Found 63 results for Tag : น้ำตาล
กว่าจะเป็น ‘น้ำตาลอ้อย’ หวานหอมจากธรรมชาติ ขึ้นชื่อว่าน้ำตาลล้วนให้ความหวานแบบไม่ต้องสงสัย หวานมาก หวานน้อย หวานแหลมหรือละมุนก็อยู่ที่ชนิดน้ำตาล เอกลักษณ์ของ ‘กลิ่น’ จึงเป็นสิ่งหนึ่งแยกคุณสมบัติของน้ำตาลที่คนทำอาหารเลือกหยิบมาใช้ เราจึงเดินทางตามหากลิ่นหอมหวานกันที่ ‘โรงหีบอ้อย’ ตำบลหนองบัว จังหวัดจันทบุรี เพื่อเข้าใจที่มาของ ‘น้ำตาลอ้อย’ หรือที่หลายคนเรียกว่า น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโอ้วทึ้ง ให้ความหอมหวานอบอวลในอาหาร ขนม เครื่องดื่มรวมถึงเบเกอรี    ชุมชน ‘หนองบัว’ ชุมชนเล็กๆ ห่างจากตัวเมืองจันท์ราว 10 กิโลเมตร... 05.03.2022 Food Story
น้ำตาลชก น้ำตาลเหนา รสหวานลึกกลางเขาหิน “25 ปี ออกลูกหนึ่งครั้ง และปีที่ 26 ถึงจะได้กินน้ำตาลชก”   ด้วยความสัตย์จริงของคนที่เคยกินลูกชกลอยแก้วเนื้อนุ่ม คล้ายลูกตาล ที่เขาว่า 25 ปีถึงจะออกผลมาให้เรากินสักครั้งและเคยลิ้มรสหวานจากน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย น้ำตาลโตนด เลยออกจะประหลาดใจเมื่อพี่ชาวพังงาบอกว่าจะพาไปดูน้ำตาลชกจนต้องถามย้ำปลายสายอีกครั้งว่า “น้ำตาลชกคืออะไรนะคะ?” “ถิ่นกำเนิดน้ำตาลชก น้ำตกงามตา แหล่งเรียนรู้ศาสนา ภูผาน่าชม” คือคำขวัญของตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ที่เหมือนลายแทงให้เราออกตามหา ทำความรู้จักกับรสหวานของน้ำตาลชกกันถึงถิ่น ชุมชนที่ล้อมรอบด้วยเขาหินขนาดใหญ่ตามธรรมชาติที่ต้นชกอาศัยเติบโต เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาการเก็บลูกชกและเคี่ยวน้ำตาลที่ถ่ายทอดกันมากว่าร้อยปี ตามบังรีม และยาโกบ จากรัง สองปราชญ์แห่งบ้านคลองบ่อแสน ไปเก็บน้ำตาลจากต้นชก เคี่ยวจนข้นเหนียว หยอดเป็นแว่นหวานที่ในหนึ่งปีจะมีให้เก็บเกี่ยวความหวานเพียง 6  เดือน เก็บน้ำตาลจากต้นเหนาสูงกลางเขาหิน กับวลีลูกฆ่าแม่    ‘ต้นชก’ หรือตามภาษาถิ่นที่คนบ้านคลองบ่อแสนเรียกว่า ‘ต้นเหนา’ คือพืชสกุลปาล์ม ขึ้นตามเขาหิน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20 – 25 เมตร ใช้เวลาเติบโตราว 25 ปีกว่าจะให้ผลเก็บกินได้ในช่วงเดือนตุลาคม และออกผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะค่อยๆ ยืนต้นตาย ต้นเหนาจึงมีอีกชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ต้นลูกฆ่าแม่’ คือออกลูกเมื่อไรก็นับถอยหลังรอยืนต้นตายได้และปีถัดไปหลังออกผล ในปีที่ 26 จึงจะได้ลิ้มรสความหวานจากช่อดอกเหนา โดยเริ่มเก็บน้ำหวานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี ไปจนกว่าต้นเหนาจะตายในอีก 4-5 ปี ฟังดูเศร้าๆ นะคะ แต่ 4- 5 ปีนับจากนี้ ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่หอมหวานของต้นเหนาเลยละ เช้าตรู่ที่บ้านบ่อแสน คุณพ่อยาโกบ อดีตนักปีนต้นเหนาที่ละวางจากความสูงหยุดปีนต้นแล้วมาออกแรงเคี่ยวน้ำตาล เล่าเรื่องต้นเหนาขณะพาเราเดินไปดูบังรีมที่มีภารกิจเก็บน้ำตาลเช้านี้ “พอถึงฤดูเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านก็จะพากันไปเดินดูต้นเหนาว่าออกดอกแล้วไหม ถ้าออกดอกแล้วก็ไปตัดไม้มาทำแคร่ ไว้ปีนขึ้นไปบนต้น เพราะต้นเหนานั้นสูงมาก ก็เอาไม้ไปนวดงวงช่อดอกเหนาให้น่วม โยกงวงไปมา แกว่งไปแกว่งมาให้น่วมก็ตัดดู ถ้ามีน้ำย้อยก็ตัดเอากระบอกไม้ไผ่รองได้เลย ระหว่างตัดงวงเพื่อเอาน้ำหวาน ถ้าผิวงวงขรุขระเพราะคมมีด ต้องใช้  ‘ใบปด’ ที่ผิวใบมีความหยาบคล้ายกระดาษทรายขัด กัดหน้างวงให้เรียบน้ำตาลก็จะไหลได้สะดวก”  ไม่พูดพร่ำทำเพลง บังรีม ปราชญ์นักเก็บลูกเหนาและน้ำตาลเหนา หุ่นลีน เดินด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง ผ้าคาดเอวเหน็บมีดด้ามสั้น พาเราลัดเลาะสวนผลไม้ไปไม่ไกล พบเขาหินที่มีต้นเหนาขึ้นอยู่ประปราย บังรีมปีนต้นเหนาที่คะเนจากสายตาแล้วสูงเอาการ เพียงอึดใจมีดสั้นก็ปาดงวงเอาน้ำหวานจนเต็มกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ และค่อยๆ หย่อนกลับลงมา  ... 18.02.2022 Food Story
ทำน้ำตาลจากหัวผักกาดก็ได้เหรอ?! โดยส่วนตัวแล้ว ผมผ่านการทำอาหารด้วยสารให้ความหวานมามากมาย ทั้งน้ำตาลอ้อย น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลข้าวโพด หรือสารแทนความหวานต่างๆ แต่ก็ยังต้องหยุดให้ความสนใจกับเรื่องราวของน้ำตาลที่มีที่มาจากพืชตระกูลหัวไช้เท้า   ครั้งแรกที่ผมได้รู้จักน้ำตาลหัวผักกาด มาจากรายการในประเทศญี่ปุ่น ที่พาผู้ชมไปทัวร์ชิมขนมหวานในเมืองต่างๆ ได้เล่าเรื่องราวในการทำอาหาร และพูดถึงการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ จนได้ชะงักกับประโยคหนึ่งที่ว่า “จะใช้น้ำตาลก็ต้องเป็นน้ำตาลหัวผักกาดจากเมืองฮอกไกโดเท่านั้น” ซึ่งเป็นประโยคที่ได้ยินบ่อยตามรายการต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น... 14.02.2022 Cooking
สารพัดเมนู ‘หวานทั้งต้น’ ของตาลโตนด รู้กันไหมคะว่าต้นตาลโตนดนั้นสรรสร้างความหวานให้กับเราได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับคนเมือง การได้รับความหวานจากธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากความหวานจากน้ำตาลทรายนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ยิ่งถ้าไม่ได้เป็นคนก้นครัวแล้วละก็ จะไม่ค่อยสรรหาน้ำตาลหลากหลายชนิดมาลองมาชิมสักเท่าไร ซึ่งจริงๆ แล้วนอกจากน้ำตาลทรายที่เรากินๆ กันอยู่ ยังมีน้ำตาลมะพร้าว ที่ได้จากงวงของต้นมะพร้าว เฉกเช่นเดียวกันกับน้ำตาลโตนด ที่ได้ความหวานมาจากงวงของต้นตาลโตนด และเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำตาลโตนดอร่อยต้องเมืองเพชรฯ เท่านั้น เพราะเป็นแหล่งปลูกต้นตาลมากที่สุด... 08.02.2022 Cooking
ประวัติศาสตร์รสขมของน้ำตาล เรื่องการค้าทาสในอุตสาหกรรม จากน้ำอ้อยสู่น้ำตาล และการขนส่งความหวานไปทั่วโลก ก่อนหน้าที่มนุษยชาติจะรู้จักการผลิตน้ำตาล เราใช้น้ำผึ้งเป็นเครื่องปรุงรสหวาน ส่วนความหวานจากอ้อยก็ใช้กันอย่างจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ชนชาติ และร้อยทั้งร้อยเป็นเพียงการเคี่ยวเพื่อให้ได้รสหวาน หรืออย่างมากที่สุดก็เป็นการคั้นน้ำอ้อยดื่มเท่านั้น แถมรสหวานของน้ำอ้อยเป็นรสหวานอันแสนจำกัด น้ำอ้อยเมื่อคั้นมาแล้วก็จำต้องดื่มกันสดๆ ในที่นั้น ไม่สามารถขนย้ายออกไปได้ไกลๆ เพราะน้ำอ้อยเน่าเสียง่าย  มนุษย์รู้จักกับอ้อยมานานราว 5,000 ปีแล้ว... 07.02.2022 Food Story
5 เรื่องฉลากน้ำตาลในอาหาร ที่เราไม่ได้อ่าน ในอดีตที่มนุษย์ยังไม่รู้จักวัฒนธรรมการเพาะปลูก บรรพบุรุษวานรของเราต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปกับอาหารหาอาหารเพื่อดำรงชีพ ดังนั้นสัญชาติญาณจึงสั่งให้เรามองอาหารรสหวานอยู่เสมอ เพราะรสหวานหมายถึงการอุดมไปด้วยพลังงานมากมาย เมื่อบรรพบุรุษวานรหาผลไม้กินได้สักลูกหนึ่ง สมองก็จะหลังสาร “โดปามีน” ออกมาเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง สารโดปามีนคือสารที่ทำให้เรามีความสุข เมื่อกินหวาน ร่างกายหลังโดปามีนมาแล้ว บรรพบุรุษมนุษย์วานรของเราก็จะมีแรงใจไปออกเดินทางตามหาผลไม้ได้ต่อ เรียกว่าสัญชาติญาณการกินหวานของมนุษย์เป็นกลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เผ่าพันธุ์เราอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน แม้ในภายหลังที่เราเพาะปลูกมาจนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว สัญชาติญาณการกินหวานก็ยังคงอยู่... 05.02.2022 Food Story
เข้าสวนเรียมอรุณไปดูวิธีทำ ‘น้ำตาลมะพร้าวเนื้อแท้’ กับเดอะมนต์รักแม่กลอง “ไม่ลืมน้ำใจไมตรีสาวงามบ้านบางคนทีเอื้ออารีเรียกร้องให้ดื่มน้ำตาลพร้อมกับยิ้มหวานของนวลละอองก่อนลาจากสาวแม่กลองเราร่วมปิดทองงานวัดบ้านแหลม” นี่เป็นส่วนหนึ่งจากเพลง ‘มนต์รักแม่กลอง’ ผลงานจากปลายปากกาของครูเพลง ไพรบูลย์ บุตรขัน ที่เขียนพรรณาถึงความงามความรักที่มีต่อสาวแม่กลองไว้อย่างหวานฉ่ำ สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ถ้าถามว่าเล็กแค่ไหนก็คือมีเพียง 3 อำเภอเท่านั้น แถมยังมีประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ... 31.01.2022 Food Story