Found 64 results for Tag : อาหารโบราณ
เข้าครัวทำ ‘แกงรัญจวน’ ภูมิปัญญาอาหารไทยถือเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น อาศัยการส่งต่อจากการเป็นลูกมือของแม่ครัวมากฝีมือ ฝึกปรือเคล็ดลับวิชาตั้งแต่ยังเด็ก เห็นได้จากเรื่องเล่าของเชฟอาหารไทยในปัจจุบันว่าเคยมีประสบการณ์ช่วยแม่ช่วยยายทำกับข้าวมาตั้งแต่เด็กน้อยด้วยกันทั้งนั้น เคล็ดลับอาหารไทยจึงต้องการอาศัยการเรียนรู้จากการปฎิบัติจริงเท่านั้น น่าเสียดายที่คนไทยสมัยใหม่ช่วยที่บ้านทำอาหารกันน้อยลง ทำอาหารกินกันน้อยลง พึ่งพาอาหารนอกบ้านมากขึ้น อาหารไทยโบราณจึงค่อยๆ หายหน้าหายตากันไปตามกาลเวลา ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบอาหารไทยเป็นอย่างมาก รู้สึกได้ถึงความประณีต ศาสตร์ของการผสมผสานรสชาติ การเลือกใช้เครื่องสมุนไพร ผักผลไม้ตามฤดูกาล... 10.03.2020 Food Story
ถอดรหัส ‘อาหารว่างไทย’ จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานเป็นกาพย์ที่ผู้เขียนเองได้ร่ำเรียนมาในคาบภาษาไทยตั้งแต่สมัยวัยละอ่อน และเชื่อว่าหลายคนต้องเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ในตอนนั้นจำได้เพียง…นั่งอ่านจนท้องร้องกันเป็นแถวๆ ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ของว่าง แถมยังมีผลไม้อีก เรียกว่าจัดสำรับขึ้นโต๊ะได้เลย กาพย์เห่นี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการแต่งบทกวีได้อย่างไพเราะ โดยมีการรำพึงรำพันสื่อถึงความในพระราชหฤทัยทั้งสุขและโศกเศร้าของพระองค์ให้กลมกลืนไปกับอาหารแต่ละชนิดได้อย่างมีเสน่ห์ ทั้งยังอุปมาอุปไมยเชื่อมโยงอาหารกับนางอันเป็นที่รักของพระองค์ (สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี... 08.11.2019 Food Story
ข้าวห่อ ข้าวกระทง ภูมิปัญญาการใช้ใบไม้ของคนโบราณ รู้สึกเหมือนกันไหมว่า อาหารที่หุ้มด้วยใบตองนั้นมีเสน่ห์ เป็นความประณีตในการกรีดรีดใบตองให้เข้าเหลี่ยมเข้ามุมพอดีกับอาหารข้างใน และด้วยรูป กลิ่น สีของใบตองนั้นยังชวนกระตุ้นน้ำลาย ชวนให้หิวขึ้นอีกหลายเท่า อาจเพราะ ‘ต้นกล้วย’ เป็นพืชที่ยืนต้นคู่เคียงครัวไทยมานานรวมถึงในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้นก็เช่นกันที่ใบตองกลายเป็นชิ้นส่วนสำคัญในสำรับอาหารแตกต่างกันเพียงรายละเอียดการนำมาใช้ซึ่งแยกย่อยออกตามความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมรสนิยมรวมถึงประเพณี  เช่นพม่าในยุคหนึ่ง ใบตองนั้นเทียบได้กับของสูง มีเพียงพระมหากษัตริย์และสมาชิกราชวงศ์เท่านั้นที่สามารถใช้ใบตองรองในสำรับ และถึงแม้จะมีต้นกล้วยเติบโตอยู่ในอาณาจักรพุกามมากมาย ทว่าใบตองกลับต้องเป็นหม้าย... 29.10.2019 Food Story
‘สัพแหยก’ อาหารเก๋แห่งกุฎีจีน อร่อยจนต้องทำเอง! ใครเคยดูละครเรื่องบุพเพสันนิวาสหรือผ่านการเรียนวิชาประวัติศาสตร์มาก็คงจะพอคุ้นเคยกับ ‘ชาวโปรตุเกส’ ชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาทำการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามประเทศ อีกทั้งยังได้เข้าร่วมรบในกองทัพของสยามจนได้รับพระราชทานที่ดินเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยพร้อมทั้งยังให้สร้างโบสถ์ไว้เป็นศูนย์รวมจิตใจอีกด้วย ซึ่งที่ดินตรงนี้ไม่เพียงมีแค่ชาวโปรตุเกสยังมีชนชาติอื่นๆ ทั้งไทย จีน ญวนร่วมอาศัยอยู่ด้วย เกิดการผสมผสานประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรมจนกลายมาเป็น ‘ชุมชนกุฎีจีน’ ปัจจุบัน ชุมชนชาวคริสต์อันแสนเก่าแก่ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายาวนานกว่า... 09.08.2019 Food Story
ตำรับต่างแดนในตำราอาหารไทยเล่มแรก ‘แม่ครัวหัวป่าก์’ ‘แม่ครัวหัวป่าก์’ ไม่ว่าจะเป็นคนทำหรือไม่ทำอาหาร ก็คงเคยผ่านหูชื่อนี้กันมาบ้างสักครั้ง อาจเพราะสถานะ ‘ตำราอาหารไทยเล่มแรก’ ที่ทำให้คำๆ นี้ขจรขจายไปทั่ว และถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ขีดเส้นใต้เน้นย้ำถึงการเป็นหมุดหมายสำคัญของ ‘อาหารไทย’ ที่เราชาวไทยภูมิใจในความเอร็ดอร่อยกันมาจนทุกวันนี้ แต่ไม่ใช่แค่อายุอานามร่วมร้อยปีหรอกที่ทำให้แม่ครัวหัวป่าก์ถูกกล่าวขาน แต่เพราะตำราอาหารเล่มนี้ซ่อนรายละเอียดที่สะท้อนวัฒนธรรมการกินอยู่ของชาวสยามยุคต้นรัตนโกสินทร์ไว้อย่างมีแบบแผนและแสนน่าสนใจ ไม่ว่าจะการหยิบวิธีชั่งตวงวัดอย่างฝรั่งมาใช้สร้างมาตรฐานให้สูตรอาหารเป็นครั้งแรก รวมถึงเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการจัดการครัวเรือน... 07.05.2018 Food Story