“ไก่ทอดเกาหลี” เมนูของโปรดของฝ่าบาท โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนน่องไก่นำมาหมักกับน้ำส้มสายชูหมักจากข้าว ซีอิ๊ว มิริน กระเทียม และพริกไทย หมักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้รสชาติซึมเข้าเนื้ออย่างเต็มที จากนั้นก็นำแป้งทอดกรอบ (ซึ่งครั้งนี้ลองซื้อแป้งทอดกรอบของเกาหลีมาใช้ดูว่าจะเป็นยังไง) ใส่ลงในอ่างผสมไก่เคล้าให้ส่วนผสมแป้งเคลือบเนื้อไก่จนทั่ว ซึ่งลักษณะที่ได้จะเป็นคล้ายๆแป้งเปียกหน่อยๆ จากนั้นก็นำเนื้อไก่มาเคล้ากับแป้งแห้งอีกครั้งก่อนนำไปทอดในน้ำมัน โดยจะทอดด้วยกัน 2 รอบโดยรอบแรกจะทอดด้วยน้ำมันปานกลางเสียก่อน แล้วนำขึ้นมา แล้วเร่งไฟแรงแล้วนำไก่ลงทอดอีกครั้ง การทอดไก่ 2 ครั้งนั้นจะเป็นการไล่น้ำมันออกทำให้ไก่ไม่อมน้ำมัน และผิวกรอบอีกด้วย ส่วนตัวซอสกาลิคนั้นก็เคี่ยวส่วนผสมให้งวดเล็กน้อยจากนั้นก็นำไก่ลงไปเคล้าหรือใช้วิธีใช้แปรงทาซอสให้ทั่วชิ้นไก่ก็ได้เช่นกัน
“ไข่นกกระทาต้มซีอิ๊ว” ของโปรดของโกมุนยอง โดยใช้ไข่นกกระทา 30 ใบ ต้มกับซีอิ๊วญี่ปุ่น น้ำ และน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ไข่นกกระทาเริ่มเปลี่ยนสีประมาณ 20 นาที จากนั้นก็ใส่กระเทียม ขิง และก็พริกชีฟ้าสีแดงกับเขียวลงไปต้มด้วย (พริกจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้มันเป็นแค่ตัวเพิ่มรสชาติเฉย) จากนั้นก็เคี่ยวต่ออีกสักประมาณ 10 นาที จนส่วนผสมทุกอย่างงวดลง เท่านี้ก็ตักใส่จาน กินกันข้าวร้อนๆ สามารถโรยงากับต้นหอมซอยเพื่อเพิ่มสีสันให้กับจานอาหารได้
ซุนแด หรือไส้กรอกเลือดเกาหลี เคยได้ยินไหมละ หลายๆคนอาจไม่คุ้น แต่ถ้าบอกว่าเป็นไส้กรอกที่ทำจากเลือดเเล้วละก็บางคนลองชิม บางคนไม่กล้าลอง ด้วยหน้าตามันไม่ค่อยจะสวยงามเท่าไหร่ "ซุนแดง" เป็นไส้กรอกสีแดงเข้มจึงได้ชื่อว่าไส้กรอกเลือด ไส้ทำด้วยหมูผสมกับข้าวและมันหวาน ซึ่งเป็นของกินดั้งเดิมของเกาหลีที่มีมายาวนาน ปัจจุบันนิยมทานเป็นของกินเล่นหรือเครื่องเคียง ซึ่งตอนแรกจะมาเป็นเส้นยาวๆและตอนขายเขาจะหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จิ้มกินได้พอดีคำ คนเกาหลีส่วนใหญ่จะชอบทานกับกิมจิหรือหัวไช้เท้าดอง บางคนก็กินกับซุปต่างๆ
ลูกรอก’ หรือไส้กรอกไข่ อาหารไทยชาววังที่ได้รับความนิยมในสมัยก่อน ด้วยความวิจิตรบรรจง ประดิดประดอย ที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยชาววัง ทำให้ไส้กรอกไข่ ที่มีส่วนผสมเพียงไข่เป็ดดีกับไส้ไก่หรือไส้หมู ผ่านกระบวนการคิดและปรุงอย่างชาววังออกมามีหน้าตาเหมือนลูกรอก (ลูกเหล็กกลมแบนคล้ายล้อ ที่มัดไว้กับเชือกหรือสายไฟเพื่อชักรอกเคลื่อนย้าย) นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด
ต้มจิ๋ว เป็นทั้งสำรับชาววังและชาวบ้านที่แต่เดิมนิยมทำกินกันในช่วงเข้าฤดูหนาว ลักษณะคล้ายต้มโคล้ง ต้มส้ม คือมีรสชาติเปรี้ยวเค็ม หวาน เผ็ดร้อนอ่อนๆ ด้วยพริกขี้หนูและกะเพรา หวานธรรมชาติด้วยหอมแดงกับมันเทศ และเนื้อวัวตุ๋นหั่นเต๋าจนเปื่อย สันนิษฐานว่าต้มจิ๋วตำรับในวังนั้นคิดค้นปรุงขึ้นมาโดยพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท เพื่อถวายพระบิดาล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 และทรงเสวยบ่อยครั้งยามที่ทรงพระประชวร จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ทรงโปรดปราน โดยสูตรของพระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ระบุวิธีปรุงไว้ว่า
“…ล้างเนื้อให้สะอาด เลาะพังผืดออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นพอควร ใส่หม้อเคี่ยวไฟอ่อนๆ พอจวนเปื่อย ปอกมันเทศล้างน้ำแงะๆ ใส่ในหม้อเนื้อ ต้มไปจนเปื่อย ใส่มะขามเปียกนิดหน่อย ซอยหอมใส่ลง พอหอมสุก เด็ดใบโหระพาใบกะเพราล้างน้ำใส่ลงในหม้อ ยกลง ใส่พริกมูลหนูบุบพอแตกๆ บีบมะนาว ใส่น้ำเคยดี ชิมรสดูตามชอบ…”
“หอยนางรมทอดกับซอสญี่ปุ่นสไปซี่” โดยเลือกใช้หอยนางรมจากสุราษฎร์ตัวใหญ่ นำเนื้อหอยมาหมักกับน้ำมันพริกเผา มิริน สาเก ซีอิ๊วญี่ปุ่น และพริกไทยเล็กน้อย หมักทิ้งไว้สักประมาณ 10 นาที เผื่อให้เนื้อหอยมีรสชาติมากขึ้น จึงค่อยนำมาคลุกแป้ง ชุบไข่ และเกล็ดขนมปังป่นแบบละเอียด จากนั้นก็ตั้งน้ำมันให้ร้อน โดยน้ำมันต้องร้อนให้ดีจึงค่อยเอาหอยลงทอดให้เหลืองกรอบ เสิร์ฟกับซอสที่เป็นการผสมกันระหว่างความเป็นญี่ปุ่นและไทย โดยผสมพริกเผา มายองเนส ซอสพริก และมิริน รสชาติที่ได้ก็จะหวานๆเผ็ดๆ และมันๆ และที่พิเศษกว่านั้นคือไม่ลืมที่จะเสิร์ฟพร้อมกับยอดกระถินและหอมเจียวอีกด้วย
พระรามลงสรง จัดเป็นอาหารโบราณอย่างหนึ่งที่หากินยาก ปกติจะขายเป็นข้าวพระรามลงสรง คือน้ำแกงสีเหลืองคล้ายกับน้ำราดสะเต๊ะราดไปบนข้าวที่มีหมูและผักบุ้งลวกวางอยู่ คำว่าพระรามหมายถึงผักบุ้งจีนสีเขียว ส่วนลงสรงเปรียบถึงการเอาผักบุ้งลงลวกในน้ำ คาดเดากันว่าพระรามลงสรงน่าจะมาจากกับข้าวจานหนึ่งของชาวจีนแต๋จิ๋วชื่อว่า 'ซาแต๊ปิ้ง' ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือมีผักบุ้งลวก หมู ตับ ราดบนข้าวหรือหมี่ขาว กินราดน้ำแกงคล้ายสะเต๊ะ มีน้ำพริกเผาและน้ำส้มพริกดองเสิร์ฟเคียงเพื่อตัดเลี่ยน
ย้อนวันวานให้ชวนคิดถึงสมัยเด็กกับ สตูไก่ สไตล์กุ๊กช็อป เมนูฝรั่งที่มีกลิ่นอายความเป็นจีนผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัว ทำง่าย กระทะเดียวจบกินได้ทั้งครอบครัวกันเลยทีเดียว
หมูสามชั้นทอดน้ำปลา หนังกรอบ หอมน้ำปลา รสเค็มของน้ำปลาและเนื้อหมูส่วนสามชั้น มันช่างเข้ากัน แถมยังช่วยรีดไขมันหรือน้ำมันในเนื้อหมูออกมาได้อย่างเป็นจำนวนมาก อบร้อนๆ กรอบๆ นำมากินกับน้ำจิ้วแจ่ว ผักสดและข้าวเหนียวแค่นี้ก็อร่อยมากๆเเล้วนะ
หม้อทอดไร้น้ำมันทำอะไรก็อร่อย แน่นอนยิ่งเป็นเมนูทอดๆเเล้วละก็ ยังไงก็อร่อย กรอบ ฟิน ต้องนี่เองเมนูหมูทอดทงคัตซึ สไตล์ญี่ปุ่น ทำงานมากๆ แค่นำหมูสันนอกไปปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย นำไปชุบแป้งสาลี ไข่ไก่ เกล็ดขนมปังให้ทั่ว นำใส่ลงในหม้อทอดไร้น้ำมัน ตั้งเวลาไว้ซัก 30 นาที (แล้วแต่ขนาดเนื้อหมู) พอสุกก็นำออกมาหั่นเป็นชิ้นพอคำ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมซอสและผักต่างๆ
เมนูสูตรบ้านเชฟน่าน ทำง่าย อร่อย หม้อเดียวจบกินได้ทั้งครอบครัว กับ "หมูหวานต้มเค็ม" รสเค็มนำหวานตามเข้มข้นเข้าเนื้อ สูตรนี้มีความพิเศษตรงที่การใส่หมูยอลงไปเคี่ยวด้วย ทำให้ได้รสสัมผัสที่เเตกต่างไม่เหมือนใคร เป็นสูตรลับเฉพาะคุณยายที่รับรองว่ากินไม่มีเบื่อ ยิ่งกินกับข้าวสวยร้อนๆยิ่งฟิน ต้องลอง!
มีนา-เมษาแบบนี้ถือเป็นหน้าของไข่มดแดง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอัญมณีแห่งฤดูกาลสำหรับคนเหนือและคนอีสานเลยทีเดียว ไข่มดแดงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่น้ำพริก แกงจืด ต้มยำ ไข่เจียว แม้กระทั่งทอดกินเป็นของกินเล่น ที่เรารู้จักกันดีคือแกงผัดหวานไข่มดแดงแบบคนอีสานกิน คราวนี้เราเอาไข่มดแดงมาทำต้มจืดไข่น้ำแบบง่ายๆ ย้อนนึกถึงวัยเด็กของคนเหนือกันเสียหน่อย
นำเอาสะเดามายำในแบบโบราณที่ใส่น้ำพริกเผาและหัวกะทิลงในน้ำยำ แถมด้วยเครื่องเคล้าอย่างหอมเจียว ถั่วลิสง และมะพร้าวขูด เพิ่มความหอมมันเข้าไปอีก และเปลี่ยนตัวเนื้อสัตว์ให้เป็นไก่ย่างโดยเลือกใช้ส่วนน่องติดสะโพกเพราะมีความมันและนุ่มให้คล้ายกับเนื้อสัมผัสของปลาดุก นำไปเคล้ากับเครื่องเทศอย่าง สามเกลอ และหมักด้วยเครื่องปรุงรสต่างๆให้ออกเค็มเล็กน้อย เมื่อกินคู่กันกับตัวน้ำยำและสะเดานั้น บอกได้เลยว่าจะลืมความขมของสะเดาในพลิบตา
แซลมอนชุบเกลล็ดขนมปังทอดแบบหมูทงคัตสึ ทอดให้ผิวด้านนอกกรอบด้านในยังฉ่ำอยู่ สายของทอด สายแซลมอนต้องเลิฟกับเมนูนี้ ทอดให้สุกกำลังพอดี เนื้อปลาที่ใช้ก็ใช้เกรดซาซิมิ กินคู่กับซอสทงคัตสึ
ไก่แดงหรือไก่ย่างสีแดงวัยเยาว์ที่เราคุ้นเคย เป็นเมนูที่คุ้นตามากในต่างจังหวัดหรือแม้แต่ในกรุงเทพฯเองก็มีให้เห็นอยู่บ้าง ด้วยรสชาติที่หวานนิดๆ เนื้อนุ่ม หอมกรุ่นด้วยกลิ่นเครื่องเทศ กินคู่กับข้าวเหนียวร้อน อู้หูยยยยฟินสุดๆ ขอบอกว่าสูตรนี้ทำง่ายมาก อร่อยแทะเพลินจนเหลือแต่กระดูก ถูกใจหลายคนแน่นอน หรือจะทำขายเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมก็รุ่ง เพราะต้นทุนไม่แพงแถมกำไรงาม ลองทำดูนะคะแล้วคุณจะเลิ้บ
หมูชะมวง เป็นอาหารพื้นบ้านในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด เป็นอาหารประเภทแกงที่ไม่ใส่กะทิ โดยจะผัดหมูสามชั้นกับเครื่องแกงที่ประกอบด้วยพริกแห้ง ข่า กระเทียม หัวหอม และกะปิ[1] เติมน้ำแล้วต้มให้เปื่อยนุ่ม ปรุงรสเปรี้ยวด้วยใบชะมวง โดยใช้ใบชะมวงที่เป็นใบเพสลาด (คำที่เรียกใบไม้ที่ไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป) มาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปต้มพร้อมกับหมู
เมนูที่ขึ้นชื่อว่าหมูกรอบแล้วนั้น ย่อมเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆคน เนื้อหมูสามชั้น เลือกที่มีทั้งเนื้อและหนังที่ขนาดพอเหมาะ นำไปต้มจนสุก ปรุงรสและจิ้มหนัง นำไปอบในหม้อทอดไร้น้ำมัน (หรือหม้อทอดลมร้อน) จนกรอบ เหลืองสวย จะกินคู่กับน้ำจิ้มแจ่วแบบไทยๆก็อร่อย ยิ่งถ้ามีข้าวเหนียวกับผักสดเเล้วล่ะก็ ยังไงก็ไม่พลาดเมนูนี้แน่นอน
เมนูไข่ที่เหมาะสำหรับคนไม่อยากเลือกโดยจับเอาไข่ดาวเเละไข่เจียวมาไว้ด้วยกัน เมนูเก๋ๆ ทำง่าย อร่อยที่สาวกชอบกินไข่ไม่ควรพลาด
เมนูไข่ทำง่ายรสชาติจัดจ้านถึงใจ หอมพริกกระเทียม กินเป็นกับข้าวก็อร่อยหรือจะเอามาเป็นกับแกล้มก็เด็ด เคล็ดลับอยู่ที่การคั่วไข่ให้แห้งก่อนเเล้วนำมาผัดกับพริกกระเทียม หอม อร่อย ประหยัด
ถ้าใครไม่มีเนื้อสัตว์ก็ลองหยิบไข่ในตู้เย็นมาผัดเป็นกระเพราไข่คั่วดูสิ เมนูทำง่าย มือใหม่เข้าครัวก็ทำได้ เเค่ผัดพริกกระเทียมจนหอม จากนั้นตอกไข่ไก่ลงไปยีเป็นชิ้นๆผัดให้เข้ากัน กินกับข้าวสวยร้อนๆ
เมนูไข่กินเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อกับเมนูง่ายๆอย่าง ไข่ดองน้ำปลา นำไข่ไก่สดดองในน้ำดองรสเค็มหวานนัว ทิ้งไว้ข้ามคืนจนเข้าเนื้อ ก่อนเสิร์ฟโรยเครื่องเคียงซักหน่อยกินกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยมาก!
เมนูไข่ง่ายๆที่เปลี่ยนไข่ดาวธรรมดาให้อร่อยกว่าเดิม โดยเเยกไข่แดงไข่ขาวออกจากกัน ใส่หมูสับรวนลงในไข่ขาว นำไปทอดจนฟูกรอบปิดท้ายด้วยการหย่อนไข่แดงลงไปด้านบน กินกับข้าวสวยร้อนๆราดด้วยน้ำปลาพริกซักหน่อยยิ่งดีงาม
เมนูเเสนธรรมดาเเต่ยั่วน้ำลายสุดๆ โดยเป็นการนำไข่มาเป็นวัตถุดิบหลัก ตอกไข่ลงกระทะคล้ายจะทำไข่ดาว แต่ไม่ใช่ ให้คนไปมาจนไข่เเตกตัวเข้ากัน เสิร์ฟพร้อมน้ำปลาพริกเเละข้าวสวยร้อนๆ รับรองฟินมาก