INGREDIENTS
METHOD
1. เตรียมกระทงใบเตยโดยเลือกใบเตยที่มีความกว้างประมาณ 1 นิ้ว ใช้ใบที่ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป ใช้กรรไกรหรือมีดตัดใบเตยให้ยาวชิ้นละประมาณ 15 ซม. แล้วตัดแบ่งเป็น 5 ส่วนเท่าๆกัน (ตัดจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ) แล้วนำใบเตยสอดขัดกันให้เป็นกระทงทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เย็บตรงมุมกระทงด้วยด้ายสีเขียวให้กระทงยึดติดกัน เรียงใส่ถาดประมาณ30 กระทง เตรียมไว้
2. ทำตัวตะโก้โดยผสมแป้งถั่วเขียว น้ำตาล ข้าวโพด และน้ำใบเตย เข้าด้วยกันในกระทะทอง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง กวนจนแป้งสุกใส รีบตักส่วนผสมหยอดใส่กระทงใบเตยประมาณ 1/2 ของกระทง โดยหยอดเร็วๆ เพราะเมื่อตัวขนมเย็นจะแข็งตัว
3. ทำหน้าตะโก้โดยผสมแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล เกลือ และกะทิ เข้าด้วยกันในกระทะทอง ใส่ใบเตย ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง กวนจนข้น ลดเป็นไฟอ่อน กวนจนแป้งสุก ยกลง ตักใบเตยออก
4. ตักหน้าตะโก้หยอดบนตัวตะโก้ให้พอดีกับขอบกระทง ทำจนหมด
ลักษณะที่ดี
- ตัวขนมและหน้าขนมติดกันไม่หลุดออก เนื้อนุ่มอยู่ตัว ไม่เละ หน้าขนมต้องเรียบเนียนเสมอกัน
- หอมกลิ่นใบเตยและกะทิสด
- มีรสหวาน มัน เค็มเล็กน้อยพอกลมกล่อม
ข้อน่ารู้
- จะเปลี่ยนจากกระทงใบเตยเป็นกระทงใบตองหรือจะใส่ถาดแล้วตัดก็ได้
- ตะโก้จะเรียกชื่อตามสิ่งที่ใส่ในตัวขนม เช่น ตะโก้เผือก ตะโก้แห้ว ตะโก้มะพร้าวอ่อน ตะโก้เม็ดบัวเป็นต้น
- เมื่อตักหยอดตัวขนมแล้วควรรีบหยอดหน้าขนมตามลงไปขณะที่ตัวขนมยังอุ่นอยู่เพื่อให้ขนมติดกันสนิท
- ถ้ากวนหน้าและตัวขนมในปริมาณมาก ให้ตั้งกระทะที่ใส่ขนมบนกระทะอีกใบที่ใส่น้ำลงไปประมาณ 1/3 ของกระทะ แล้วยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อนเพื่อไม่ให้ส่วนผสมแข็งตัวก่อนหยอดเสร็จ
สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย