากันได้ดีมาก และเข้ากันได้ดีกว่าติ่มซำแบบคนกรุง ที่ใช้ไส้หมูกุ้งผสมอยู่จึงไม่แน่นเท่า พอราดน้ำจิ้มค่อมเจืองไปก็จะออกแปลกๆ สักเล็กน้อย...
10.11.2021
Food Story
‘ไก่ดำ’ กับการเซ่นไหว้และทำนายของอาข่าและลาหู่
ความเชื่อเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่ในทุกชาติชน เพราะในอดีตที่ศาสนายังไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนทั่วโลก ผีและวิญญาณคือสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ในวันคืนที่ความหมายของคำว่า ‘ผี’’ ยังไม่ถูกครอบด้วยความน่ากลัว ผีไม่ใช่ดวงวิญญาณที่คอยอาฆาตหลอกหลอน แต่เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง ผีเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ คนในครอบครัว ในชุมชน จึงต้องดูแลพฤติกรรมของกันและกันให้อยู่ในร่องในรอยเสมอ เพื่อที่ว่าผีจะได้พึงพอใจและบันดาลความสุข สุขภาพ และความสมบูรณ์ของเทือกสวนไร่นาให้...
08.11.2021
Food Story
น้ำชุบพรก ของอร่อยในกะลาจากแดนใต้
ภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผัก สำรับของชาวใต้จึงมีผักสดเป็นส่วนประกอบสำคัญในทุกมื้อ จัดมาอย่างเต็มที่ทั้งผักที่หากินได้ในภาคอื่นๆ อย่างกระถิน กระเฉด ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ไปจนถึงผักท้องถิ่นของชาวใต้อย่างลูกเนียงและลูกตอ โดยมีบทบาทเป็นผักรับประทานคู่กับแกง ยำ ขนมจีน จึงเรียกว่า ‘ผักแกล้ม’ หรือ...
04.11.2021
Food Story
ลูกประดอง ของดองเคี้ยวเพลินจากแดนใต้
ลูกประ หรือลูกกระ เป็นเมล็ดของต้นประ ไม้ยืนต้นที่พบได้ในพื้นที่ทางใต้ โดยเฉพาะในป่าดงดิบอย่างเขตเทือกเขาบรรทัดและพื้นที่โดยรอบ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง สันนิษฐานว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ต้นประเมื่อโตเต็มที่อาจสูงได้ราว 20-40 เมตร เรียกได้ว่ามองแทบไม่เห็นยอด ดังนั้นในการเก็บลูกประ แทนที่เราจะแหงนหน้าขึ้นฟ้า...
02.11.2021
Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว
ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ...
01.11.2021
Food Story
มะมุด ความเปรี้ยวหน้าฝนส่งตรงจากแดนใต้
เข้าเดือนมิถุนายน ก็เหมือนก้าวเข้าสู้หน้าฝนอย่างจริงจัง ถ้าถามถึงวัตถุดิบหน้าฝนก็มีให้เห็นอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะพืชผักและผลไม้ แต่จะมีผลไม้อยู่อย่างหนึ่งที่มักจะออกผลในช่วงนี้โดยเฉพาะ และเป็นผลไม้ประจำท้องถิ่น ที่ถ้าไม่ใช่คนท้องถิ่นก็แอบหากินยากสักหน่อย แม้เป็นวัตถุดิบที่หายากผู้เขียนก็อยากจะแนะนำให้ได้รู้จัก วัตถุดิบที่ว่านี้ก็คือ ‘มะมุด’ ‘ส้มมุด’ หรือ ‘มะม่วงป่า’ แล้วแต่แต่ละท้องถิ่นจะเรียกกัน เจ้ามะมุดหรือส้มมุดที่ว่านี้...
22.06.2021
Cooking
อั่ว ศิลปะอาหารยัดไส้ของครัวล้านนา
คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ...
07.06.2021
Food Story
ผัดหมี่โคราชกับส้มตำไทย
1. ทำซอสมะขามปรุงรสโดยเทส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน เทใส่หม้อ คนให้น้ำตาลละลาย นำขึ้นตั้งไฟกลางพอเดือด ลดเป็นไฟอ่อน เคี่ยวประมาณ 10 นาที ยกลงพักให้เย็น 2. ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางจนร้อนใส่กระเทียม หอมแดง และเต้าเจี้ยว ผัดพอสุกหอม...
11.03.2021
Recipe
ชวนทำ ‘ไข่ครอบ’ ความอร่อยจากแดนใต้
แกงเผ็ดรสร้อนแรง กินคู่ไข่เป็ดต้มมันๆ เหยาะน้ำปลาพริกสักหน่อยก็อร่อยแบบหยุดไม่อยู่ เป็นความรู้สึกที่ออกจะส่วนตัวสักหน่อยของคนรักแกงป่า แกงเผ็ดทุกชนิดอย่างฉันค่ะ เวลาไปต่างที่ต่างถิ่นจึงขอให้ได้แวะร้านข้าวแกงยามเช้าสักมื้อ และครั้งที่ได้ไปร้านข้าวแกงที่หาดใหญ่ ก็หมายตาแกงคั่วกระดูกอ่อนหมูไว้ พร้อมกับมองหาไข่เป็ดต้มตามเคย ที่ร้านไม่มีไข่เป็ดต้ม แต่มีไข่เป็ดหน้าตาสวยแปลกเรียกว่า ‘ไข่ครอบ’ มีแต่ไข่แดงนูนขึ้นมาคู่กันเหมือนลูกพีช เขาว่ากินคู่แกงอร่อยดี มื้อนั้นฉันเลยได้กินไข่ครอบคู่แกงเผ็ดเป็นครั้งแรก...
24.02.2021
Food Story
ไข่ข้าว ไข่ตัว ความอร่อยของไข่ไม่ฟักตัว
‘ไข่’ น่าจะเป็นคอมฟอร์ดฟู้ดตั้งแต่เด็กจนโตของหลายคนรวมถึงฉัน แม้ในวัยที่ต่อมรับรสได้ตื่นเต้นกับความซับซ้อนของรสชาติอาหารมากขึ้นตามประสบการณ์การกินที่มาพร้อมความอยากรู้อยากลอง พูดง่ายๆ ว่าชอบสรรหากินไปเรื่อยนั่นแหละค่ะ แต่พอนึกเบื่ออาหาร แค่ไข่เจียวหนานุ่มร้อนๆ กับข้าวสวยก็กลายเป็นมื้อเจริญอาหารไปอีกมื้อ มองย้อนกลับไปวัยเด็ก (ย้อนไกลเกือบ 20 ปี) ก็มี ‘ไข่ปิ้ง’ เป็นมื้อกินเล่นระหว่างวัน...
03.02.2021
Food Story
หมูชะมวง
1. ทำพริกแกงโดยโขลกพริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกไทย และเกลือให้เข้ากันจนละเอียดดี จากนั้นใส่ข่า กระเทียม และหอมแดง โขลกให้เข้ากันอีกครั้งจนเนื้อพริกแกงเนียนเข้ากันดี ใส่กะปิ โขลกให้เข้ากันอีกครั้ง พักไว้ 2. เตรียมหมูสามชั้นโดยล้างหมูสามชั้นกับเกลือให้สะอาด ซับให้แห้ง หั่นเอาหนังหมูออก...
26.01.2021
Recipe
ถั่วเน่า อูมามิของครัวล้านนาและครัวไทใหญ่
“ของกิ๋นลำอยู่ตี้คนมัก ของฮักอยู่ตี้คนเปิงใจ๋” ป้ออุ้ยแม่อุ้ยมักพูดไว้อย่างนั้นเมื่อยามเอ่ยถึงความนิยมชมชอบส่วนตัว ภาษิตล้านนาถ้อยนี้ แปลได้ตรงตัวว่า อาหารจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็อยู่ที่ความชอบของคนกิน ส่วนของชิ้นหนึ่งๆ จะมีคุณค่าต่อใครสักคน ก็ต่อเมื่อเขาถูกตาต้องใจกับของชิ้นนั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คงต้องเห็นด้วยทั้งขึ้นทั้งล่อง ในเมื่อเหตุผลเหล่านี้มันปฏิเสธกันไม่ได้จริงๆ เป็นต้นว่ากลิ่นหมักของถั่วเน่าที่บางคนก็ทำหน้าเบ้ ส่วนอีกบางคนกลับน้ำลายสอนั่นเอง ‘ถั่วเน่า’ หรือถั่วโอ่...
14.09.2020
Food Story
จิ๊นเน่า เนื้อเน่าเหม็นแสนอร่อยของชาวแม่แจ่ม
การกินของเน่า เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารที่มีอยู่ทั่วโลก แต่กับในดินแดนอุษาคเนย์นั้นพบว่ามีหลักฐานการทำของเน่า เช่น ปลาร้า น้ำปลา และของหมักดองอื่นๆ มานานกว่า 3,000 ปีแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัฒนธรรมการทำของเน่าของประเทศในแถบนี้รุ่มรวยและรุ่งเรืองไม่แพ้ดินแดนอื่นๆ หากแต่ว่าในพื้นที่ที่ไม่ติดกับแม่น้ำสายใหญ่ ยังมีภูมิปัญญาการปรุงของเน่าที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะกับพื้นที่ที่ในอดีตนับได้ว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลอย่างอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่...
07.09.2020
Food Story
กังปา ถนอมอาหารโดยน้ำค้างและแสงแดดแบบจีนยูนนาน
การถนอมอาหารเป็นองค์ความรู้ที่ถูกสั่งสมมาในทุกสังคม โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยว่าการล้มสัตว์ใหญ่แต่ละครั้งคือการลงทุน จึงต้องเก็บเนื้อสัตว์ไว้บริโภคให้ได้นานแบบไม่มีเหลือทิ้ง ยิ่งกับในอดีตที่เครื่องทำความเย็นหรือตู้เย็นไม่ใช่ของที่พบเจอได้ทั่วไป ดังนั้นเราจึงเห็นอาหารประเภทแฮมหรือเนื้อแห้งแทบทุกวัฒนธรรม แต่ในบรรดาแฮมและเนื้อแห้งของวัฒนธรรมต่างๆ นั้น ฉันบังเอิญสนใจ ‘กังปา’ มากเป็นอันดับต้น เพราะสะดุดหูชื่อ ‘หมูน้ำค้าง’ จากกาดบ้านฮ่อมาตั้งแต่เด็ก กาดบ้านฮ่อ...
03.09.2020
Food Story
แกงเห็ดขอนขาว
1. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลาง รอให้น้ำเริ่มร้อน ใส่ตะไคร้ ปิดฝา ต้มนานประมาณ10 นาที จนน้ำแกงส่งกลิ่นหอม พอเดือดเปิดฝา ใส่เห็ดขอนขาว ต้มแค่พอเห็ดเริ่มสุกใส่เห็ดฟาง และบวบหอม ต้มนานประมาณ 5 นาที...
23.04.2020
Recipe
ข้าวตัง ข้าวตาก ข้าวแต๋น จากข้าวเหลือสู่ของว่างโอชะ
จะให้พูดกันอีกกี่ครั้งก็ยังคงต้องยืนยันคำเดิมว่า ความสามารถในการหากินของมนุษย์นั้นมีเหลือเฟือจริงเชียว โดยเฉพาะในอดีตที่การงานของทั้งวันแทบจะไม่พ้นเรื่องปากเรื่องท้อง วิถีชีวิตที่เอื้อให้มนุษย์ได้ใกล้ชิดกับอาหารกว่าปัจจุบันมาก ทำให้คนโบราณมีเวลา ภูมิปัญญา และมีเรี่ยวแรงมาดัดแปลงพลิกแพลงสรรพสิ่งให้กลายเป็นของอร่อยได้เสมอ คนไทยเรากินข้าวเป็นคาร์โบไฮเดรตหลัก เราจึงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับข้าวในแทบทุกมิติ ทั้งด้านความเชื่อ ฤดูกาล อาหาร มีผู้เปรียบไว้ว่า สามเหลี่ยมที่เป็นโครงสร้างของอาหารไทยแต่เดิมคือข้าว ปลา...
03.11.2019
Food Story
กินอาหารเช้าที่ตรังเยี่ยงชูชก
จังหวัดตรังเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการกิน ถึงกับมีคนเรียกว่าเมืองชูชก หรือเมืองของสายแดกสายตะกละนั่นเอง กินได้ตั้งแต่เช้ายันค่ำ กินได้ตั้งแต่ตื่นยันนอน แถมแต่ละมื้อในจังหวัดนี้ยังเต็มไปด้วยอาหารหลากหลาย มาแล้วไม่มีวันอดตาย อร่อยทุกอย่างจนได้รับการขนานนามว่า ‘ตรัง เมืองคนช่างกิน’ ที่เรื่องอาหารการกินขึ้นชื่อจนดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมาย ให้มาสัมผัสการกินและการเป็นอยู่ของคนจังหวัดนี้ แต่ครั้งนี้เราจะพาไปสำรวจอาหารเช้าเป็นพิเศษเพราะเป็นมื้อเช้าขนานใหญ่ จัดเต็ม อลังการยิ่งกว่าจังหวัดไหนๆ ...
26.07.2019
Food Story
Previous
1
2
3
4
5
Next