ยำหัวปลีเป็นยำโบราณของเขมรและไทย โดยเครื่องเคราและน้ำยำแตกต่างกันไป ยำหัวปลีของเขมรยังเป็นที่นิยมถึงปัจจุบัน มีในเมนูร้านอาหารสมัยใหม่ แต่ยำหัวปลีของไทยมักหากินได้เฉพาะตามบ้าน ปลีกล้วยสด เมื่อนำมายำเนื้อจะกรอบ หวาน ผสมไก่บ้านต้มฉีกเส้นพอคำ คลุกเคล้าจนเข้ากัน รับประทานกับ
ถั่วลิสงคั่วป่นเพิ่มรสมันอร่อย
หมูแดงเป็นอาหารจีนที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลก ตำรับโบราณนำเนื้อหมูปรุงรสแล้วไปเสียบแท่งเหล็ก แขวนไว้ในเตาไฟเพื่อทำให้สุก นิยมกินกับแป้งเช่น ซาลาเปา บะหมี่ หรือข้าว กล่าวกันว่าหมูแดงของจีนเป็นต้นกำเนิดของหมูชาชู หมูตุ๋นเลิศรสในราเม็งญี่ปุ่น ตำรับนี้นำหมูแดงมาห่อแบบ Samosa คือแป้งเพสทรีห่อไส้แล้วนำไปทอด เป็นสตรีทฟู้ดยอดนิยมในอินเดีย ไส้ส่วนมากมักเป็นมันฝรั่ง หอมใหญ่ ปรุงรสด้วยเครื่องเทศเสิร์ฟกับน้ำจิ้มหรือ Chutney โดยวิธีการห่อเป็นทรงสามเหลี่ยมป่องตรงกลางถือเป็นเอกลักษณ์ของซาโมซา
โรจักแบบบรูไน มีวิธีการเสิร์ฟทันสมัย คือ ตัดแต่งผลไม้ให้ดูสวยงามน่ารับประทาน เสิร์ฟเป็นเครื่องจิ้มพร้อมซอสโรจักแบบบรูไน มีเอกลักษณ์คือทำจากเนยถั่ว โรจักแบบมาเลเซีย และอินโดนีเซียเป็นแบบซอสกะปิหวาน
ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม แทบทุกส่วนของบัวกินได้ แม้แต่ใบบัวก็ใช้เป็นประโยชน์ ยำ ไหลบัวตำรับนี้ใช้กุ้งและเนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ประกอบ แต่อาจเปลี่ยนเป็นเนื้ออกไก่แทนเนื้อหมู หรือใช้กุ้งอย่างเดียวก็ได้ รวมทั้งอาจเพิ่มผักให้รสสัมผัสกรุบกรอบ เช่น ถั่วงอกและแครอทซอยเส้น เข้ามาได้อีกต่างหาก
โมจิ หรือก้อนแป้งข้าวเหนียว ในอดีตการทำโมจิเป็นงานที่ต้องใช้ความร่วมแรงร่วมใจกัน คนหนึ่งถือไม้คอยตำเป็นจังหวะในครกขนาดยักษ์อีกคนคอยกลับแป้งเพื่อให้ตำได้ทั่วถึง คนตำมักเป็นผู้ชายเพราะต้องใช้แรงมากถือเป็นอาหารพิเศษที่จะได้กินช่วงเทศกาล โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ซึ่งเชื่อกันว่าการกินโมจิจะนำโชคดีและความมั่งคั่งมาให้ โมจิยังเป็นอาหารมงคลในงานวันเกิดและงานแต่งงานอีกด้วย
ยำเขมรจานนี้พัฒนามาจากอาหารดั้งเดิม คือ ยำเนื้อดิบ แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคเนื้อดิบ จึงนำมาย่าง จะสุกมากสุกน้อยแล้วแต่ชอบ ทั้งนี้ยังมีการนำเนื้อที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาใช้ ทำให้ยำ จานนี้เป็นอาหารสมัยใหม่และมีราคามากขึ้น
เผือกถือกำเนิดในอินเดียกว่า 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆในเอเชีย กล่าวกันว่าผู้คนกินเผือกเป็นอาหารหลักมาก่อนข้าว อาจเป็นเพราะเผือกปรุงสุกง่ายและสะดวกกว่า แค่ผิงไฟก็สุกแล้ว (ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือปรุงอาหาร การหุงข้าวจึงง่ายขึ้น) ครัวไทยนิยมปรุงเผือกเป็นขนมหวานและอาหารว่างมากกว่าของคาว แต่ก็พอมีให้เห็น เช่น แกงปลาต้มเผือกของอีสาน แกงเลียงเผือกของปักษ์ใต้ ครัวจีนใช้ทำหัวปลาต้มเผือก ข้าวอบเผือก ข้าวห่อใบบัว บ๊ะจ่าง ข้าวผัดใส่เผือก
ซอสถั่วรสเผ็ด (spicy peanut sauce) มีรสชาติเผ็ด แต่ไม่มาก เป็นจุดเด่นของอาหารบรูไนและมาเลเซีย
นิยมใช้ถั่วลิสงในซอสของอาหารหลายชนิด ทำให้ซอสข้นและหอมมัน
ขนุนอ่อนใช้เป็นผักแพร่หลายในอินโดนีเซีย ไทย กัมพูชาและเวียดนาม รสสัมผัสของขนุนอ่อนปรุงสุกคล้ายเนื้อสัตว์ ยำตำรับนี้ปรุงในกระทะด้วยไฟอ่อน ต่างจากยำสลัดทั่วไป
คนญี่ปุ่นชาติเดียวกินปลาแซลมอนมากถึงหนึ่งในสามของผลผลิตทั่วโลกโดยกว่าร้อยละแปดสิบของปลาชนิดนี้มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง แซลมอนธรรมชาติ (wild salmon) มีราคาแพงกว่า เนื้อสีส้มจัดอมแดงจากปลาและสัตว์น้ำเล็กๆที่กินเข้าไป (เนื้อปลาเลี้ยงมีสีส้มจากการผสมสีลงในอาหารที่ให้ปลา) เนื้อนุ่ม แน่น และมัน แข็งแรงกว่าปลาเลี้ยงมาก เนื่องจากตัวที่อยู่รอดจนโตต้องผ่านบททดสอบจากธรรมชาติตั้งแต่วันที่ออกจากไข่เลยทีเดียว สายพันธุ์ที่เหล่าเชฟยกให้เป็นที่สุดในด้านรสชาติคือ Wild Alaskan Salmon
ยำส้มโอนอกจากมีในกัมพูชาแล้ว ยังมีในพม่าและไทย ถือเป็นยำโบราณอย่างหนึ่งในสุวรรณภูมิ ยำ ส้มโอแบบเขมรขนานแท้ใช้ส้มโอออกรสเปรี้ยวและขมเล็กน้อย แต่ในตำรับนี้ใช้ส้มโอขาวน้ำผึ้งรสเปรี้ยวอมหวาน ทำให้ยำแล้วไม่แฉะน้ำ รสชาติเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่
เมนูนี้ได้ไอเดียมาจาก Kebab หรือเนื้อสัตว์เสียบแท่งเหล็กปิ้งไฟ ซึ่งเป็นวิธีการปรุงอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนในแถบเอเชียกลาง การนำเนื้อมาปิ้งย่างโดยตรงบนไฟเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้น้ำ ง่ายและเหมาะกับวิถีชีวิตที่ต้องย้ายถิ่นฐานอยู่เสมอ วัฒนธรรมการกินแบบนี้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกพร้อมๆกับการเดินทางของคนเลี้ยงสัตว์ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเครื่องปรุงที่มีในท้องถิ่น อาหารอร่อยลือลั่นอย่างสะเต๊ะ ก็มีรากฐานมาจากเนื้อปิ้งกลางทุ่งเลี้ยงสัตว์นี่เอง
สลัดบรูไนจานนี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การลวกผัก การลวกผักให้น่ากินมีเคล็ดลับ คือ น้ำที่ใช้ลวกผักต้องเดือด เพื่อสงวนคุณค่าทางอาหาร และทำให้ผักสุกเร็ว เติมเกลือกับน้ำมันเล็กน้อยเพื่อให้ผักมีรสชาติและมีสีสวย เมื่อผักสุกแล้วนำขึ้นใส่น้ำเย็นจัด (น้ำใส่น้ำแข็ง) ทันที เพื่อให้ผักระบายความร้อนและไม่สุกต่อ ผักจะมีสีสวย กรอบน่ากิน
ยำมะละกอเป็นอาหารริมทางยอดนิยมในฮานอย แต่รสชาติไม่เหมือนกับส้มตำ มะละกอของไทยแต่อย่างใด รสเปรี้ยวหวานอ่อนๆ หอมกลิ่นผักแพว
ในญี่ปุ่น แกงกะหรี่เป็นอาหารที่ปรุงกินกันทั่วไปทั้งในโรงอาหารของโรงเรียนร้านอาหาร และครัวบ้าน โดยมีต้นกำเนิดมาจากผงกะหรี่สไตล์อังกฤษ (ซึ่งคนอังกฤษรับมาจากอินเดียและปรับรสให้เบาลง) แพร่หลายเข้ามาใน ช่วงทศวรรษที่ 1870 โดยเข้ามาในรูปแบบซุปข้นที่ใช้ขนมปังจิ้มกินคนญี่ปุ่นนำผงแกงกะหรี่ที่หวานและรสเบากว่าแบบต้นตำรับจากอินเดียนี้มาปรุงเข้าคู่กับอาหารประจำวันของตนคือข้าว ปัจจุบันเครื่องปรุงและรสชาติแกงกะหรี่นั้นหลากหลาย เครื่องปรุงมีทั้งเนื้อ หมู ไก่ อาหารทะเล แต่ละภูมิภาคก็มีเครื่องปรุงเฉพาะต่างกัน เช่น ที่คุมาโมโตมีแกงกะหรี่เนื้อม้า ฮอกไกโดมีแกงกะหรี่หมึกดำ ฮิโรชิมามีแกงกะหรี่หอยนางรม
ยำจานนี้ใช้เนื้อปลาทับทิมมาทอดไฟกลาง เพื่อให้เนื้อปลาสุกเหลือง กรอบนาน ไม่อมน้ำมัน หากไม่มีเนื้อปลาทับทิม ใช้เนื้อปลาชนิดอื่นที่มีขายตามท้องตลาด เช่น ปลากะพง ปลาเก๋า เป็นต้น
Age Dofu หรือ Abura Age ในสำรับญี่ปุ่นคือเต้าหู้ที่นำไปทอดน้ำมันจนผิวนอกเป็นสีเหลืองทอง ซึ่งในญี่ปุ่นมีการทำขายสดๆทุกวันเคล็ดลับที่ทำให้เต้าหู้ทอดไม่มันมากคือการนำไปแช่น้ำร้อน มีขายทั้งแบบบางและแบบหนา แบบบางเมื่อหั่นครึ่งจะมีลักษณะเหมือนกระเป๋าภายในยัดไส้อาหารได้ ชาวญี่ปุ่นนิยมนำไปยัดไส้ข้าวซูชิเรียกว่า Inari Zushi หรือใช้ทำซุปมิโสะใส่เต้าหู้ ตำรับนี้นำเต้าหู้กระเป๋ามายัดไส้ไก่ผัดซอสแบบจีนๆ แต่สามารถพลิกแพลงไส้ได้ตามชอบ
บางทีเรียก “สลัดอินโดนีเซีย” จริงๆแล้วเป็นยำมากกว่า เพราะกรรมวิธีปรุงเป็นการคลุกผักต้มสารพัดชนิดกับซอสถั่วลิสงเรียกว่า bumbu gado gado โดยพื้นฐานแล้ว กาโด กาโดเป็นอาหารริมบาทวิถี โดยเฉพาะแผงขายอาหารเรียกว่า “warung” และมักราดซอสอย่างชุ่มฉ่ำ แต่ในร้านอาหารและภัตตาคารหรูก็เสิร์ฟกาโด กาโดด้วยเหมือนกัน สำหรับคนอินโดนีเซีย กาโด กาโดเป็นอาหารว่างที่กินเอาอิ่มได้สบายๆ
คนไทยเรารู้จักผัดยอดฟักแม้วในรสสัมผัส หวานกรอบ เป็นผักอีกชนิดที่อร่อยเเละยังมีประโยชน์ เป็นตัวช่วยบำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต คนไทยส่วนใหญ่มักจะนำมาทำเมนูง่ายๆ เช่น ฟักแม้วผัดน้ำมันหอย แกงอ่อมใส่ฟักแม้ว หรือเเม้กระทั้งยำยอดฟักแม้ว แต่คนเวียดนามเอายอดฟักแม้วมาลวกพอสุกแล้วยำง่ายๆกับน้ำปลาและน้ำส้ม ให้รสชาติเปรี้ยวเค็มอ่อนๆ อร่อยไปอีกแบบ สูตรนี้เราเพิ่มเติมกุ้งและหมึกลวกลงไปให้กินอิ่มท้องมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่ใส่ก็ได้
Duck a’ l'Orange หรือเป็ดอบซอสส้ม เป็นอาหารฝรั่งเศสจานคลาสสิกที่จับเอารสเปรี้ยวของส้มมาตัดรสกับเนื้อเป็ดซึ่งมีความมันสูงตำรับนี้นำไอเดียกินเป็ดกับส้มมาผนวกกับวิธีการจัดเสิร์ฟเป็ดปักกิ่งของจีน คือกินกับแตงกวาแก้เลี่ยน ห่อด้วยแผ่นแป้ง (ในที่นี้เป็นโรตีทอด) ให้รสเค็มของมิโสะเสริมรสเปรี้ยวๆหวานๆของส้มและเนื้อเป็ดกรอบมัน