ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
น้ำเหมี้ยง เป็นอาหารตำรับล้านนาใช้หัวน้ำเหมี้ยง ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากตอนนึ่งเหมี้ยง (ใบชา) แล้วนำไปเคี่ยวจนข้นงวด คนเหนือใช้หัวน้ำเหมี้ยงในการปรุงอาหาร มีรสอูมามิและความฝาดนิดๆ จึงใช้ปรุงแต่น้อย เมนูน้ำเหมี้ยงนี้เป็นเครื่องจิ้มของคนเหนือ ใส่เนื้อหมูผัดกับเครื่องโขลก ได้แก่กระเทียม หอมแดง และกะปิ ผัดให้หอมแล้วจึงเติมน้ำต้มสุก ใส่หัวน้ำเหมี้ยง และใส่ข้าวคั่วเพื่อให้ความหอมและทำให้เครื่องจิ้มข้น หอมอร่อย กินจิ้มกับข้าวเหนียวนึ่ง แคบหมูและพริกแห้งทอด ลำแต้ๆเจ้า
น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกแบบโบราณใช้เครื่องพริก หอม กระเทียมคั่วจนหอม นำไปโขลกกับเนื้อปลาแห้งย่างโขลกละเอียด รสเปรี้ยว หวาน เค็มกลมกล่อม เผ็ดอ่อนๆเพราะเอาใช้พริกแห้งเม็ดใหญ่และเอาเม็ดพริกออกก่อนใช้ ใครชอบเผ็ดขึ้นให้ใช้พริกขี้หนูแห้งแทนทั้งหมดหรือบางส่วนของพริกเเห้งเม็ดใหญ่
"น้ำพริกกะปิ" เป็นเครื่องจิ้มที่เป็นของโปรดของใครหลายคน เพราะเป็นน้ำพริกที่นิยมมาก ดังนั้นเลยมี 'กะปิเจ' ออกมาเพื่อคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์แต่ยังอยากกินน้ำพริกกะปิอยู่ ได้เอามาทำเมนูอาหารต่างๆ
‘น้ำชุบหยำ’ ที่ฟังแค่ชื่อก็รู้แล้ว ว่ามาจากใต้แท้ๆ วิธีทำก็แสนง่าย ไม่ต้องใช้ครก เพราะเป็นน้ำพริกที่ใช้วิธีการขยำให้ส่วนผสมเข้ากัน รสชาติคล้ายน้ำพริกกะปิของทางภาคกลาง แตกต่างกันที่ใช้เนื้อกุ้งมาเป็นส่วนผสมของน้ำพริก
หลนปลาร้าบองรสชาติจัดจ้านนัวด้วยเครื่องปลาร้าบองที่นำไปผัดกับเครื่องสมุนไพรอย่างตะไคร้ กระชายเเละหอมแดง ใส่หมูสับเเละกะทิเคี่ยวให้หอมกินคู่กับผักสดและข้าวเหนียว
น้ำพริกระกำทรงเครื่อง อาจจะฟังเป็นเมนูง่ายๆ แต่บอกเลยว่าอร่อยถึงทรวงแน่นอนกับสูตรนี้ โดยคำว่าทรงเครื่องเกิดจากการที่เราใส่เครื่องอย่างกุ้งแห้งที่นำไปโขลกหยาบๆ ผสมลงไปในเนื้อน้ำพริกที่โขลกผสมกันระหว่างหอมแดง กระเทียม พริก และกะปิให้เข้ากัน เติมความเปรี้ยวด้วยเนื้อระกำ เพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ปิดท้ายด้วยการใส่เนื้อกุ้งแห้งที่โขลกลงไปผสม ก็จะได้น้ำพริกระกำรสชาติเปรี้ยวอมหวานถึงใจ และความทรงเครื่องอีกอย่างคือเสิร์ฟน้ำพริกระกำมาพร้อมกับผักเครื่องเคียงทั้งผักสด ผักทอด และปลาสลิดทะเลทอดกรุบกรอบ รับประกันได้เลยว่าเมื่อกินด้วยกันในคำเดียวแล้วนั้น อร่อยจี๊ดติดใจแน่นอน
แจ่วบองหรือปลาร้าบอง เมนูปลาร้าในดวงใจใครหลายคน ความอร่อยอยู่ที่ปลาร้าปลากระดี่อย่างดีที่นำมาสับละเอียดจนกินได้ทั้งก้าง นำไปโขลกกับข่า ตะไคร้ หอม กระเทียมเผา รสเผ็ดโดยมาจากพริกขี้หนูแห้งเสียมากกว่าพริกสด ตัดรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำตาลทรายเล็กน้อย ใครชอบความนัวอย่างลืมดีดผงชูสลงไปได้ตามถนัด ทำทีเก็บไว้จิ้มกินกับข้าวเหนียวได้นาน
แจ่วพริกสด เครื่องจิ้มคู่ครัวอีสาน รสเผ็ดจากพริกกระเทียมย่าง เค็มนัวจากน้ำปลาร้า เปรี้ยวน้ำมะนาว คนอีสานโดยมากจะใส่มะกอกลงไปด้วย เรียกอีกอย่างว่าแจ่วมะกอก แจ่วพริกสดกินกับผัก หรือเนื้อสัตว์เช่น ไก่ต้ม ไก่ย่าง หรือจิ้มกับข้าวเหนียวเปล่าๆก็อร่อยแบบเรียบง่าย
น้ำจิ้มแจ่ว หนึ่งในน้ำจิ้มที่ขาดไม่ได้ในอาหารอีสาน แจ่วมะขามสูตรนี้รสชาติเข้มข้นแต่กลมกลม ไม่เปรี้ยวหรือเผ็ดโดด เพราะได้ความหวานและกลิ่นหอมจากหอมกระเทียมที่นำมาเผาและโขลกจนละเอียด ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเป็นหลัก ชิมรสให้ออกเปรี้ยวนำหวานกับเค็ม ความเปรี้ยวขึ้นอยู่กับน้ำมะขามเปียก ใครอยากให้เปรี้ยวแหลมสามารถบีบน้ำมะนาวเสริมลงไปได้ ก่อนเสิร์ฟใส่ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชีเพื่อเพิ่มความหอม
แจ่วมะเขือส้ม เปรี้ยวนัวกลมกล่อมจากมะเขือส้มและน้ำปลาร้า กินกับปลานึ่ง ปลาเผาเข้ากันดีนัก รสชาติไม่หนักจนเกินไป เคล็ดลับให้ใช้มะเขือส้มรสแจ่วจะจัดจ้านกว่ามะเขือสีดาหรือมะเขือเทศ การคั่วหรือเอามะเขือเทศไปย่างก่อน นอกจากจะทำให้เปลือกปริและลอกง่าย ยังช่วยทำให้มะเขือรสจัดขึ้นอีกด้วย
แจ่วมะกอกเปรี้ยว เค็มแซ่บซี้ด ใครชอบกินเผ็ดจัด ใส่พริกเข้าไปได้ตามชอบ กินกับไก่ย่างข้าวเหนียวร้อนๆรับรองลืมแจ่วมะขามกันเลยทีเดียว
เราอาจะเคยได้ยินหลนเต้าเจี้ยว หลนปู หลนปล้าร้า คนใต้ก็มีหลนไตปลาเช่นกัน ความหอม เค็มกลมกล่อมนั้นได้จากไตปลา ดังนั้นต้องค่อยๆปรุงความเค็มจากน้ำไตปลาต้ม อย่าใส่หมดเพราะขึ้นอยู่กับความเค็มของไตปลาที่ใช้ หลนที่ใส่เนื้อปู ปลาจะหอมกลิ่นกระชายและขมิ้นเป็นพิเศษ
"น้ำพริกน้ำอ้อย" เป็นเครื่องจิ้มสำหรับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะปราง มะขาม หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือน้ำปลาหวานของภาคกลางนั้นเอง โดยจะตำส่วนผสมทุกอย่างให้ละเอียดใส่กะปิย่างหอมๆ นำไปเคี่ยวกับน้ำตาลอ้อยให้ข้นเหนียวแค่นี้ก็มีน้ำจิ้มไว้จิ้มมะม่วงเปรี้ยวแล้ว
"น้ำพริกอ่อง" เป็นน้ำพริกที่ขึ้นชื่อของภาคเหนือ ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องก็คือมีส่วนผสมของมะเขือส้มและหมูสับนำมาเคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว เผ็ดนิดๆ รับประทานคู่กับผักสดหรือผักต้มก็ได้
เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก โดยจะใส่เนื้อปลาช่อนต้ม เป็นน้ำพริกที่ครบเครื่องทั้งพริก กระเทียม หอมแดง และที่ขาดไม่ได้เลยคือปลาร้าและกะปิหมกหอมๆ เพิ่มความนัวให้กับน้ำพริกถ้วยนี้เป็นอย่างดี รับประทานคู่กับผักสดและผัดต้ม
หากใครไม่เคยทานน้ำพริกที่ทำด้วยเห็ด บอกเลยว่าเมนูนี้จะต้องถูกใจทุกคน วัตถุดิบหาได้ไม่ยาก และที่สำคัญ กินง่ายและอร่อยด้วยค่ะ
เป็นน้ำพริกที่ทำมาจากผักกาดเขียวแก่นำมาดองด้วยข้าวเหนียวและเกลือทำให้มีรสเปรี้ยว แล้วจึงนำน้ำดองและผัดกาดดองเรียบร้อยแล้วไปปรุงรส ทำเป็นน้ำพริกที่มีลักษณะขลุกขลิกเลยเป็น "น้ำพริกน้ำผัก" รับประทานคู่กับ ผัดสดและหน่อไม้ต้ม
"น้ำพริกข่า" เมนูน้ำพริกของภาคเหนือ มีข่าและพริกแห้งเป็นส่วนผสมหลักในสูตรนี้ได้ใส่มะแขว่นเพิ่มความเผ็ดชาให้กับน้ำพริก เป็นน้ำพริกที่ต้องนำไปคั่วให้หอมก่อนที่จะจัดเสิร์ฟ ทำให้น้ำพริกมีความหอมเครื่องกว่าน้ำพริกอื่น
‘แสร้งว่า’ จัดเป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มผักดิบ มีเนื้อขลุกขลิก รสจัดจ้าน สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจาก ‘ยำไตปลา’ ของชาวปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยไตปลา (ไตปลาเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนใต้ โดยใช้พุงปลาทะเลหมักกับเกลือ เช่น ไตปลาทู ปลากระบอก ปลากะพง ที่นิยมและจัดว่าเป็นไตปลาดี รสอร่อย คือไตปลาทู เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารใต้และเป็นวัตถุดิบหลักเช่นยำไตปลา) ดับกลิ่นคาวไตปลาด้วยเครื่องสมุนไพรอย่างขิง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูด ปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะกรูด น้ำมะนาว และน้ำตาล แต่ด้วยชาววังที่ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นรสในตำรับท้องถิ่นใต้จานนี้ จึงมีการดัดแปลงวัตถุดิบหลักอย่างไตปลา เปลี่ยนมาใช้ปลาสลาดย่างและเยื่อเคยดี เช่น ตำรับที่บันทึกไว้ในแม่ครัวหัวป่าก์ หรือใช้กุ้งเผากับมันกุ้งเขละๆ ในตำรับสายเยาวภา ทุกตำรับยังคงเครื่องสมุนไพรดับคาวต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับไตปลา แม้กระทั่งการปรุงรสเปรี้ยวจากน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดซึ่งครัวใต้ใช้ดับกลิ่นคาวไตปลา หากในตำรับแสร้งว่าใส่เพื่อดับกลิ่นคาวกุ้งย่างและมันกุ้ง ผิดกันเพียงน้ำมะขามเปียกที่ใส่ในทุกตำรับแสร้งว่า ทว่ายำไตปลาจะไม่ใส่
น้ำพริกตำรับชาววังที่กลมกล่อมครบ 3 รสคือเปรี้ยว เค็ม หวาน ส่วนประกอบสำคัญของน้ำพริกลงเรือที่ขาดไม่ได้คือ น้ำพริกกะปิ หมูหวาน ปลาดุกฟูและกระเทียมดอง โดยจะผัดน้ำพริกกะปิกับหมูหวานให้เข้ากัน แล้วจึงใส่กระเทียมดองซอยลงไปให้รสหวานปะเเล่มเเละมีเนื้อกระเทียมกรอบๆเวลารับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยปลาดุกฟู ไข่แดงเค็มปั้น และกระเทียมดองที่เหลือ
น้ำพริกเผาโฮมเมด ทำง่าย รสเปรี้ยว เค็ม หวาน นำไปทำอาหารคาวอย่าง ต้มยำ ผัดพริกเผา หรือนำไปทาขนมปัง ใส่ใส้ต่างๆก็ได้ ทำครั้งหนึ่งเก็บไว้ใช้ได้นาน
กะปิพล่าเครื่องปรุงคล้ายน้ำพริกกะปิ ได้แก่ กะปิ กระเทียม หอมแดง พริกขี้หนู กุ้งแห้ง น้ำตาล มะนาว ต่างกันตรงที่มีน้ำ เนื้อและผิวส้มซ่าเข้ามาเสริมรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมของส้มซ่า ข้อแตกต่างสำคัญคือกะปิพล่าไม่ต้องโขลกในครก ใช้วิธีผสมให้เครื่องต่างๆเข้ากันในถ้วยหรือชาม ดังนั้นส่วนผสมต่างๆเช่น กระเทียม หอม กุ้งแห้งจึงต้องหั่นซอยให้บางให้เป็นเนื้อสัมผัสเวลากิน กะปิพล่ารับประทานกับผักสด ผักต้ม มีเครื่องเคียงเพิ่มความอร่อยเช่น ปลาช่อนแดดเดียวและหมูหวาน ใครจะกินกับไข่ต้มก็ได้ อร่อยเหมือนกัน